Monday, May 19, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

กวางตุ้งตั้งเป้า “ศูนย์กลางอุตสาหกรรม AI” ภายในปี 2568

16/02/2024
in ทันโลก
0
กวางตุ้งตั้งเป้า “ศูนย์กลางอุตสาหกรรม AI” ภายในปี 2568
4
SHARES
255
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

มณฑลกวางตุ้งเป็น “พลังขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ” ที่สำคัญของจีน โดดเด่นด้วยศักยภาพทางอุตสาหกรรมการผลิตและเทคโนโลยีขั้นสูง ประกาศเป้าหมายที่จะพัฒนาให้เป็น “มณฑลที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยนวัตกรรมปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence: Al)” ภายในปี 2568 

เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2566 ที่ผ่านมา รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งประกาศ “แผนการดําเนินงานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม AI” ระบุ ภายในปี 2568 มณฑลกวางตุ้งจะมีกําลังประมวลผลอัจฉริยะสูงที่สุดในจีนและอยู่ในระดับแนวหน้าของโลก โดยมูลค่าของเทคโนโลยีหลักของอุตสาหกรรม Al (Al core industry) มีมูลค่าเกิน 300,000 ล้านหยวน (41,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) และมีวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจในสาขาเทคโนโลยีหลักของอุตสาหกรรม Al มากกว่า 2,000 ราย ภายในปี 2568 

แผนดังกล่าวกำหนดภารกิจสำคัญที่มอบหมายให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของเมืองต่าง ๆ โดยมีกรอบเป้าหมายสำคัญ ได้แก่ (1) สร้างศูนย์ประมวลผลอัจฉริยะแห่งชาติที่เมืองเสากวน และศูนย์ข้อมูล GBA ที่เมืองเซินเจิ้น (2) เสริมสร้างความสามารถด้านนวัตกรรมเทคโนโลยี AI โดยมุ่งเน้นการพัฒนาโมเดล AI ทั่วไปขนาดใหญ่ (large general-purpose Al models) ขนาด 1 แสนล้านพารามิเตอร์ Al ล้ำสมัย (cutting-edge) และเทคโนโลยี AI ที่สร้างความพลิกผัน (disruptive Al technology) (3) เร่งรัดโครงการ “Digital Bay Area” เพื่อสนับสนุนการไหลเวียนข้อมูลข้ามพรมแดน สนับสนุนการค้า การลงทุน ธุรกรรม และความร่วมมือในพื้นที่ GBA (4) สร้างพื้นที่คลัสเตอร์อุตสาหกรรม AI ได้แก่ โครงการสร้างเขตนําร่องการพัฒนานวัตกรรม Al ระดับชาติจีนในนครกว่างโจวและเมืองเซินเจิ้น โครงการสวนอุตสาหกรรมเพื่อการวิจัยและพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัลและ AI ในเมืองที่ตั้งอยู่ในพื้นที่สามเหลี่ยมปากแม่น้ำจูเจียง และสร้างโครงสร้างพื้นฐานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ของเมืองที่ตั้งอยู่ในภาคเหนือ ภาคตะวันออก และภาคตะวันตกของมณฑลกวางตุ้ง และ (5) สร้างระบบนิเวศที่เอื้อต่อการพัฒนานวัตกรรม Al โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของแต่ละเมืองจัดสรรงบประมาณเพื่อเป็นกองทุนพัฒนาอุตสาหกรรมและนวัตกรรม Al จัด forum แลกเปลี่ยนด้านนวัตกรรม Al กับฮ่องกงและมาเก๊า รวมถึงสนับสนุนการสร้างแพลตฟอร์มซื้อขายแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับ AI 

สถานะปัจจุบันของอุตสาหกรรม AI ในมณฑลกวางตุ้งและการสนับสนุนของรัฐบาล 

ปัจจุบัน อุตสาหกรรม AI ของมณฑลกวางตุ้งอยู่ในระดับแนวหน้าของจีน โดยอุตสาหกรรม Al ถูกบรรจุให้อยู่ในรายการ 20 อุตสาหกรรมเชิงกลยุทธ์ของมณฑลกวางตุ้ง ทั้งนี้ เมื่อปี 2565 เทคโนโลยีหลักของอุตสาหกรรม AI ของมณฑลกวางตุ้งมีมูลค่ากว่า 150,000 ล้านหยวน โดยมณฑลกวางตุ้งมีจำนวนวิสาหกิจด้าน AI มากที่สุดในจีนกว่า 170,000 ราย ในจำนวนดังกล่าวเป็นวิสาหกิจที่ดำเนินธุรกิจในสาขาเทคโนโลยีหลักของอุตสาหกรรม Al กว่า 900 ราย จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ 28 ราย และมีรายได้มากกว่า 10,000 ล้านหยวน 20 ราย

เกือบทศวรรษที่รัฐบาลมณฑลกวางตุ้งมีส่วนสำคัญในการสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม AI โดยรัฐบาลได้ออกนโยบายและการจัดสรรงบประมาณเพื่อสนับสนุนการพัฒนา AI อย่างต่อเนื่อง โดยมีนโยบายที่สำคัญ ได้แก่ (1) แผนปฏิบัติการของมณฑลกวางตุ้งเพื่อส่งเสริมการพัฒนาข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) (ปี 2559 – 2563) สนับสนุน AI ด้านการประมวลผลภาษาธรรมชาติ (natural language processing) Al ที่เรียนรู้ด้วยตัวเอง (machine learning) และ AI แบบระบบเรียนรู้เชิงลึก (deep learning) (2) แผนพัฒนา AI รุ่นใหม่ของมณฑลกวางตุ้ง (ปี 2559) มีเป้าหมายในการเป็นศูนย์กลางเทคโนโลยี AI ระดับโลกภายในปี 2573 (3) การอนุมัติงบประมาณ 10 ล้านหยวน (1.44 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เมื่อปี 2563 เพื่อสนับสนุนการพัฒนา AI และ ล่าสุด (4) แผนการดําเนินงานเพื่อเร่งการพัฒนาอุตสาหกรรม AI ดังที่กล่าวข้างต้น

โครงสร้างพื้นฐานดิจิทัลในมณฑลกวางตุ้ง 

ปัจจุบัน มณฑลกวางตุ้งมีศูนย์ข้อมูลกว่า 310 แห่ง ประกอบด้วยชุดคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (server rack) จำนวน 566,000 เครื่อง มีกําลังประมวลผลรวมกว่า 16 ล้านล้านล้านจุดลอยตัวต่อวินาที (flop/s) คิดเป็นอัตราประมวลผล 1 ใน 6 ของอัตราการประมวลผลของศูนย์ข้อมูลทั้งหมดในจีน

เมื่อปี 2565 คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติจีน (National Development and Reform Commission: NDRC) ประกาศโครงการ “ศูนย์ข้อมูลระดับชาติจีน” แห่งแรกในจีนตอนใต้ โดยมีเป้าหมายที่จะติดตั้งคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (server) จำนวน 5 ล้านเครื่องภายในปี 2568 มูลค่าการลงทุน 50,000 ล้านหยวน (7,751 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ทั้งนี้ ศูนย์ข้อมูลระดับชาติจีนตอนใต้ ตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์ข้อมูลเมืองเสากวน (Shaoguan Data Centre Cluster) ซึ่งกำหนดอัตราการใช้งาน (utilisation rate) ของศูนย์ฯ ที่ร้อยละ 80 ซึ่งนับว่าเป็นศูนย์ข้อมูลที่มีประสิทธิภาพในการใช้งานที่สูง นอกจากนี้ ยังมีภารกิจสำคัญในการเก็บ ประมวล และโอนถ่ายข้อมูลแบบเรียลไทม์ และเชื่อมต่อกับศูนย์ข้อมูลอื่น ๆ ใน GBA โดยเฉพาะนครกว่างโจวและเมืองเซินเจิ้น 

อนึ่ง ศูนย์ข้อมูลเมืองเสากวนเป็นส่วนหนึ่งของโครงการ “East-to-West Computing Capacity Diversion” ที่ NDRC จีนประกาศเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2565 โดยมีแผนที่จะจัดตั้งศูนย์ข้อมูล (data center) 10 แห่ง และศูนย์ประมวลผล (computing hub) 8 แห่งทั่วจีน เพื่อการเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ (big data) การประมวลข้อมูล (data computing) และการถ่ายโอนข้อมูล (data transferring) 

นอกจากนี้ มณฑลกวางตุ้งยังเป็นที่ตั้งของซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Tianhe-2A ที่มีกําลังประมวลผลสูงเป็น อันดับ 9 ของโลก โดยตั้งอยู่ที่ศูนย์ซูเปอร์คอมพิวเตอร์แห่งชาติจีน นครกว่างโจว (National Supercomputer Center (NSC) in Guangzhou) ล่าสุด เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2566 NSC นครกว่างโจว จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวซูเปอร์คอมพิวเตอร์รุ่นใหม่ Tianhe Xinyi โดยนาย Chen Zhiguang รองผู้อํานวยการ NSC นครกว่างโจว เผยว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ Tianhe Xinyi มีกําลังประมวลผลมากกว่า Tianhe-2A ถึง 5 เท่าตัว และแจ้งว่าชิปประมวลผลและอุปกรณ์ที่ใช้สำหรับ Tianhe Xinyi ล้วนแล้วแต่เป็นเทคโนโลยีของจีนเอง 

บริษัทชั้นนําด้าน AI 

มณฑลกวางตุ้งมีบริษัทเทคโนโลยีจำนวนมากที่ได้นํา AI มาประยุกต์ใช้กับธุรกิจ โดยในแต่ละสาขามีบริษัท ที่โดดเด่น เช่น (1) สาขาคอมพิวเตอร์วิทัศน์ (computer vision) บริษัท Malong Technologies (เมืองเซินเจิ้น) โดยดำเนินธุรกิจในการประยุกต์ใช้ AI มองและสแกนสินค้าอาหารสดเพื่อชั่งน้ำหนัก/ชําระเงินโดยไม่ต้องมีบาร์โคดสำหรับธุรกิจค้าปลีก (2) สาขาหุ่นยนต์อัจฉริยะ (intelligent robotics) บริษัท UBTech Robotics (เมืองเซินเจิ้น) เป็นผู้นําด้านหุ่นยนต์ฮิวแมนนอยด์ (humanoid robot) ที่ใช้ในอุตสาหกรรมบริการและความบันเทิง (3) สาขายานยนต์อัจฉริยะขับเคลื่อนอัตโนมัติ (autonomous vehicle) บริษัท Pony.AI (นครกว่างโจว) บริษัท WeRide (นครกว่างโจว) และบริษัท Xpeng (นครกว่างโจว) โดยเป็นบริษัทที่นํา AI มาประยุกต์ใช้ในการควบคุมการขับเคลื่อนยานยนต์ (4) สาขาอากาศยานไร้คนขับ (unmanned aerial vehicle) บริษัท DJI (เมืองเซินเจิ้น) ดำเนินธุรกิจอากาศยานไร้คนขับที่มุ่งเน้นอุตสาหกรรมความบันเทิง การดําเนินงานภายนอกอาคารและการเกษตร บริษัท XAG (นครกว่างโจว) มุ่งเน้นพัฒนาและผลิตโดรนและระบบ IoT ด้านการเกษตร และบริษัท Ehang (นครกว่างโจว) มุ่งเน้นโดรนขนส่งผู้โดยสาร เป็นต้น 

นอกจากนี้ นับตั้งแต่เมื่อปี 2560 รัฐบาลจีนได้จัดตั้งทีมพัฒนาด้านปัญญาประดิษฐ์ระดับชาติภายใต้ชื่อ “BATi” โดยคัดเลือกบริษัทชั้นนําของจีนที่วิจัยและพัฒนา AI ประกอบด้วย บริษัท Baidu (กรุงปักกิ่ง) มุ่งเน้นด้านรถยนต์ไร้คนขับ (self-driving car) บริษัท Alibaba (เมืองหางโจว) มุ่งเน้นระบบ Cloud Computing สำหรับเมืองอัจฉริยะ (Cloud Intelligence Brain) บริษัท Tencent (เมืองเซินเจิ้น) มุ่งเน้น AI วิเคราะห์ภาพถ่ายทางการแพทย์ (Medical Imaging) และบริษัท iFlyTek (เมืองอันฮุย) เน้นด้านเสียงอัจฉริยะ (voice intelligence) 

มณฑลกวางตุ้งผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมปัญญาประดิษฐ์มาอย่างต่อเนื่องยาวนาน จนกระทั่งกลายเป็นหนึ่งในผู้นําด้านปัญญาประดิษฐ์ที่มีสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการพัฒนามากที่สุดแห่งหนึ่งของจีน ขณะที่รัฐบาลไทยขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570) หรือ AI Thailand เพื่อสร้างมูลค่าเศรษฐกิจกว่า 1,900 ล้านล้านบาท ภายในปี 2573 ไทยกับมณฑลกวางตุ้งสามารถสร้างเครือข่ายระหว่างกันผ่านโครงการแลกเปลี่ยนบุคลากร ผู้เชี่ยวชาญ หรือร่วมกันดำเนินโครงการวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง จะเป็นการสร้างความสัมพันธ์เพื่อสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรม Al ระหว่างกันภายใต้ยุทธศาสตร์การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน และระบบสนับสนุนด้านปัญญาประดิษฐ์เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 

สรศักดิ์ บุญรอด เขียน 
8 มกราคม 2567

แหล่งข้อมูล 

  • https://www.gd.gov.cn/zwgk/wjk/qbwj/yf/content/post_4282629.html
  • https://www.gd.gov.cn/zwgk/wjk/qbwj/ybh/content/post_4287596.html
  • https://www.scmp.com/tech/article/3241373/guangdong-authorities-unveil-new-data-transfer-guidelines-amid-push-build-greater-bay-area-ai-hub
  • https://glassai.medium.com/mapping-the-ai-sector-in-china-it-is-much-smaller-than-the-us-and-similar-in-size-to-the-uk-3559f785cbee
AI Thailand | แผนปฏิบัติการด้านปัญญาประดิษฐ์แห่งชาติเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (พ.ศ. 2565 – 2570)

ข้อมูล: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครกว่างโจว/ ศูนย์ข้อมูลเพื่อธุรกิจไทยในจีน ณ นครกว่างโจว

Tags: #2567#AI#AIhub#globthailand#globทันโลก#กวางตุ้ง#ข่าวจีน#ข่าวต่างประเทศ#ข่าววันนี้#ข่าวเทโนโลยี#ข่าวเศรษฐกิจ#นวัตกรรม#ปัญญาประดิษฐ์#อุตสาหกรรม#เทคโนโลยี2024slideshow
Previous Post

FICCI Frame 2024

Next Post

บริษัทเอกชนเวียดนามสร้างโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังที่แขวงสาละวัน เพื่อส่งออกไปเวียดนามและจีน

Globthailand

Globthailand

Next Post
บริษัทเอกชนเวียดนามสร้างโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังที่แขวงสาละวัน เพื่อส่งออกไปเวียดนามและจีน

บริษัทเอกชนเวียดนามสร้างโรงงานผลิตแป้งมันสำปะหลังที่แขวงสาละวัน เพื่อส่งออกไปเวียดนามและจีน

Post Views: 982

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X