เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562 รถไฟความเร็วสูงกุ้ยหยาง-เฉิงตูได้เปิดให้บริการตลอดสายแล้ว โดยมีความเร็วสูงสุด 250 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ระยะทางรวม 648 กิโลเมตร แล่นผ่านมณฑลกุ้ยโจว-มณฑลยูนนาน-มณฑลเสฉวน ซึ่งส่วนใหญ่ เป็นพื้นที่ภูเขา การสร้างเส้นทางรถไฟจึงมีสัดส่วนของสะพานและอุโมงค์มากถึงร้อยละ 85 และใช้เวลาเดินทางจาก กุ้ยหยางถึงเฉิงตู 3 ชั่วโมง
[su_spacer]
เส้นทางรถไฟความเร็วสูงกุ้ยหยาง-เฉิงตู เปิดการเดินรถเป็น 3 ช่วง โดยช่วงเฉิงตู-เล่อซาน (มณฑลเสฉวน) เปิดเดินรถเมื่อเดือน ธ.ค. 2557 ช่วงเล่อซาน-อี้ปิน มณฑลเสฉวน) เปิดเดินรถตั้งแต่เดือน มิถุนายน 2562 ช่วงอี้ปิน-กุ้ยหยาง ทดลองเดินรถเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 และเปิดเดินรถตลอดสายแล้วเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2562
[su_spacer]
ปัจจุบัน นครกุ้ยหยางมีรถไฟความเร็วสูงแล่นผ่านหลายเส้นทาง เช่น กุ้ยหยาง-กว่างโจว คุนหมิง-กุ้ยหยางเซี่ยงไฮ้ กุ้ยหยาง-ฉงชิ่ง กุ้ยหยางกุ้ยหลิน-หนานหนิง และกุ้ยหยาง-เฉิงตู ทําให้สามารถเชื่อมการเดินทางกับเขตพัฒนา เศรษฐกิจทางภาคตะวันออกและภาคใต้ของจีน เพื่อออกสู่ทะเลในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำเพิร์ล (Pearl River Delta) เขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซีเกียง (Yangtze River Delta) และเขตเศรษฐกิจรอบอ่าวเปย (Pan Beibu Gulf Economic Zone) รวมถึงเชื่อมกับเขตเศรษฐกิจเฉิงตู-ฉงชิ่ง และเชื่อมกับมณฑลยูนนานที่เป็นประตู สู่ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเอเชียใต้
[su_spacer]
รถไฟความเร็วสูงกุ้ยหยาง-เฉิงตูที่เปิดให้บริการจะทำให้การเดินทางของนักธุรกิจและนักท่องเที่ยวสะดวก และรวดเร็วมากยิ่งขึ้น และคาดว่าการค้าการลงทุนและการท่องเที่ยวของสองมณฑลจะเพิ่มขึ้นตาม ทั้งนี้ จนถึงเดือน พฤศจิกายน 2562 ชาวเสฉวนเข้าไปลงทุนในมณฑลกุ้ยโจวแล้ว 4,477 โครงการ รวมมูลค่าตามสัญญา 955,125 ล้านหยวน ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนด้านการเกษตร อุตสาหกรรมการผลิต และเทรดดิ้ง โดยช่วง 11 เดือนแรกของปี 2562 ชาวเสฉวนเข้าไปลงทุนในกุ้ยโจว 620 โครงการ รวมมูลค่าตามสัญญา 106,000 ล้านหยวน
[su_spacer]