เมื่อวันที่ 17 กันยายน 2564 รัฐบาลนครฉงชิ่งเปิดเผยว่า นับตั้งแต่เปิดใช้งานรถไฟจีน-ยุโรป จนถึงปัจจุบัน ได้ขนส่งรถยนต์ประมาณ 25,000 คัน มูลค่ากว่า 10,000 ล้านหยวน หรือประมาณ 1,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ผ่านท่าเรือในนครฉงซิ่ง
.
ปัจจุบัน นครฉงชิ่งเป็นหนึ่งในศูนย์กลางการนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศ โดยมีการนำเข้ารถยนต์ 17 แบรนด์รถยนต์หรู อาทิ Mercedes-Benz, Audi, BMW และ Land Rover ผ่านขบวนรถไฟจีน-ยุโรป
.
สำนักงานโลจิสติกส์นครฉงซิ่งเปิดเผยด้วยว่า นับตั้งแต่เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2564 นครฉงชิ่งมีการนำเข้ารถยนต์ผ่านขบวนรถไฟจีน-ยุโรปมากกว่า 4,600 คัน โดยมีมูลค่าการนำเข้า 2,600 ล้านหยวน เพิ่มขึ้น 5 เท่า เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563
.
นครฉงชิ่งเป็นศูนย์กลางสำคัญของรถไฟจีน-ยุโรป รถไฟขบวนแรกของรถไฟจีน-ยุโรป คือ รถไฟสายนครฉงซิ่ง-ซินเจียง-ยุโรป เปิดใช้งานเมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2564 และมีการบริการขนส่งไปแล้วทั้งหมด 1,359 ขบวนในช่วงครึ่งแรกของปี 2564 เพิ่มขึ้นมากกว่าร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปี 2563
.
ในอดีต รถไฟฉงซิ่ง-ชินเจียง-ยุโรป ออกแบบมาสำหรับขนส่งแล็ปท็อปและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่น ๆ ในปัจจุบัน มีการขนส่งสินค้ามากกว่า 1,000 ชนิด ตั้งแต่รถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ รวมไปจนถึงยาและสินค้าอุปโภคบริโภค
.
ขบวนรถไฟสายนครฉงชิ่ง-ซินเจียง-ยุโรป วิ่งผ่านหัวเมืองสำคัญทางภาคตะวันตกของจีน อาทิ เมืองต๋าโจวในมณฑลเสฉวน เมืองอานคังและนครซีอานในมณฑลส่านซี นครหลานโจวในมณฑลกานชู นครอูลูมูฉีในเขตปกครองตนเองชินเจียงอุยกูร์ เข้าสู่ประเทศคาซัคสถาน รัสเชีย เบลารุส โปแลนด์ และสิ้นสุดปลายทางที่เมืองดุยส์บูร์ก ประเทศเยอรมนี รวมเป็นระยะทางทั้งหมด 11,179 กิโลเมตร ดังนั้น การเปิดเส้นทางรถไฟสายใหม่นับเป็นอีกหนึ่งช่องทางการขยายตลาดสำหรับผู้ประกอบการไทยในธุรกิจนำเข้า-ส่งออก และโลจิสติกส์ของไทยในอุตสาหกรรมรถยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ จนไปถึงสินค้าอุปโภคบริโภคต่าง ๆ ที่สนใจเปิดตลาดในจีนและยุโรป โดยอาจพิจารณาขนส่งผ่านขบวนรถไฟนครฉงซิ่ง-ซินเจียง-ยุโรป ซึ่งเป็นเส้นทางโลจิสติกส์สายหลักระหว่างเอเชียและยุโรปที่จะสามารถขนส่งสินค้าไปยังตลาดยุโรปภายในระยะเวลา 16 วัน เพื่อเจาะตลาดผู้บริโภคใหม่ ๆ ในภูมิภาคอื่นมากยิ่งขึ้น
.
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครเฉิงตู