เมื่อวันที่ 10 ก.พ. 64 คณะกรรมการเพื่อการพัฒนาและปฏิรูปเทศบาลกรุงปักกิ่ง เปิดเผยแผนดําเนินโครงการ สําคัญ 300 โครงการของกรุงปักกิ่งในปี 2564 ซึ่งจัดอยู่ในช่วงปีแรกของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติระยะ 5 ปี ฉบับที่ 14 (2564-2568) ของกรุงปักกิ่ง โดยสรุปสาระสําคัญ ดังนี้
.
1. เป้าหมาย
แผนดําเนินโครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการขยายการลงทุนและส่งเสริมการพัฒนา เศรษฐกิจและสังคมของกรุงปักกิ่ง โดยมุ่งพัฒนาระบบคมนาคมของกรุงปักกิ่งให้เชื่อมต่อไปยังเขต/เมืองอื่น ๆ และ ปรับปรุงข้อบกพร่องของระบบสาธารณสุขและควบคุมการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น รวมถึงผลักดันการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตและการบริการและสร้างศูนย์กลางนวัตกรรมระดับนานาชาติ
.
2. โครงการสําคัญ
.
โครงการ 300 โครงการ ได้รับเงินลงทุนประมาณ 1.3 ล้านล้านหยวน หรือประมาณ 2.02 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็น 3 ด้าน ด้านละ 100 โครงการ โดยแบ่งเป็นการดําเนินโครงการใหม่และโครงการต่อเนื่องจากปีก่อน 120 และ 180 โครงการตามลําดับ
.
2.1 โครงสร้างพื้นฐาน หลักพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานสําคัญ 100 โครงการ เช่น โครงการรถไฟและทางด่วน 14 โครงการ ผลักดันระบบการคมนาคมเชื่อมต่อระหว่างเขตเศรษฐกิจจิง-จิน จี้ (กรุงปักกิ่ง-นครเทียนจินมณฑลเหอเป่ย) โครงการรถไฟฟ้าในเมืองและชานเมืองรวม 18 โครงการ รวมถึงการยกระดับโครงสร้างสาธารณูปโภค ต่าง ๆ ได้แก่ พลังงาน น้ํา และการบําบัดของเสีย
.
2.2 ความเป็นอยู่ของประชากร ยกระดับการดํารงชีวิตของประชากร 100 โครงการ โดยมุ่งเน้นการพัฒนา (1) การศึกษา เช่น สนับสนุนโรงเรียนระดับประถมและมัธยมในเขตเมืองใหม่และพื้นที่ชนบท (2) การบริการสาธารณสุข เช่น พัฒนาบริการรักษาพยาบาลในผู้สูงอายุ (3) ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมในเมืองเก่า เช่น โครงการการปรับปรุงชุมชนเก่า และ (4) ระบบนิเวศ เช่น ปรับปรุงสภาพแวดล้อมในระบบนิเวศ ปรับปรุงคุณภาพป่าไม้
.
2.3 ด้านนวัตกรรมและอุตสาหกรรมเทคโนโลยีระดับสูง สนับสนุนด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยี 100 โครงการ โดยเร่งสร้างศูนย์วิทยาศาสตร์ระดับชาติในเขตหวยโหรว (Huairou Science City) การสร้างเขตนําร่องและเขตสาธิตดิจิทัล การขยายการลงทุนด้านอุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีระดับสูง เช่น ชีวการแพทย์ รวมถึง การพัฒนาคุณภาพการบริการทางการเงินและส่งเสริมการสร้างพื้นที่ทดลองรถยนต์ไร้คนขับ เป็นต้น
.
3. ข้อสังเกต
.
การประกาศ “โครงการสําคัญ 300 โครงการของกรุงปักกิ่ง” เป็นการประกาศแผนฯ รายปีที่เริ่มต้นขึ้น เมื่อปี 2562 โดยมุ่งเน้นการพัฒนาที่ครอบคลุมทั้งโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพการดํารงชีวิต และอุตสาหกรรมเทคโนโลยี โดยในปี 2563-2564 แผนเกี่ยวกับโครงการดังกล่าวให้ความสําคัญกับการกระตุ้นการลงทุนในช่วงการแพร่ระบาดของ โรค COVID-19 และในปี 2564 มีสัดส่วนโครงการที่มีการลงทุนจากภาคเอกชนเป็นหลักร้อยละ 50 ขึ้นไป (วัดจากเงินลงทุนของเอกชนที่มากกว่าร้อยละ 70 ของแต่ละโครงการ) จะเห็นได้ว่าแผนดังกล่าวสะท้อนความต่อเนื่องของโครงการที่เป็นนโยบายสําคัญมาก่อนการแพร่ระบาดของ COVID-19 ซึ่งกรุงปักกิ่งยังคงผลักดันต่อเนื่อง เช่น การพัฒนาเขตเศรษฐกิจจิง จิน-จี้ ควบคู่ไปกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนโดยเฉพาะด้านการแพทย์และสาธารณสุข ได้แก่ การพัฒนาคุณภาพ บริการการรักษาพยาบาล พัฒนาโรงพยาบาล/สถาบันดูแลผู้สูงอายุ การสร้างฐานอุตสาหกรรมการผลิตวัคซีน และการขับเคลื่อนเศรษฐกิจด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม โดยให้ความสําคัญกับโครงการภาคการผลิตแบบทันสมัย (37 โครงการ) และโครงการส่งเสริมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล เทคโนโลยีและนวัตกรรม (23 โครงการ) เป็นความพยายามของรัฐบาลปักกิ่งในการรักษาเสถียรภาพการลงทุนและการเติบโตทางเศรษฐกิจหลังผลกระทบจากการแพร่ระบาดของ COVID-19
.
รัฐบาลปักกิ่งเร่งดำเนินการพัฒนาโครงการสำคัญในภาคเอกชนเพื่อกระตุ้นการลงทุนในอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพในช่วงหลังวิกฤต COVID-19 โดยเฉพาะการส่งเสริมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจดิจิทัล และสาธารณสุข ทั้งในด้านการผลิตและการให้บริการ ดังนั้นจึงอาจเป็นโอกาสดีของผู้ประกอบการไทยในการพัฒนาขีดความสามารถในอุตสาหกรรมเหล่านี้ เพื่อเข้าไปลงทุนในประเทศจีนที่มีตลาดขนาดใหญ่และการฟื้นตัวที่รวดเร็วมากที่สุดในโลกยุคหลัง COVID-19
.
สอท. ณ กรุงปักกิ่ง