รถไฟฉางซา-ยุโรปเปิดดำเนินการครั้งแรกในปี 2557 ต่อมา ในปี 2561 รัฐบาลนครฉางซาได้ลงนามในข้อตกลงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับบริษัท Sinotrans เพื่อจัดตั้งบริษัท Central South China International Land Port จำกัด ให้เป็นผู้รับผิดชอบการดำเนินงานทั้งหมดของรถไฟฉางซา-ยุโรป รวมถึงทำหน้าที่ส่งเสริมให้รถไฟฉางซา-ยุโรปเกิดการพัฒนาอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน การดำเนินงานของบริษัท Central South China International Land Port จำกัด ในช่วงปี 2562-2563 นอกจากจะมีปริมาณการเดินรถมากกว่าการดำเนินงานในช่วง 5 ปีก่อนหน้า (ปี 2557-2561) แล้ว สินค้าที่ขนส่งยังมีความหลากหลายเพิ่มขึ้นจากเดิม สำหรับสินค้าส่งออกที่สำคัญของมณฑล ได้แก่ เครื่องจักรและชิ้นส่วนเครื่องจักร อุปกรณ์ไฟฟ้า อะไหล่รถยนต์ และรองเท้า โดยในปี 2563 รถไฟฉางซา-ยุโรปขนส่งสินค้ารวมมูลค่า 1,138 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 119.92%
.
ในส่วนของเส้นทางการขนส่งก็ขยายตัวอย่างต่อเนื่องทั้งฝั่งขาไปและฝั่งขากลับ ปัจจุบันนครฉางซามีเส้นทางขนส่งไปยังหลายเมืองในยุโรปและเอเชียกลางกว่า 10 เส้นทาง เช่น มอสโก มินสก์ บูดาเปสต์ ฮัมบูร์ก ทาชเคนต์ และอัลมาตี ซึ่งตามปกติการเดินรถจะอยู่ที่ 30-35 เที่ยวต่อสัปดาห์ โดยสาเหตุที่ทำให้รถไฟฉางซา-ยุโรปได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นแม้จะเป็นช่วงที่ทั่วโลกยังคงเผชิญกับการแพร่ระบาดของ COVID-19
.
โอกาสผู้ประกอบการไทย
.
เเม้เศรษฐกิจโลกจะมีเเนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเเต่ปัญหาการขาดเเคลนตู้คอนเทนเนอร์ยังเกิดขึ้นต่อเนื่องส่งผลต่อราคาค่าระวางเรือที่ปรับตัวสูงขึ้นกดดันให้สินค้าส่งออกไทยหลายรายการต้องปรับขึ้นราคา ทำให้ผู้นำเข้าในต่างประเทศแบกรับราคาไม่ไหว ขอเลื่อนการส่งมอบสินค้าตามสัญญาออกไปกระทบต่อผู้ประกอบการไทยเป็นวงกว้าง
.
ถึงกระนั้นก็ตาม ผู้ประกอบการไทยอาจพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสโดยการเปลี่ยนวิธีการส่งทางเรือมาเป็นทางรถไฟเพราะการขนส่งทางรถไฟไม่ได้รับผลกระทบด้านต้นทุนและยังสามารถกำหนดเวลาการขนส่งที่แน่นอนได้ ทำให้การขนส่งทางรถไฟกลายเป็นช่องทางการขนส่งระหว่างประเทศในการเชื่อมต่อที่ยังสามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องเห็นได้จากเส้นทางรถไฟระหว่างจีน ยุโรปและเอเชียกลาง
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง