“เมืองยวีหลิน” เป็นเขตปกครองระดับจังหวัดของมณฑลส่านซี ซึ่งได้รับการขนานนามให้เป็น “คูเวตเมืองจีน” เนื่องจากเป็นแหล่งทรัพยากรและแร่ธาตุที่สำคัญของจีน เมืองยวีหลินมี 4 กลุ่มอุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ ทรัพยากรพลังงาน แร่ธาตุ การเกษตร อุตสาหกรรมการผลิตสิ่งทอ โดยเฉพาะทรัพยากรพลังงานนั้น มีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจและสังคมของมณฑลส่านซี[su_spacer size=”20″]
เมืองยวีหลินมีขนาดเศรษฐกิจใหญ่เป็นลำดับ 2 ของมณฑลส่านซี (เป็นรองเพียงนครซีอานเมืองเอกของมณฑล) ในปี 2560 GDP เมืองยวีหลินมีมูลค่า 331,839 ล้านหยวน (ร้อยละ 15.16 ของGDP มณฑลส่านซี) อีกทั้งยังเป็นแหล่งทรัพยากรและแร่ธาตุถึง 1 ใน 3 ของประเทศจีนหรือร้อยละ 95 ของมณฑลส่านซี อาทิ ถ่านหิน (ร้อยละ 54 ของพื้นที่เมืองยวีหลินมีถ่านหินสะสมอยู่) น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ เกลือหิน และอื่นๆ[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ รัฐบาลเมืองยวีหลินได้ออกมาตรการปฏิรูปโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กที่ไม่มีระบบการจัดการที่ดีและก่อให้เกิดมลภาวะ โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมารัฐบาลท้องถิ่นต่างหันมาให้ความสำคัญกับกฎระเบียบ โดยเฉพาะในด้านการผลิตและขายปลีกพลังงานไฟฟ้า และการพัฒนากิจการสายส่งให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ รัฐบาลมณฑลส่านซีและรัฐบาลเมืองยวีหลินมีแผนผลักดันอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ ได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม[su_spacer size=”20″]
เมืองยวีหลินเป็นเมืองเดียวของมณฑลส่านซีที่สามารถผลิตเกลือได้ โดยเป็น “เกลือหิน (Rock Salt)” ซึ่งเกิดจากการตกตะกอนของน้ำทะเลในสมัยดึกดำบรรพ์ มีปริมาณราว 6 ล้านล้านตัน หรือร้อยละ 26 ของปริมาณเกลือหินทั้งประเทศ ปัจจุบัน สำรวจพบแล้วราว 885,455 ล้านตัน โดยมากอยู่ทางตอนบนของเมืองยวีหลิน ด้วยศักยภาพและความสมบูรณ์ของแหล่งทรัพยากรเกลือ จึงทำให้อุตสาหกรรมการผลิตเกลือของเมืองยวีหลินได้รับการสนับสนุนและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง[su_spacer size=”20″]
เมืองยวีหลินมีศักยภาพในการเพาะปลูกและแปรรูปพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันละหุ่ง (Castor Oil) พุทรา ข้าวฟ่าง และพืชสมุนไพรจำพวก Astragalus รวมถึงมันฝรั่งและพุทรา ที่มีสัดส่วนผลผลิตมากถึง 1 ใน 4 ของปริมาณที่ผลิตได้ทั้งมณฑล ทั้งนี้ สำนักงานเกษตรเมืองยวีหลินได้เพิ่มรายชื่อกลุ่มสารเคมีอันตรายที่ห้ามใช้ในกลุ่มพืชประเภทถั่วดำและข้าวฟ่างเพิ่มเติมด้วย ส่งผลให้ในปี 2560ผลผลิตทางการเกษตรแปรรูปหลายชนิดของเมืองยวีหลิน อาทิ ผักดองเหล่าเสียนไช่ เมล็ดแอปริคอทอบแห้ง ได้รับการบรรจุให้เป็นของดี “หนึ่งหมู่บ้าน หนึ่งผลิตภัณฑ์” ของมณฑลส่านซี เพิ่มโอกาสในการกระจายสินค้าทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ เมืองยวีหลินยังได้รับการสนับสนุนด้านอุตสาหกรรมสิ่งทอจากรัฐบาลมณฑลส่านซี ในปี 2553 รัฐบาลเมืองยวีหลินวางเป้าหมายให้เขตไฮเทคโซนเมืองยวีหลินเป็นศูนย์กลางเมือง “อุตสาหกรรมทันสมัย” โดยกำหนดให้เป็นฐานการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มจากขนสัตว์เป็นหลัก[su_spacer size=”20″]
เป้าหมายการพัฒนาอุตสาหกรรมที่สำคัญของเมืองยวีหลินในอนาคต ได้แก่ 1) การส่งเสริมให้ภาคอุตสาหกรรมเมืองยวีหลินเข้าสู่ยุค “High-end low-carbon modern industry” ผ่านโครงการการลงทุนขนาดใหญ่ อาทิ โครงการก่อสร้างโรงผลิตถ่านหินสะอาด โครงการก่อสร้างนิคมอุตสาหกรรมสิ่งทอ และโครงการก่อสร้างฐานการแปรรูปผลิตภัณฑ์เกษตร 2) ส่งเสริมการต่อยอดผลิตภัณฑ์ผ่านนโยบายสนับสนุนวิสาหกิจท้องถิ่น 3) พัฒนาระบบจัดการสินค้าและช่องทางการจัดจำหน่าย โดยมีแผนจะก่อตั้ง “ศูนย์บูรณาการข้อมูลและโลจิสติกส์เมืองยวีหลิน” กระจายตามพื้นที่ต่างๆและตั้ง“ศูนย์คลังสินค้าทัณฑ์บน” เพื่ออำนวยความสะดวกในศูนย์โลจิสติกส์[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซีอาน