ด่านโหย่วอี้กวาน (Youyiguan Border Gate) ในอําเภอระดับเมืองผิงเสียงของเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง เป็นด่านนําเข้าผลไม้ทางบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศจีน จากข้อมูลพบว่า ปริมาณการนําเข้าผลไม้ผ่านด่านในอําเภอระดับเมืองผิงเสียงคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 50% ของทั้งประเทศ เฉพาะผลไม้เมืองร้อนจากอาเซียนมีสัดส่วนการนําเข้าคิดเป็น 3/4 ของทั้งประเทศ
.
สถานีโทรทัศน์ CCTV จีนได้เผยแพร่สกู๊ปข่าวผลไม้ที่ด่านโหย่วอี้กวาน สะท้อนให้เห็นถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ที่มีความคึกคัก บริเวณด่านรถบรรทุกขนส่งผลไม้หลากหลายชนิด เช่น แก้วมังกร ทุเรียน และแตงโม เป็นต้น กําลังรอเข้ารับการตรวจกักกันโรคพืชและแมลงศัตรูพืช ข้อมูลระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2564 พบว่า การนําเข้าผลไม้ผ่านด่านโหย่วอี้กวานมีมูลค่าราว 640 ล้านหยวน
.
ปัจจัยที่ช่วยส่งเสริมให้ผู้ค้าขายผลไม้นิยมใช้การขนส่งทางถนน นอกจากความต้องการบริโภคผลไม้นําเข้าของชาวจีนที่เพิ่มสูงขึ้นแล้ว ยังเป็นผลจากสถานการณ์ความผันผวนของการขนส่งทางเรือ ทั้งปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านี้และค่าระวางเรือที่มีทีท่าปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น ขณะที่ค่าขนส่งทางรถบรรทุกมีเสถียรภาพและควบคุมเวลาที่ใช้ในการขนส่งได้ดีกว่าทางเรือ ทําให้สินค้าที่ต้องแข่งขันกับเวลาอย่าง “ผลไม้สด” นิยมเลือกใช้การขนส่งด้วยรถบรรทุกแทน
.
บรรดาผู้ประกอบการค้าผลไม้ในตลาดซื้อขายผลไม้ขนาดใหญ่ในเมืองผิงเสียง ให้ข้อมูลว่าหลังจากที่สถานการณ์โควิด-19 ในจีนเข้าสู่ภาวะที่ควบคุมได้ ยอดขายออนไลน์และออฟไลน์ของผลไม้ยังคงเติบโต ยิ่งในปีนี้ยอดขายโตขึ้นเท่าตัวเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยเฉพาะช่องทางการขายออนไลน์มียอดขายคิดเป็น 1 ใน 3 ของยอดขายทั้งหมด โดยในปีนี้ยอดขายผลไม้พุ่งสูงขึ้น และ ผู้ประกอบการที่ค้าขายผลไม้ยังคงสามารถทำกําไรได้อยู่ เช่นเดียวกันกับอุตสาหกรรมแปรรูปผลไม้อบแห้ง โดยปีที่แล้วสินค้ามะม่วงอบแห้งสร้างรายได้ให้กับโรงงานแปรรูปแห่งหนึ่ง คิดเป็นสัดส่วน 827% ของผลประกอบการ เพิ่มขึ้น 86.54% พฤติกรรมนี้สะท้อนให้เห็นความนิยมบริโภคผลไม้อบแห้งของชาวจีนที่มีแนวโน้มเติบโตได้ดีมากขึ้นเช่นกัน
.
นอกเหนือไปจากการบริโภคผลไม้ที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ดีขึ้น สํานักงานศุลกากรแห่งชาติจีนได้วางแนวทางในการตรวจหาเชื้อโควิด-19 และการฆ่าเชื้อบนบรรจุภัณฑ์ภายนอกสําหรับผลไม้นําเข้าจากต่างประเทศของด่านโหย่วอี้กวาน ไว้ด้วยเช่นกัน โดยมีหลักสำคัญ ๆ ดังนี้
.
- ตู้ผลไม้นําเข้าจะต้องถูกสุ่มตรวจเชื้อโควิด-19 และฆ่าเชื้อบนบรรจุภัณฑ์ภายนอก โดยในขณะนี้ ตู้ผลไม้ไทยถูกสุ่มตรวจหาเชื้อโควิค-19 ในอัตราที่ไม่สูง คิดเป็นตู้ผลไม้ไทย 50 ตู้จะถูกสุ่มตรวจโควิด-19 ประมาณ 1 ตู้อย่างไรก็ดี อัตราการสุ่มตรวจมีสํานักงานศุลกรกรแห่งชาติจีน (GACC) เป็นผู้กําหนดค่าในการสุ่มตรวจ โดยจะปรับสัดส่วนการสุ่มตรวจตาม สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศต้นทาง ดังนั้น ฝ่ายไทยที่เกี่ยวข้องจะต้องดําเนินมาตรการควบคุมและป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 อย่างเคร่งครัด
.
- การตรวจหาเชื้อโควิด-19 และฆ่าเชื้อบนบรรจุภัณฑ์ภายนอกทุกผู้ทุกกล่อง แบ่งเป็น 2 กรณี คือ
2.1 กรณีที่สินค้าถูกสุ่มตรวจโรคพืชและแมลงศัตรูพืช รวมไปถึงการถูกระบบสุ่มให้ตรวจหาเชื้อโควิด-19 และฆ่าเชื้อบนบรรจุภัณฑ์ภายนอกที่ด่านโหย่วอี้กวาน กระบวนการทั้งหมดจะดําเนินเสร็จสิ้นในบริเวณพื้นที่ลานตรวจสินค้า ซึ่งด่านโหย่วอี้กวานได้ขยายพื้นที่ลานตรวจสินค้าและห้องปฏิบัติการสุ่มตรวจ/ฆ่าเชื้อให้มีจํานวนมากขึ้นถึง 67 ช่อง เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการรองรับตู้สินค้าได้อีกเป็นจํานวนมาก หลังจากผ่านกระบวนการทั้งหมดก็สามารถส่งสินค้าไปจําหน่ายทั่วประเทศจีนได้ทันที
.
2.2 กรณีที่ตู้สินค้าไม่ได้ถูกระบบสุ่มตรวจหาเชื้อโควิด-19 และฆ่าเชื้อบนบรรจุภัณฑ์ภายนอกที่ด่านโหย่วอี้กวาน รถบรรทุกจะต้องลากตู้สินค้าที่ถูกปิดผนึก (Scal) ไปที่ศูนย์โลจิสติกส์และกระจายสินค้าเกษตรในเมืองผิงเสียง ปัจจุบันมีอยู่ 5 แห่ง เพื่อทําการสุ่มเก็บตัวอย่างสําหรับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 และฆ่าเชื้อบนบรรจุภัณฑ์ภายนอกทุกตู้และทุกกล่อง ซึ่งกระบวนการฆ่าเชื้อจะดําเนินการระหว่าง การขนถ่ายตู้สินค้าจากตู้เดิมของไทยไปยังตู้สินค้าของจีน โดยลําเลียงผ่านสายพานที่ติดตั้งเครื่องพ่นละอองฆ่าเชื้อไวรัส
.
สรุปได้ว่า มาตรการในช่วงโควิดไม่ได้ส่งผลกระทบกับระยะเวลาการเคลียร์ตู้สินค้ามากนัก โดยในภาพรวมใช้เวลาเพิ่มจากช่วงสถานการณ์ปกติราว 1 ชั่วโมง ในขั้นตอนการลงทะเบียนคนขับรถบรรทุกและการรอผลตรวจเชื้อโควิด-19 บนกล่องบรรจุภัณฑ์ภายนอก ดังนั้นผู้ประกอบการที่ส่งออกผลไม้ไทยควรวางแผนการขนส่งสินค้าและใช้ประโยชน์จากด่านนําเข้าผลไม้สดที่มีอยู่หลายแห่งในกว่างซีให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาการจราจรแออัดที่ด่านทางบกโหย่วอี้กวาน โดย “ท่าเรือซินโจว” ในอ่าวเบี้ยปู่กว่างซี เป็นอีกทางเลือกที่น่าสนใจสําหรับผู้ส่งออกผลไม้ไทย ปัจจุบันมีบริการเที่ยวเรือขนส่งสินค้าระหว่างท่าเรือชินโจวกับท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือกรุงเทพของไทย จํานวนหลายเที่ยวต่อสัปดาห์ ใช้เวลาขนส่งเร็วสุดเพียง 4 วันเท่านั้น ที่สําคัญผู้ส่งออกไทยสามารถใช้โมเดลขนส่ง “เรือ + ราง” ในการขนถ่ายตู้ผลไม้ จากเรือขึ้นรถไฟได้ที่ท่าเทียบเรือ เพื่อลําเลียงไปจําหน่ายในพื้นที่ตอนในของจีนได้อย่างสะดวกรวดเร็ว
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครหนานหนิง