ยุโรป

“Madrid Nuevo Norte” เมกะโปรเจ็กต์พัฒนากรุงมาดริดสุดล้ำ

Madrid Nuevo Norte (Madrid New North) (ชื่อเดิมคือโครงการ Operación Chamartín หรือปฏิบัติการชามาร์ติน) เป็นโครงการปรับปรุงและพัฒนาเมืองครั้งใหญ่บนพื้นที่รวม 2.65 ล้านตารางเมตรในเขตตอนเหนือของกรุงมาดริด ซึ่งเป็นย่านธุรกิจและย่านที่อยู่อาศัย ที่มีโครงสร้างพื้นฐานจัดตั้งอยู่ก่อนแล้ว อาทิ สถานีรถไฟ Madrid-Chamartín (มาดริด-ชามาร์ติน) ซึ่งเป็นศูนย์รวมการคมนาคมหลายรูปแบบทั้งรถไฟ...

Read more

เยอรมนีออกมาตรการ climate protection policy package

เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2562 คณะรัฐมนตรี สหพันธ์ฯ เห็นชอบนโยบายเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Protection Policy Package - “Klimaschutzpaket 2030”) โดยเป็นนโยบายที่ครอบคลุมมาตรการในภาคพลังงาน อุตสาหกรรม คมนาคม สิ่งแวดล้อม และ นวัตกรรม...

Read more

นครบาร์เซโลนาตั้งเป้าเป็น “Hub 5G ชั้นนำของยุโรปใต้”

ในปัจจุบันนครบาร์เซโลนากำลังวางแผนตั้งเป้าพัฒนาเทคโนโลยี 5G ในนครบาร์เซโลนา และจะนำตัวเองขึ้นไปเป็น “Hub 5G ชั้นนำของยุโรปใต้” ผ่าน “โครงการ 5G Barcelona” โดยนครบาร์เซโลนาเป็นเมืองนวัตกรรมอันดับ 5 ของยุโรปด้านจำนวน Startups และการลงทุน เป็นเมืองแรกได้รับรางวัล European Capital of Innovation ("iCapital") เมื่อปี 2557 จากคณะกรรมาธิการยุโรป มีสภาพแวดล้อมเอื้อต่อการพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรม ดังจะเห็นได้จากการที่ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดงานสำคัญระดับโลกอย่างงาน Mobile World Congress และงาน Smart City Expo World Congress นอกจากนี้ แคว้นคาตาโลเนียซึ่งเป็นที่ตั้งของนครบาร์เซโลนาก็ยังเป็นแคว้นผู้นำด้าน R&D เทคโนโลยี 5G ของยุโรปอีกด้วย โดยร้อยละ 60 ของโครงการทั้งหมดที่ได้รับเงินสนับสนุนโครงการ 5G PPP...

Read more

สวิตเซอร์แลนด์ เปิดตัวกลยุทธ์ทางการตลาดในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ

เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา สํานักงานการท่องเที่ยวสวิสประกาศเปิดตัวกลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกสําหรับ ปี 2563 ภายใต้ “การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ” เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสปาเพิ่มมากขึ้น โดยได้ร่วมมือกับคลินิกสุขภาพและสปากว่า 20 แห่งในสวิตเซอร์แลนด์และดึงจุดเด่นของสวิสในความเชี่ยวชาญทางการแพทย์ การมีโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวที่ดีและสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติที่สวยงามในการส่งเสริมให้สวิตเซอร์แลนด์เป็นจุดหมายที่น่าดึงดูดในสําหรับนักท่องเที่ยวเชิงสุขภาพและสปาทั่วโลก โดยกลุ่มนักท่องเที่ยวเป้าหมาย ได้แก่ จีน รัสเซีย และกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง จากข้อมูลสถิตินักท่องเที่ยวปี 2560...

Read more

ความกังวลของภาคเอกชนในกรณี No-deal Brexit

The Institute for Fiscal Studies (FS) ชี้ว่า No-deal Brexit อาจทําให้สหราชอาณาจักรมีหนี้สาธารณะมากถึง 9 แสนล้านปอนด์ หรือ ประมาณร้อยละ 90 ของ GDP สหราชอาณาจักร ซึ่งจะถือเป็นสถิติที่สูงที่สุดในรอบกว่า 50 ปี โดย IFS คาดการณ์ว่า No-deal Brexit จะทําให้เศรษฐกิจสหราชอาณาจักรหดตัว และทําให้รัฐบาลจําเป็นต้องจัดสรรงบประมาณช่วยเหลือฉุกเฉินไปยังภาคส่วนต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่ง นาย Paul Johnson ผู้อำนวยการสถาบัน IFS กล่าวว่า รัฐบาลไม่ควรเสนอนโยบายลดอัตราการจัดเก็บภาษี หรือการจัดสรรงบประมาณเพื่อลงทุนในระยะยาวจํานวนมาก...

Read more

เช็ก ติดอันดับ 1 ด้านความมั่นคงของเศรษฐกิจมหภาคจากประเทศยุโรป 15 แรกที่ได้คะแนนสูงสุดในการจัดอันดับ World Economic Forum’s GCI 2019

เช็กได้รับการจัดอันดับให้เป็นประเทศที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจอยู่ในอันดับที่ 32 โดย World Economic Forum's 2019 Global Competitiveness Index (GCI) จากการจัดอันดับประเทศและเขตเศรษฐกิจทั้งหมด 141 แห่งคิดเป็นสัดส่วนถึง 99% ของ GDP ของโลกได้แบ่งตัวชี้วัดทางเศรษฐกิจออกเป็น 103 ปัจจัยโดยสามารถจัดกลุ่มได้ 12 กลุ่มประกอบด้วย (1) สถาบันทางเศรษฐกิจ(2) โครงสร้างพื้นฐาน (3) การนํา ICT มาประยุกต์ใช้ในทางเศรษฐกิจ(4) ความมั่นคงของเศรษฐกิจมหภาค...

Read more

อียูปรับแก้มาตรการคุ้มครองสินค้าเหล็กเพื่อป้องกันการทะลัก หลังสหรัฐฯ ประกาศเก็บภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมเพิ่ม

อียูจะเริ่มทบทวนมาตรการคุ้มครองสินค้าเหล็กที่อียูเริ่มประกาศใช้มาตั้งแต่ 19 กรกฎาคม 2561 เพื่อป้องกันการทะลักของสินค้าเหล็กที่อาจจะเข้ามาในอียู ภายหลังสหรัฐฯประกาศเก็บภาษีเหล็กและอลูมิเนียมเพิ่มเติม ซึ่งเดิมไทยมีสินค้า 1 รายการที่อยู่ในข่ายต้องถูกเก็บภาษีร้อยละ 25 หากมีการส่งออกเกินโควตาที่ได้รับ เมื่อวันที่ 27 กันยายน อียูได้เผยแพร่กฎระเบียบที่ 2019/1590 ใน EU Official Journal (http://bit.ly/2nKDgrO) เกี่ยวกับมาตรการคุ้มครองสินค้าเหล็กที่ปรับใหม่ภายหลังการทบทวนดังกล่าว โดยในส่วนที่เกี่ยวกับไทยมีรายละเอียด ดังนี้ (1) อียูยกเลิกการยกเว้นการบังคับใช้มาตรการคุ้มครองสําหรับสินค้าหมวดที่ 24 (Other Seamless Tubes) กับประเทศกําลังพัฒนาที่มีการส่งออกมายังอียูต่ำกว่าร้อยละ 3 เนื่องจากเมื่อรวมประเทศที่ได้รับการยกเว้นทั้งหมดพบว่ามีการนําเข้าในปี 2561 มากกว่าร้อยละ 9 ทําให้ไทยซึ่งเดิมได้รับการยกเว้นต้องอยู่ในข่ายที่จะถูกเก็บภาษีร้อยละ 25 หากมีการส่งออกเกินโควตา โดยผู้ส่งออกจะต้องขอรับการจัดสรรโควตาตามตารางการจัดสรรที่ปรับใหม่ท้ายกฎระเบียบ (2) อียูปรับการจัดสรรโควตาสําหรับช่วง 1 กรกฎาคม 2562 - 30 มิถุนายน 2563 และช่วง 1 กรกฏาคม 2563 - 30 มิถุนายน 2564 ใหม่ โดยสินค้าหมวด 9...

Read more

จับตาเทคโนโลยีป้องกันการปลอมแปลงทองคําแท่งในสวิตเซอร์แลนด์

สวิตเซอร์แลนด์ เป็นผู้ผลิตทองคําแท่งรายใหญ่ของโลก ประมาณ 2,000 – 2,500 ตันต่อปี คิดเป็น มูลค่ากว่า 100 พันล้านฟรังก์สวิส โดยบริษัทผลิตทองคําแท่งที่มีชื่อเสียงของสวิส ได้แก่ บริษัท Valcambi บริษัท PAMP บริษัท Argor-Heraeus และบริษัท Metalor ซึ่งได้รับการยอมรับจากสถาบันการเงินทั่วโลกในแง่ของคุณภาพ โดยทองคําทุกแห่งจะมีการระบุน้ำหนัก ปริมาณทองคํา เลขทะเบียน และตราประทับของแหล่งผลิต  ปัญหาการปลอมทองคําแท่ง   ตั้งแต่ปี 2560...

Read more

ติดตามนโยบายการเงินของ ECB (European Central Bank)

การประชุมสภากรรมการ ECB (Governing Council of the European Central Bank) เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2562 ในด้านนโยบายการเงินของ ECB นั้น ECB ประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินสํารองของธนาคารพาณิชย์ที่ฝากไว้กับ ECB (Deposit...

Read more

สรุปภาพรวมสถาบันการเงินและการธนาคารของสวิตเซอร์แลนด์ประจําปี2561

สมาคมการธนาคารสวิสเซอร์แลนด์ได้รายงานผลประกอบการของสถาบันการเงินและธนาคารของสวิตเซอร์แลนด์ประจําปี 2561 ว่า ในปี 2561 สถาบันการเงินและธนาคารต่าง ๆ ในสวิตเซอร์แลนด์มีผลประกอบการที่ดี โดยเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.6 จากปี 2560 คิดเป็นมูลค่า 65.3 พันล้านฟรังก์สวิส และผลกําไรรวมเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.3 คิดเป็นมูลค่า 11.5 พันล้านฟรังก์สวิส ซึ่งผลประกอบการที่เพิ่มขึ้นในปี 2561 ถือเป็นรายได้ที่สูงสุดนับจากวิกฤตทางการเงินในปี 2551 แม้ว่าในปี 2561 ภาคการธนาคารจะได้รับผลกระทบจากความผันผวนของตลาดหุ้นและนโยบายดอกเบี้ยติดลบ (negative interest rate) ของธนาคารกลางสวิสเพื่อป้องกันการแข็งค่าของเงินสกุลฟรังก์สวิส ซึ่งทําให้สถาบันการเงินในสวิตเซอร์แลนด์ต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเป็นจํานวนถึง 2 พันล้านฟรังก์สวิสก็ตาม อย่างไรก็ตาม สินทรัพย์ที่บริหารโดยธนาคารสวิสมีมูลค่าลดลงร้อยละ 4.8 จากปี 2560 คิดเป็น มูลค่า 6,943 พันล้านฟรังก์สวิส เนื่องจากได้รับผลกระทบจากมูลค่าในตลาดหุ้นที่ตกลงในช่วงปลายปี 2561 โดย 1 ใน 3 ของสินทรัพย์ที่บริหารโดยธนาคารสวิตเซอร์แลนด์เป็นสินทรัพย์ต่างประเทศ โดยธนาคารในสวิตเซอร์แลนด์ยังคงบริหารสินทรัพย์ต่างประเทศเป็นอันดับหนึ่งของโลก ครองสัดส่วนถึงร้อยละ 27 ของตลาดสินทรัพย์ของโลก แม้ว่าสวิตเซอร์แลนด์ได้ปรับนโยบายภาคการเงินโดยยกเลิก banking secrecy และได้เริ่มดําเนินการ แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างรัฐบาลสวิตเซอร์แลนด์กับอีก 36 ประเทศ เพื่อเปิดเผยข้อมูลด้านบัญชีของลูกค้าธนาคารสวิตเซอร์แลนด์กับประเทศต่าง...

Read more
Page 23 of 35 1 22 23 24 35
0

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

FOLLOW US

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.