เมื่อวันที่ 3 ก.ค. 2563 สถาบันสารสนเทศและการสื่อสารของจีน (CAICT) เผยแพร่สมุดปกขาวเกี่ยวกับการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลจีน ระบุว่า ในปี 2562 (1) มูลค่าเพิ่มของเศรษฐกิจดิจิทัลของจีนอยู่ที่ 35.8 ล้านล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 36.2 ของ GDP (2) มูลค่าเพิ่มของการใช้ดิจิทัลในอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 28.8 ล้านล้านหยวน คิดเป็นร้อยละ 29 ของ GDP โดยอัตราส่วนของเศรษฐกิจดิจิทัลในภาคบริการ ภาคการผลิต และภาคการเกษตรอยู่ที่ร้อยละ 37.8 ร้อยละ 19.5 และร้อยละ 8.2 ตามลำดับ
[su_spacer]
สำนักงานสถิติแห่งชาติจีนเผยว่า เดือนมิถุนายน 2563 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนและในช่วงครึ่งแรกของปี 2563 CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ ธุรกิจที่เกิดใหม่และรูปแบบธุรกิจใหม่ อาทิ Sharing Economy โลจิสติกส์อัจฉริยะ และอินเตอร์เน็ตผสมผสานกับการเกษตร เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 3.8 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
[su_spacer]
สถาบันวิจัยหลายแห่งของจีนคาดว่า ในช่วงไตรมาสที่ 2/2563 มีความเป็นไปได้สูงที่ GDP จีนจะกลับมาเติบโตเชิงบวกอีกครั้ง โดยคาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 2.7-3.4 อันเป็นผลจากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรม การบริโภค และการส่งออกเวชภัณฑ์ อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวของภาคบริการยังคงช้ากว่าภาคอุตสาหกรรมในจีน ทั้งนี้ จีนประกาศ GDP ไตรมาสที่ 2/2563 ในวันที่ 16 ก.ค. 2563
[su_spacer]
สำนักงานศุลกากรจีนเผยว่า ตั้งแต่วันที่ 1 ก.ค. 2563 จีนได้เริ่มทดลองการค้า e-commerce ข้ามพรหมแดนในรูปแบบ Business to Business (B2B) ในเมือง อาทิ กรุงปักกอ่ง นครทียนจิน และนครหนานจิง ทั้งนี้ ในปี 2562 และในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2563 ยอดค้าปลีก e-commerce ข้ามพรหมแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 60 และร้อยละ 12 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
[su_spacer]
ข้อมูลจาก IMF ชี้ว่า ไตรมาส 1/2563 เงินสำรองระหว่างประเทศทั่วโลกที่เป็นสกุลเงินหยวนคิดเป็นร้อยละ 2.02 ของเงินสำรองระหว่างประเทศทั้งหมด นับเป็นสถิติสูงสุดในประวัติศาสตร์ ซึ่งอัตราดังกล่าวสูงกว่าดอลลาร์แคนาดาที่ร้อยละ 1.78 และดอลลาร์ออสเตรเลียที่ร้อยละ 1.55 และเป็นรองจากดอลลาร์สหรัฐที่ร้อยละ 61.9 ยูโรที่ร้อนละ 20 และเยนญี่ปุ่นที่ร้อยละ 5.6
[su_spacer]