ลักษณะภูมิประเทศของมณฑลฝูเจี้ยนมีชายฝั่งทะเลยาวกว่า 3,000 กม. ทําให้มณฑลฝูเจี้ยนเป็นแหล่งประมงที่สําคัญและมีปลาทะเลกว่า 500 สายพันธุ์ ในปี 2564 มณฑลฝูเจี้ยบมีมูลค่าการผลิตทางทะเลกว่า 1.15 ล้านล้านหยวน สูงเป็นอันดับ 3 ของจีน และมีปริมาณการผลิตผลิตภัณฑ์สัตว์น้ํากว่า 8.3 ล้านตัน โดยในปี 2563 รัฐบาลฝูเจี้ยนออกนโยบายส่งเสริมการจัดตั้ง “เขตสาธิตการพัฒนาเศรษฐกิจทางทะเติแห่งชาติ” จํานวน 2 แห่งที่นครฝูโจวและเมืองเซี่ยเหมิน ซึ่งครอบคลุมโครงการก่อสร้างรวม 204 โครงการ มีมูลค่าการลงทุนกว่า 4 หมื่นล้านหยวน และ “อำเภอสาธิตการพัฒนาอุตสาหกรรมทางทะเล” จํานวน 3 แห่ง ที่อําเภอจิ้นเจียง จาวอานและตงซาน รวมทั้งเพิ่มจํานวนเรือประมงมหาสมุทรน้ําลึก 38 ลำ ซึ่งช่วยเพิ่มกําลังการผลิตในสาขาการประมงกว่า 580,000 ตันต่อปี
.
มณฑลฝูเจี้ยนยังกำหนดให้เมืองเซี่ยเหมินเป็นหนึ่งในเมืองสำคัญชายฝั่งทะเลที่มุ่งพัฒนาให้เป็น Ocean City ที่มีความแข็งแกร่งและมีอัตลักษณ์ สอดคล้องกับเป้าหมายในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติจีนระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (ค.ศ. 2021-2025) ที่จะเชื่อมโยงศักยภาพทางเศรษฐกิจทางบกและทางทะล
.
ทั้งนี้ เซี่ยเหมินถูกกำหนดให้เป็นเขตสาธิตอารยธรรมระบบนิเวศทางทะเลกลุ่มแรกของจีนโดยเน้นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทางทะเลด้วยเทคโนโลยีอัจฉริยะ เช่น การกำจัดขยะทางทะล การป้องกันการรั่วไหลของสารเคมีสู่ทะเล การแจ้งเตือนภัยและกู้ภัยฉุกเฉินทางทะเล การพยากรณ์อากาศเพื่อป้องกันภัยพิบัติทางทะเล นอกจากนี้ เซี่ยเหมินยังมุ่งส่งเสริมขีดความสามารถในการดำเนินธุรกิจของอุตสาหกรรมท้องถิ่นทางทะเล โดยปัจจุบันเมืองเซี่ยเหมินร่วมมือกับเมืองข้างเคียง ได้แก่ จางโจว เฉวียนโจว และไต้หวันในการพัฒนาความร่วมมือทางทะเลทั้งในมิติเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งดึงดูดสถาบันวิจัยทางทะเลจากทั่วจีนและต่างประเทศมาตั้งฐานการวิจัยที่เซี่ยเหมิน
.
ไทยเองมีเป้าหมายในการอนุรักษ์ ฟื้นฟูและบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอย่างยั่งยืนเช่นกัน ดังนั้น การขยายความร่วมมือกับต่างประเทศเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับเทคโนโลยีบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จะช่วยเพิ่มองค์ความรู้แก่ไทยในการบริหารทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของไทยได้ นอกจากนี้ ผู้ประกอบการยังสามารถใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีฝูเจี้ยน (Fujian Free Trade Zone) ในการนำเข้าสินค้าอาหารทะเล อาหารแช่แข็ง หรือสินค้าประเภทอื่นๆ จากฝูเจี้ยน โดยได้รับการยกเว้นภาษี ซึ่งเป็นการลดต้นทุนให้กับผู้ประกอบการ และลดขั้นตอนพิธีการศุลกากร จึงเป็นโอกาสที่ดีของผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอาหารทะเลกระป๋อง ซึ่งเป็นที่ต้องการของตลาดโลก และมีแนวโน้มในการส่งออกสูงขึ้นกว่า 5% เนื่องจากการล็อกดาวน์เมืองในหลายประเทศ ผู้บริโภคจึงนิยมซื้ออาหารที่สามารถเก็บได้นานขึ้น ทั้งนี้ การนำเทคโนโลยีแปรรูปอาหารมาพัฒนาศักยภาพและจุดเด่นของอาหารทะเลไทย จะช่วยดึงดูดความสนใจจากบริษัทนำเข้าทั่วโลกได้อย่างมาก
.
สกญ. ณ เมืองเซี่ยเหมิน
.
ขอบคุณรูปภาพจาก: https://chinadialogueocean.net/16944-ocean-china-14th-five-year-plan/