กัมพูชาได้ส่งข้าวหอมมะลิจำนวน 12 ตู้คอนเทนเนอร์ น้ำหนักกว่า 300 ตัน มูลค่ากว่า 3 แสนดอลลาร์สหรัฐ ผ่านเส้นทางโลจิสติกส์ “อวี๋กุ้ยซิน” และได้ผ่านพิธีศุลกากรและพิธีการตรวจสอบและกักกันสินค้านำเข้า-ส่งออกที่ด่านมหานครฉงชิ่งแล้ว เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2561 พร้อมกระจายออกสู่ตลาดผู้บริโภคในมหานครฉงชิ่งและมณฑลใกล้เคียง ซึ่งการตรวจสอบข้าวจากกัมพูชาลอตนี้ ใช้มาตราการแบบ one stop service ไม่มีการยื่นเอกสารใด ๆ ในระหว่างการดำเนินขั้นตอนศุลกากร เพื่อความสะดวกและรวดเร็ว ซึ่งเป็นการสะท้อนถึงการให้บริการที่ได้มาตรฐานระดับสากล[su_spacer size=”20″]
“อวี๋กุ้ยซิน” คือเส้นทางโลจิสติกส์ที่เกิดจากการบูรณาการระบบขนส่งทางรางและทางน้ำ เริ่มต้นจากการขนส่งทางรถไฟจากมหานครฉงชิ่ง ผ่านนครกุ้ยหยาง (มณฑลกุ้ยโจว) มายังท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้ (ท่าเรือชินโจวที่นครหนานหนิง เขตปกตรองตนเองกว่างซี) และเชื่อมต่อด้วยการขนส่งทางทะเล โดยเปลี่ยนถ่ายสินค้าขึ้นเรือบรรทุกสินค้าที่ท่าเรือรอบอ่าวเป่ยปู้ (ท่าเรือชินโจว) ขนส่งไปยังท่าเรือสิงคโปร์ โดยอาศัย “สิงคโปร์”เป็นจุดเปลี่ยนถ่ายตู้สินค้าระหว่างประเทศ กระจายสินค้าไปทั่วอาเซียน โดยเส้นทางโลจิสติกส์ระหว่างประเทศสายนี้เริ่มต้นอย่างเป็นทางการเมื่อปลายเดือนกันยายน 2560 ที่ผ่านมา[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน เส้นโลจิสติกส์ “อวี๋กุ้ยซิน” กำลังได้รับความนิยมเพื่มขึ้นอย่างต่อเนื่องจากผู้ส่งออกในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยจะส่งออกสินค้าจำพวกข้าว อาหารสำเร็จรูป ผลไม้แปรรูปมายังมหานครฉงชิ่ง ขณะเดียวกัน มหานครฉงชิ่ง จะส่งออกสินค้าไอที ชิ้นส่วนยานยนต์ และเครื่องใช้ไฟฟ้ามายังตลาดอาเซียน[su_spacer size=”20″]
นอกเหนือจากเส้นโลจิสติกส์ “อวี๋กุ้ยซิน” แล้ว มหานครฉงชิ่งยังมีเส้นโลจิสติกส์ที่เชื่อมต่อระหว่างฉงชิ่ง-อาเซียน ที่เกิดขึ้นจากการผลักดันภายใต้ยุทธศาสตร์ข้อริเริ่ม OBOR ของจีน ได้แก่ เส้นขนส่งทางบกฉงชิ่ง-อาเซียน (มีข้อตกลงที่จะส่งออกสินค้าเกษตรแปรรูปจากไทยผ่านเส้นทางสายนี้แล้ว) และเส้นทางการขนส่งทางอากาศถึงสนามบินนานาชาติเจียงเป่ย (มีข้อตกลงที่จะส่งออกที่จะส่งออกผลไม้จากไทยแล้วเช่นกัน)[su_spacer size=”20″]
การนำเข้าข้าวจากกัมพูชาครั้งนี้ เป็นความสำเร็จทางการค้าระหว่างประเทศที่อาศัยความพร้อม ด้านบริการบนเส้นขนส่งจากเส้นทาง “อวี๋กุ้ยซิน” และที่สำค ยังสะท้อนให้เห็นว่า ตลาดฉงชิ่งรวมถึงตลาดจีนตะวันตกมีความต้องการนำเข้าสินค้าเกษตรสูง เนื่องจากผลผลิตไม่เพียงพอ และผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมบริโภค นิยมเลือกซื้อสินค้าจากต่างชาติมากขึ้น ดังนั้น ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรของไทยที่มีตลาดในจีนแล้วหรือผู้ที่กำลังจะบุกเบิกตลาดจีน อาจจะต้องตื่นตัวและหันมาให้ความสำคัญกับตลาดผู้บริโภค ในฉงชิ่งให้มากขึ้น รวมถึงตลาดภูมิภาคจีนตะวันตก เพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดให้มั่นคง[su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู