Tuesday, May 13, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

เงินหยวนสู่สากล: บทบาทของเขตฯ กว่างซีจ้วงและความสัมพันธ์กับอาเซียน

20/03/2025
in ทันโลก, ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน, เศรษฐกิจ I การเงิน
0
เงินหยวนสู่สากล: บทบาทของเขตฯ กว่างซีจ้วงและความสัมพันธ์กับอาเซียน
0
SHARES
35
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

“เงินหยวน” กำลังเข้าใกล้เป้าหมายการเป็นสกุลเงินหลักของโลกตามแผนการผลักดันให้สกุลเงินหยวนก้าวสู่สากล (RMB Internationalization) ที่รัฐบาลจีนได้วางไว้ โดย “อาเซียน” ถือว่ามีความสำคัญ ต่อจีนในการผลักดันให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินสากล ซึ่งเงินหยวนได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอาเซียนเช่นกัน ในแผนการผลักดันการใช้เงินหยวนในการค้าระหว่างประเทศ กล่าวได้ว่า “เขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง” เป็นหนึ่งในเขตการปกครองระดับมณฑลที่รัฐบาลกลางให้การสนับสนุนเชิงนโยบายด้านต่าง ๆ มากพอสมควร เพื่อผลักดันการเปิดสู่ภายนอกและขับเคลื่อนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของเขตปกครองตนเองแห่งนี้  

โดยที่ผ่านมา เขตฯ กว่างซีจ้วง เป็นพื้นที่ทดลอง นโยบายนำร่องการปฏิรูปภาคการเงินหลายด้าน โดยเฉพาะการพัฒนานวัตกรรมการเงิน (Fintech) ควบคู่กับการส่งเสริมการใช้สกุลเงินหยวนในการทำธุรกรรมการเงินข้ามพรมแดนกับชาติสมาชิกอาเซียน ซึ่งล้อตามยุทธศาสตร์ Gateway to ASEAN ที่รัฐบาลกลางได้มอบให้กับกว่างซี เช่น จุดทดลองการใช้ระบบบัญชีธนาคารบัญชีเดียวสำหรับการชำระบัญชีเงินหยวนและเงินต่างประเทศ จากปัจจัยข้างต้น ส่งผลให้ธุรกรรมเงินหยวนข้ามแดนของกว่างซีโดยเฉพาะการชำระบัญชีระหว่างประเทศด้วยสกุลเงินหยวนของกว่างซีมีมูลค่ายืนหนึ่งใน 12 มณฑลทางภาคตะวันตกและ 9 มณฑลชายแดนของประเทศจีนตลอดสิบกว่าปีมานี้ โดยมีอาเชียนเป็นพื้นที่เป้าหมายและเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดในการพัฒนาธุรกรรมเงินหยวนข้ามแดนของกว่างซี

ในปีที่ผ่านมา มูลค่าการชำระบัญชีระหว่างประเทศของกว่างซีก็ยังคงยืนหนึ่ง ใน 12 มณฑลทางภาคตะวันตกและ 9 มณฑลชายแดนของจีนเช่นเคย โดยเขตฯ กว่างซีจ้วงมีมูลค่าการชำระ บัญชีระหว่างประเทศด้วยสกุลเงินหยวน 588,500 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และ มูลค่าการลงทุนโดยตรงในต่างประเทศ (Overseas Direct Investment หรือ ODI) มีมูลค่า 266 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นยอดโอนออกสูงสุดเป็นประวัติการณ์ เพิ่มขึ้น 5.03 เท่า หลายปีมานี้ เขตฯ กว่างซีจ้วง ได้พัฒนานวัตกรรมการทำธุรกรรมเงินหยวนข้ามพรมแดนเพื่ออำนวยความสะดวกการค้าและการลงทุนมากยิ่งขึ้น เพื่อเร่งผลักดันการพัฒนาให้ตนเองเป็น “ประตูการเงินสู่อาเซียน” (Financal Gateway to ASEAN) โดยมีศูนย์กลางตั้งอยู่ที่ “ย่านการเงินจีนอาเซียน” หรือ China-ASEAN Finandal Town ในเขตเมืองใหม่อู่เชียง นครหนานหนิง ข้อมูล ณ สิ้นปี 2567 ย่านการเงินจีน-อาเซียนมีสถาบันการเงินเข้าจัดตั้งสถานประกอบการแล้ว 567 รายในจำนวนนี้ เป็นสถาบันการเงินรายใหม่ 55 ราย

ปัจจุบัน เขตฯ กว่างซีจ้วงกำลังส่งเสริมการพัฒนาธุรกิจด้านการสนับสนุนบริการทางการเงินขั้นกลางและหลังบ้าน ซึ่งขณะนี้ ย่านการเงินจีน-อาเซียนมีธุรกิจด้านการสนับสนุนบริการทางการเงินขั้นกลางและหลังบ้าน รวมถึงบริษัทด้านเทคโนโลยีการเงินตั้งอยู่ 37 ราย นอกจากนี้ เขตฯ กว่างซีจ้วงกำลังส่งเสริมการดำเนิน 5 นโยบายนำร่องทางการเงินในนครหนานหนิงให้เข้าถึงและแพร่หลายมากยิ่งขึ้น ได้แก่ การจัดหาเงินทุนระหว่างธนาคารด้วยสกุลเงินหยวนข้ามพรมแดน สินเชื่อสกุลเงินหยวนสำหรับโครงการในต่างประเทศ การอำนวยความสะดวกในการไหลเวียนของเงินหยวนข้ามพรมแดนแบบสองทาง การลดระเบียบขั้นตอนในการทำธุรกรรมการโอนเงินไปต่างประเทศขององค์กร/สถาบันต่างชาติที่ถือบัญชีสกุลเงินหยวน (Non-Resident Account – NRA) ในประเทศจีน และการโอนสิทธิเรียกร้องสินทรัพย์/สินเชื่อในประเทศให้กับองค์กร/สถาบันในต่างประเทศ ปัจจุบัน การทำธุรกรรมตาม 5 นโยบายนำร่องที่กล่าวมาข้างต้นในนครหนานหนิง มีมูลค่าสะสมมากกว่า 22,500 ล้านหยวน

ทั้งนี้ อาเซียนก็มีความสำคัญต่อจีนในการผลักดันให้เงินหยวนเป็นสกุลเงินสากล ซึ่งได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายในอาเซียน รวมถึงประเทศไทย ความร่วมมือในระดับธนาคารกลางสองฝ่ายได้มีการกำหนดให้เงินหยวนเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ มีการชำระดุลเงินหยวนระหว่างธนาคารสองประเทศด้วยเงินหยวนสามารถทำการแลกเปลี่ยนเงินหยวนได้โดยตรง (Direct quotation) ผ่านระบบ China Foreign Exchange Trading System & National Interbank Funding Center CFETS ขณะที่ธนาคารพาณิชย์ได้เข้าร่วมใช้งานระบบการชำระเงินข้ามแดนด้วยสกุลเงินหยวน (Cross-border Interbank Payment System – CIPS) ซึ่งการชำระค่าสินค้าผ่านระบบ CIPS ด้วยสกุลเงินหยวน เงินทุนไหลเข้า-ออกได้อย่างคล่องตัว สามารถล็อคอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินหยวนได้ทั้ง Onshore และ Ofishore ช่วยหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน (FX Hedging) และช่วยลดต้นทุนการค้าข้ามแดนให้กับภาคธุรกิจ

อีกทั้ง ความสำคัญของเศรษฐกิจจีนที่มีต่ออาเซียนและประเทศไทย และความผันผวนทางเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นจาก วิกฤติการเงินโลก การใช้เงินหยวนจึงเป็นทางเลือกสำหรับผู้ประกอบการไทยที่ทำการค้าและการลงทุนกับจีน เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนและไม่มีต้นทุน (กำไรขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน) เพิ่มอำนาจการต่อรองกับคู่ค้าจีน และเป็นการกระจายความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนจากสกุลเงินเดียว ซึ่งปัจจุบัน ธนาคารไทยหลายแห่งมีให้บริการแล้ว ในเชิงนโยบายไทย เป็นหนึ่งในประเทศที่มีความร่วมมือด้านการเงินที่ใกล้ชิดกับจีน โดยประเทศไทยได้กำหนดให้เงินหยวนเป็นเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ มีการลงนามในความตก SWAP เงินบาทกับเงินหยวน ได้จัดให้มีการชำระดุลเงินหยวนระหว่างธนาคารสองประเทศ และมีการขนย้ายเงินสดระหว่างประเทศโดยตรงผ่านสายการบิน การมีสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นมิตร โดยเฉพาะในแง่ของการเปิดกว้างภาคการเงินระหว่างประเทศ ช่วยให้มีความสะดวกในการประกอบธุรกิจ และภาคธุรกิจก็มีขีดความสามารถทางการแข่งขันมากยิ่งขึ้น อย่างเช่นการดำเนินนโยบายการปฏิรูปภาคการเงิน ‘ระบบบัญชีเดียว’ ที่กล่าวมาข้างต้นจึงมีนัยสำคัญต่อกว่างซีในการยกระดับการเปิดกว้างทางการค้าการลงทุน ซึ่งช่วยขยายผลต่อไปถึงความสัมพันธ์ในทุกมิติระหว่างจีน/กว่างซี)กับต่างประเทศ รวมถึงประเทศไทยด้วย

ข้อมูล: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง

เรียบเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

Tags: #globthailand#globทันโลก#ข่าวต่างประเทศ2568slideshowกว่างซีจ้วง
Previous Post

เกาหลีใต้อัดฉีด 50 ล้านล้านวอน เสริมอุตสาหกรรมเทคโนโลยีขั้นสูง

Next Post

โมซัมบิกกับการก้าวเป็นหนึ่งในผู้ผลิตแร่กราไฟต์รายใหญ่ของโลก

Globthailand

Globthailand

Next Post
โมซัมบิกกับการก้าวเป็นหนึ่งในผู้ผลิตแร่กราไฟต์รายใหญ่ของโลก

โมซัมบิกกับการก้าวเป็นหนึ่งในผู้ผลิตแร่กราไฟต์รายใหญ่ของโลก

Post Views: 303

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

เกาหลีใต้รับมือภาษีตอบโต้สหรัฐฯ มาตรการเร่งด่วนและยุทธศาสตร์พยุงเศรษฐกิจ

เกาหลีใต้รับมือภาษีตอบโต้สหรัฐฯ มาตรการเร่งด่วนและยุทธศาสตร์พยุงเศรษฐกิจ

10/05/2025
ตอนที่ 1 : การพัฒนาอุตสาหกรรม Humannoid robot ในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (YRD) 

ตอนที่ 1 : การพัฒนาอุตสาหกรรม Humannoid robot ในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (YRD) 

10/05/2025
รัฐไบเอิร์นขยายความร่วมมืออินเดีย ดันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ-การค้า

รัฐไบเอิร์นขยายความร่วมมืออินเดีย ดันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ-การค้า

07/05/2025
Update! เศรษฐกิจกาตาร์

Update! เศรษฐกิจกาตาร์

07/05/2025
North East Investor’s Summit 2025

North East Investor’s Summit 2025

06/05/2025
Seafood Expo Bharat 2025 ณ เมืองเจนไน รัฐทมิฬนาฑู

Seafood Expo Bharat 2025 ณ เมืองเจนไน รัฐทมิฬนาฑู

06/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X