หนังสือพิมพ์ China Daily ของจีน ฉบับวันที่ 26 มิถุนายน 2562 ที่ผ่านมา ได้รายงานบทความเรื่องถั่วเหลื
ที่มีมากกว่า 1,300 ล้านคน ทำให้จีนเป็นตลาดสินค้าเกษตรที่ ใหญ่ที่สุดในโลก ซึ่งในบรรดาสินค้าเกษตรทั้ งหมดนี้ จีนมีความต้องการถั่วเหลื องมากที่สุด เนื่องจากใช้เป็นวัตถุดิ บในการผลิตเต้าหู นมถั่วเหลือง น้ำมันถั่วเหลืองและอาหารสัตว์ ทั้งนี้ จีนเป็นประเทศที่มีความต้ องการถั่วเหลืองมากถึง 1 ใน 3 ของความต้องการทั่วทั้งโลก
[su_spacer]
ในปี 2560 สหรัฐฯ ส่งออกถั่วเหลืองไปจีนร้อยละ 56.9 ตามด้วยเม็กซิโกร้อยละ 7.4 ญี่ปุ่นร้อยละ 4.5 อินโดนีเซียร้อยละ 4.3 และเนเธอร์แลนด์ร้อยละ 3.6 โดยข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์สหรั ฐฯ ระบุว่าถั่วเหลืองเป็นหนึ่งในสิ นค้าที่สหรัฐฯ ส่งออกไปจีนมากสุดในช่วงหลายปี ที่ผ่านมา รองจากเครื่องบินพลเรื อนและรถยนต์ และตามรายงานของศูนย์ข้อมูลธั ญพืชและน้ำมันแห่งชาติของจีน (China Grain and Oils Information Center) คาดว่าจีนจะนำเข้าถั่วเหลือง 89 ล้านตันในปี 2562
[su_spacer]
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2561 สภาการส่งออกถั่วเหลืองของสหรั ฐฯ (The US Soybeans Export Council) รายงานว่า สหรัฐฯ ส่งออกถั่วเหลืองมูลค่ากว่า 12,250 ล้านดอลลาร์สหรัฐไปจีนในปี 2560 แต่ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2561 ในช่วงที่มีความขัดแย้งทางการค้ าระหว่างจีนและสหรัฐฯ มูลค่าการส่งออกลดลงเหลือเพียง 3,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งหากความขัดแย้งยังคงดำเนิ นต่อไป อาจทำให้จีนหยุดซื้อถั่วเหลื องจากสหรัฐฯ แล้วนำเข้าจากประเทศอื่ นทดแทนเพื่อตอบสนองความต้ องการภายในประเทศ
[su_spacer]
ในประเทศต่าง ๆ เช่น บราซิลและอาร์เจนตินา ซึ่งมีสภาพอากาศและดินที่ เหมาะสมแก่การเพาะปลูกถั่วเหลื อง ได้ขยายพื้นที่เพาะปลูกถั่วเหลื อง ทำให้ในปี 2555 บราซิลได้กลายเป็นผู้ส่งออกถั่ วเหลืองรายใหญ่ที่สุ ดของโลกแซงหน้าสหรัฐฯ นับจากนั้นเป็นต้นมา โดยบราซิลส่งออกถั่วเหลืองไปจีน 66.1 ล้านตัน ในขณะที่อาร์เจนตินาส่งออกถั่ วเหลืองไปจีนประมาณ 5-10 ล้านตัน/ปี ดังนั้น หากจีนหยุดซื้อถั่วเหลื องจากสหรัฐฯ จะทำให้บราซิลและอาร์เจนติ นาสามารถเข้ามาแทนที่สหรัฐฯ ได้ นอกจากนี้ รัสเซียก็พยายามเพิ่มการส่ งออกถั่วเหลืองไปจีนเช่นกัน โดยในปี 2561 รัสเซียส่งออกถั่วเหลืองไปจี นเพิ่มมากกว่า 10 เท่าในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา โดยมีปริมาณมากถึง 1 ล้านตัน ทั้งนี้ แม้ว่าการส่งออกของรัสเซียจะมี สัดส่วนเพียงร้อยละ 1 ของการนำเข้าถั่วเหลืองของจีน แต่รัสเซียก็มีศักยภาพสูงที่ จะขยายการผลิตถั่วเหลืองและเพิ่ มการส่งออก เนื่องจากดินแดนที่กว้างใหญ่ และอยู่ใกล้กับจีนจะช่วยลดต้นทุ นการขนส่งได้อย่างมาก อีกทั้งจีนและรัสเซียยังมี ความสัมพันธ์ทวิภาคีที่แน่นแฟ้น โดยจีนและรัสเซียได้ร่วมมือกั นด้านเงินทุนและเทคโนโลยีเพื่ อส่งเสริมการผลิตสินค้ าเกษตรในเขตภาคตะวันออกไกลของรั สเซีย (Russia’s Far East) คาดว่ารัสเซียจะส่งออกถั่วเหลื องไปจีนมากถึง 2 ล้านตันในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า และอาจกลายเป็นแหล่งนำเข้าถั่ วเหลืองที่สำคัญของจีนในระยะยาว
[su_spacer]
ทั้งนี้ เนื่องจากความต้องการถั่วเหลื องในจีนมีสูงมาก รัฐบาลจีนจึงหันมาสนับสนุนให้ ชาวจีนปลูกถั่วเหลืองมากขึ้นเพื่ อเพิ่มรายได้ ในปี 2562 พื้นที่การผลิตถั่วเหลืองทั้ งหมดในจีนเพิ่มขึ้น โดยมีผลผลิตสูงถึง 16.8 ล้านตัน มากกว่าผลผลิตในปี 2561 ถึง 1.6 ล้านตัน นอกจากนี้ ยังมีสิ่งที่ใช้ทดแทนถั่วเหลื องได้ ซึ่งจะช่วยลดการพึ่งพาการใช้ถั่ วเหลืองของจีน เช่น การใช้น้ำมันจากผักกาดก้านขาว (Colza oil) และน้ำมันดอกทานตะวัน รวมทั้งการลดการใช้ถั่วเหลื องในอาหารปศุสัตว์ เป็นต้น
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง