เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2562 คณะรัฐมนตรีจีนประกาศพื้นที่นําร่องการค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (Cross Border E-Commerce Pilot Zone หรือ CBEC Pilot Zone) เพิ่มเติมใน 24 เมือง ของ 20 มณฑล คือ (1) นครสือเจียจวง มณฑล เหอเป่ย (2) นครไท่หยวน มณฑลซานซี (3) เมืองชื่อเฟิง เขตปกครองตนเองมองโกเลียใน (4) เมืองฟุซุน มณฑลเหลียวหนิง (5) เมืองทุนชุน มณฑลจี๋หลิน (6) เมืองสุยเฟิงเหอ มณฑลเฮยหลงเจียง (7) เมืองสวีโจว มณฑลเจียงซู (8) เมืองหนานทง มณฑลเจียงซู (9) เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง (10) เมืองเส้าชิง มณฑลเจ้อเจียง (11) เมืองอู่หู มณฑลอันฮุย (12) เมือง ฝูโจว มณฑลฝูเจี้ยน (13) เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง (14) เมืองก้านโจว มณฑลเจียงซี (15) เมืองจีหนาน มณฑลซานตง (16) เมืองเยี่ยนไถ มณฑลซานตง (17) เมืองลั่วหยาง มณฑลเหอหนาน (18) เมืองหวงสือ มณฑลหูเป่ย (19) เมืองเยวหยาง มณฑลหูหนาน (20) เมืองซัวเถา มณฑลกวางตุ้ง (21) เมืองฝอซาน มณฑลกวางตุ้ง (22) เมืองหลูโจว มณฑลเสฉวน (23) พื้นที่ให่ตง มณฑลชิงไห่ (24) นครหยินชวน เขตปกครองตนเองหนิงเซี่ยหุย
[su_spacer]
ทั้งนี้ จดหมายเวียนจากคณะรัฐมนตรีแจ้งต่อกระทรวงพาณิชย์ของแต่ละมณฑลระบุว่า (1) ให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีการบริโภคสําหรับสินค้าขายปลีกแบบส่งออก และให้การสนับสนุนการยกระดับทางด้านอุตสาหกรรม (industrial upgrading) การสร้างแบรนด์สินค้า และการค้าเสรี (2) ให้พยายามปกป้องความมั่งคงของชาติ ป้องกันช่องโหว่ในเครือข่าย คุณภาพสินค้าที่นําเข้าและส่งออก รวมถึงสร้างสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่เป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย (3) กระทรวงพาณิชย์ต้องเป็นผู้นําในการประสานงาน วิเคราะห์ ควบคุม และประเมินพื้นที่นําร่องการค้าอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดนนี้
[su_spacer]
นอกจากนี้ จีนจัดตั้ง CBEC Pilot Zone ด้วยวัตถุประสงค์ในการส่งเสริมการสร้างงาน การขยายตลาด และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจในแต่ละท้องถิ่น ซึ่งการสนับสนุน Cross Border E-Commerce มีส่วนสําคัญมากในการปฏิวัติอุตสาหกรรมยุคใหม่ เช่น ในด้านการพัฒนาอุตสาหกรรมการจัดส่งเร่งด่วน การเพิ่มอัตราการจ้างงาน การเสริมสร้างนวัตกรรม และการสร้างผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งรัฐบาลจะเสนอสิ่งจูงใจสําหรับการสร้างแพลตฟอร์มที่รองรับการพัฒนา E-Commerce และบริการโลจิสติกส์ข้ามพรมแดน รวมทั้งการปรับปรุงและขยายคลังสินค้าในต่างประเทศ
[su_spacer]
อย่างไรก็ตาม ยุคแห่ง consumption upgrade ที่สินค้าท้องถิ่นไม่สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคชาวจีน ทั้งยังแสวงหาสินค้าที่พึงพอใจจากประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก การประกาศพื้นที่ CBEC Pilot Zone เป็นหนึ่งช่องทางที่จะทําให้ผู้บริโภคชาวจีนมีตัวเลือกสินค้าจากต่างประเทศมากขึ้น นอกจากนี้ ข้อมูลจากกรมศุลกากรจีน ในปี 2561 มูลค่าการนําเข้าส่งออกสินค้าขายปลีกผ่านอีคอมเมิร์สข้าม พรมแดนเพิ่มขึ้นร้อยละ 52.3 จากปี 2560 และ มกราคม – พฤศจิกายน 2562 มูลค่าการนําเข้าส่งออกฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง เห็นว่า การดําเนินนโยบายส่งเสริม Free Trade Zone ในพื้นที่นําร่องและ E-Commerce ของจีน นอกจากจะเป็นการดําเนินการตามนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศสู่ภายนอกของจีนแล้ว ยังเป็นส่วนสําคัญในการกระจายความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของจีนไปยังมณฑลต่าง ๆ ทั่วประเทศ อีกทั้งยังจะช่วยอํานวยความสะดวกทางการค้าและจูงใจให้ต่างชาติลงทุนในประเทศจีนมากยิ่งขึ้น ตลอดจนจะช่วยกระตุ้นการบริโภคภายในของจีนซึ่งจะช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ ซึ่งจีนให้ความสําคัญอย่างมากด้านการส่งเสริม E-Commerce และโลจิสติกส์ เห็นได้จากการพัฒนาแพลตฟอร์มและการมีแผนบูรณาการหลักสูตรการสอนที่สอดคล้องกับ E-Commerce และโลจิสติกส์ ในสถาบันการศึกษามากยิ่งขึ้น ซึ่งต่อไปในอนาคตจะเป็นช่องทางสําคัญที่จะช่วยส่งเสริมการกระจายสินค้าของจีนสู่ตลาดต่างประเทศ
[su_spacer]
ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยอาจใช้โอกาสนี้ในการศึกษาการดําเนินนโยบายและขยายความร่วมมือกับจีนด้าน Cross Border E-Commerce และพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของไทยให้พร้อมรับกับแนวโน้มการเติบโตของตลาด E-Commerce ตลอดจนศึกษานโยบายกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง และกลไกการส่งเสริมศักยภาพและการขยายตัวของ E-Commerce อย่างยั่งยืน
[su_spacer]