เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2563 สำนักงานต่างประเทศมณฑลเสฉวนได้จัดการบรรยายสรุปเกี่ยวกับ “การจัดตั้งเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง” แก่คณะกงสุลประจํามณฑลเสฉวนและนครฉงชิ่ง ณ โรงแรมซิ่นเจียง นครเฉิงตู โดยมีนาย Cui Zhiwei อธิบดีสำนักงานต่างประเทศมณฑลเสฉวน นาง Liu Min รองอธิบดีสำนักงานต่างประเทศมณฑลเสฉวน และนายเฉิน ข่าย รองอธิบดี คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปมณฑลเสฉวน เป็นผู้บรรยาย ซึ่งสาระสำคัญของการบรรยาย มีดังนี้
[su_spacer]
มณฑลเสฉวนเป็นพื้นที่เหมาะแก่การค้าระบบหมุนเวียนและเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการลงทุนด้านอุปโภคและบริโภค สามารถผลักดันให้เป็นตลาดการค้าแห่งใหม่และขนาดใหญ่ของประเทศได้ ดังนั้น การผลักดันการจัดตั้งเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง จะทําให้ต่างประเทศเห็นถึงศักยภาพของภูมิภาคตะวันตกของจีน ซึ่งสามารถผลักดันการพัฒนาร่วมกับพื้นที่ในเขตลุ่มแม่น้ำหรือตามแนวอ่าว สร้างห่วงโซ่อุปทานอุตสาหกรรมในระดับประเทศ และส่งเสริมการหลอมรวมเข้ากับระบบอุปโภคและบริโภคของโลก นอกจากนี้ วงกลมเขตเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่งยังสามารถผลักดันด้านการท่องเที่ยวและระบบนิเวศสีเขียว รวมทั้งการสร้างเมืองสาธารณะสีเขียวเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชนและพัฒนาอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน
[su_spacer]
เขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง แม้ทางการจีนคาดหวังว่าจะส่งผลดีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ดี เขตดังกล่าวยังถือว่ามีการพัฒนาในระดับต่ำกว่าเขตพัฒนาเศรษฐกิจอื่น ๆ ของจีน (เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี เขตเศรษฐกิจอ่าวกวางตุ้งฮ่องกง มาเก๊า เขตเศรษฐกิจปักกิ่ง เทียนจิน เหอเป่ย) จึงทําให้ยังคงมีช่องว่างและความเหลื่อมล้ำของ การ พัฒนา และอาจมีความซ้ำซ้อนของการดําเนินการพัฒนาในเขตเศรษฐกิจต่าง ๆ รวมถึงในเขตวงกลม เศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิงเองด้วย นอกจากนี้ เขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิงยังมีพื้นที่อยู่ตอนใน ทําให้มีตลาดการค้าที่ห่างไกลจากทะเล ซึ่งต่างจากเขตพัฒนาเศรษฐกิจอื่นที่โดยส่วนใหญ่จะตั้งอยู่ริมทะเล ซึ่งอาจเป็นข้อจํากัดของการดึงดูดการค้าการลงทุนจากภายใน
[su_spacer]
ในหลักการของการจัดตั้งวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่ง เป็นความพยายามของการพัฒนาเมืองและพื้นที่รอบ ๆ เมืองของนครเฉิงตูและนครฉงชิ่ง เพื่อทําให้เกิดการขยายความเจริญ และมีการพยายามแบ่งเป้าหมายในการพัฒนา อย่างไรก็ดี ในทางปฏิบัติเสฉวนและฉงชิ่งยังคงมีการดําเนินงานที่แข่งขันระหว่างกัน เกิดความซ้ำซ้อนในการทํางาน และขาดการแบ่งปันแนวปฏิบัติที่ดีระหว่างกัน จึงนับเป็นความท้าทายในระดับนโยบายและการปฏิบัติที่จะพัฒนาเขตพื้นที่ดังกล่าวที่เอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกันและสามารถตอบโจทย์จุดประสงค์ของการก่อตั้งเขตวงกลมเศรษฐกิจเฉิงตู – ฉงชิ่งอย่างแท้จริงได้
[su_spacer]