ภายหลังเขตโลจิสติกส์นานาชาตินครซีอาน (Xi’an International Trade and Logistics Park : ITL) ได้รับการอนุมัติให้เป็นหนึ่งในฐานสาธิตอุตสาหกรรม Cross Border E-Commerce แห่งชาติเมื่อปี 2558 ทำให้ได้รับความสนใจจากผู้ให้บริการแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ และผู้ประกอบการรายย่อยจำนวนมากเข้าไปลงทุนในธุรกิจโลจิสติกส์ (คลังจัดเก็บและกระจายสินค้า) และต่อมา ITL ยังได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ ทำให้ในปี 2559 ITL ประสบความสำเร็จในการดึงดูดวิสาหกิจให้เข้าลงทุนมากกว่า 400 บริษัท สร้างรายได้มากถึง 30,000 ล้านหยวน นอกจากนี้ ITL ยังได้ประกาศ “มาตรการสนับสนุนวิสาหกิจ E-Commerce ก้าวสู่ระดับ 100,000 ล้านหยวน” มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจที่ต้องการจะขยายสัดส่วนธุรกิจ ซึ่งถือเป็นมาตรการเชิงนโยบายที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพอุตสาหกรรม E-Commerce อันดับแรกของนครซีอานอีกด้วย[su_spacer size=”20″]
ITL หนุนวิสาหกิจท้องถิ่นบุก E-Commerce
ปัจจุบัน ITL ใช้ประโยชน์จากการเป็นคลังสินค้าของเว็บไซต์ซื้อขายสินค้าออนไลน์ประจำภูมิภาคตะวันตกเฉียงเหนือ ไม่ว่าจะเป็น JD.com, VIP, GOME, Suning, Alibaba Onetouch และ Lijun ทำให้ ITL มีความเชี่ยวชาญในด้านการจัดการคลังสินค้ารวมถึงบริการที่เกี่ยวข้อง โดยตลอดปี 2560 ที่ผ่านมา ITL ได้นำศักยภาพดังกล่าวมาประยุกต์ใช้กับการเชื่อมโยงข้อมูลเข้ากับวิสาหกิจเฉพาะกลุ่มเพิ่มเติม ได้แก่ (1) www.ccement.com (เว็บไซต์ฐานข้อมูลการซื้อขายปูนซีเมนต์) (2) www.steelcn.cn (เว็บไซต์ฐานข้อมูลการซื้อขายเหล็ก) (3)www.zgw.com (เว็บไซต์จำหน่ายวัสดุและผลิตภัณฑ์เหล็กแปรรูป) และ (4) การบริหารจัดการคลังสินค้าในกลุ่มรถยนต์ให้กับแพลตฟอร์มซื้อขายรถยนต์ www.renrenche.com รวมถึงการเข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบการจัดจำหน่ายสินค้าให้กับกลุ่มวิสาหกิจท้องถิ่น อาทิ ChinaDLJT เป็นต้น ซึ่งทำให้ผลประกอบการในปี 2560 ของ ITL มีมูลค่ามากถึง 100,000 ล้านหยวน ปรับตัวสูงขึ้นจากปี 2559 มากถึง 2.5 เท่า[su_spacer size=”20″]
ปี 2561 ตั้งเป้าส่งเสริมธุรกิจภาคบริการ
ในปี 2561 ITL วางเป้าหมายจะส่งเสริมธุรกิจภาคบริการมากขึ้น ผ่านแนวคิด “E-Commerce + Culture” เพื่อเพิ่มช่องทางการจำหน่ายผลิตภัณฑ์การท่องเที่ยวออนไลน์และการแลกเปลี่ยนข้อมูลซื้อขายสินค้าต่างๆ อาทิ (1) แผนความร่วมมือกับแพลตฟอร์มการค้าส่งสินค้าออนไลน์ DHgate.com (2) แผนความร่วมมือกับเว็บไซต์ซื้อขายรถยนต์มือสอง (www.xin.com) (3) การก่อตั้งศูนย์แลกเปลี่ยนการซื้อขายสินค้าเกษตรออนไลน์ของ Sunfood Group ผู้ผลิตและแปรรูปสินค้าเกษตรรายใหญ่ของมณฑลส่านซี (4) แผนความร่วมมือกับแพลตฟอร์ม Cross Border E-Commerce ชื่อดัง Beijing XBniao.com ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มจัดจำหน่ายสินค้าต่างประเทศออนไลน์ ที่ปัจจุบันมีการลงทุนก่อตั้งคลังสินค้าในต่างประเทศ (Overseas Warehouse) เช่นสหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และทวีปยุโรป (5) แผนการลงนามความร่วมมือ Tewoo Group ผู้ให้บริการโลจิสติกส์ระหว่างประเทศ และ (6) Yeahmobi ผู้ให้บริการแพลตฟอร์มอัจฉริยะและLifestyle Application อีกด้วย[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ITL ยังคงไม่ละทิ้งอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ การพัฒนาประสิทธิภาพการให้บริการขนส่งสินค้าแบบ Multimodal โดยเมื่อปีที่ผ่านมา ITL ได้ร่วมมือกับสายการบิน China Eastern Airlinesและ Hainan Airlines เปิดให้บริการเส้นทางขนส่งสินค้าทางอากาศ โดยใช้ประโยชน์จากสนามบินซีอานเสียนหยาง และสนามบินชุนเหยา ซึ่งเริ่มเปิดให้บริการแล้วใน 2 เส้นทาง ได้แก่ นครซีอาน-กรุงอัมสเตอร์ดัมส์ เนเธอร์แลนด์ และนครซีอาน-นครชิคาโก สหรัฐอเมริกา เมื่อการขนส่งถึงเมืองเป้าหมายก็จะกระจายสินค้าด้วยรถยนต์ต่อไปยังเมืองต่างๆ โดย ITL ตั้งเป้าว่า ช่องทางการขนส่งดังกล่าวจะช่วยเสริมประสิทธิภาพการส่งออกและกระจายสินค้าท้องถิ่นจากมณฑลส่านซีและมณฑลต่าง ๆ ของจีนไปยังทวีปยุโรปและอเมริกาเหนือ ได้มากยิ่งขึ้น นอกเหนือจากการขนส่งระบบรางผ่านเส้นทางขนส่งสินค้านานาชาติ “ฉางอันห้าว”[su_spacer size=”20″]