เศรษฐกิจ I การเงิน

สิงคโปร์คว้าอันดับ 1 เมืองศูนย์กลางด้านการเงินของเอเชียแซงหน้าฮ่องกง

สถาบัน China Development Institute ร่วมมือกับกลุ่ม ZYen และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้จัดทําดัชนี Global Financial Centres Index ครั้งที่ 32 (GFCI 32) ประจําเดือนกันยายน 2565 โดยสํารวจความคิดเห็นขององค์กรด้านการเงินและเศรษฐกิจชั้นนําของโลก เช่น...

Read more

เจาะลึกวิกฤตและแนวโน้มทางเศรษฐกิจของศรีลังกา

ตั้งแต่ปลายปี 2564 จนถึงปีนี้ ศรีลังกาต้องประสบกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อรุนแรง ราคาสินค้าอุปโภคบริโภคในตลาดเพิ่มขึ้นอย่างมาก โดยมีสาเหตุจากภาวะต้นทุนที่สูงขึ้นจากนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลก่อนหน้าที่ห้ามนำเข้าสินค้า โดยเฉพาะวัตถุดิบในการผลิต และสินค้าที่มีจำนวนจำกัดจากนโยบายลดภาษี ทำให้ประชาชนมีรายได้เหลือเพื่อใช้จ่ายมากขึ้น ซึ่งศรีลังกามีอัตราเงินเฟ้อรายเดือนเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าร้อยละ 10 ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2564 และเพิ่มขึ้นรุนแรงถึงร้อยละ 60.8 ในเดือนกรกฎาคม และ 64.3 ในเดือนสิงหาคม 2565...

Read more

เกาะติดภาวะเศรษฐกิจบราซิล และสถานการณ์ค้ากับไทย

สํานักงานสถิติแห่งชาติของบราซิล ได้รายงานว่า ภาวะเศรษฐกิจของบราซิลประจำไตรมาสที่ 2 (เมษายน - มิถุนายน 2565) เติบโตขึ้นร้อยละ 1.2 เทียบกับไตรมาสก่อนหน้า โดยมูลค่า GDP อยู่ที่ 2.2 ล้านล้านเฮอัล (ประมาณ 4.4 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ) ส่งผลให้ภาวะเศรษฐกิจบราซิล...

Read more

เซี่ยเหมินออกนโยบายส่งเสริมอุตสาหกรรมสมัยใหม่ “4+4+6”

จีนออกนโยบายการพัฒนาอุตสาหกรรมสมัยใหม่ “4+4+6” เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนากลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายของเมืองเซี่ยเหมิน โดยการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมหลัก 4 สาขาแรก ได้แก่ (1) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตจอแสดงผล คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์สื่อสาร Semiconductor และ IC รวมถึงเทคโนโลยีสารสนเทศและดิจิทัล ได้แก่ (1) IoT (2) AI (3) Big Data (4) Cloud Computing (5) Blockchain และ (6) Metaverse และตั้งเป้าหมายการเพิ่มมูลค่าการผลิตของคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะให้สูงกว่า 1 ล้านล้านหยวน (2) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมเครื่องจักรและอุปกรณ์ เน้นการพัฒนาอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าอัจฉริยะ อุตสาหกรรมการผลิตและซ่อมบำรุงอากาศยาน และอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า (3) คลัสเตอร์อุตสาหกรรมการค้าและโลจิสติกส์ เน้นการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ห่วงโซ่ความเย็น และระบบโลจิสติกส์อัจฉริยะที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อสร้างเมืองเซี่ยเหมินเป็นศูนย์กลางการค้าระหว่างประเทศ และศูนย์กลางการขนส่งระหว่างประเทศ...

Read more

ติดตามเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรหลัง Brexit และผลกระทบจากสภาวะเงินเฟ้อ

การส่งออกของสหราชอาณาจักรในยุคหลัง Brexit ข้อมูลจากการสำรวจของ Make UK ซึ่งเป็นสมาคมภาคอุตสาหกรรมการผลิตของสหราชอาณาจักร พบว่า EU ยังคงเป็นตลาดหลักอันดับ 1 สำหรับภาคการผลิตเพื่อการส่งออกของสหราชอาณาจักร ในยุคหลัง Brexit แม้กระทั่งในพื้นที่ที่สนับสนุน Brexit เช่น แคว้นเวลส์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของสหราชอาณาจักรล้วนมีการส่งออกไปยัง EU มากขึ้นในช่วงปี...

Read more

Green SGS (Infra) พันธบัตรสีเขียวของสิงคโปร์

เมื่อวันที่ 4 สิงหาคม 2565 ธนาคารกลางสิงคโปร์ (Monetary Authority of Singapore: MAS) ได้ออกพันธบัตรสีเขียว (sovereign green bond) เป็นครั้งแรกในชื่อ Green Singapore Government Securities (Infrastructure)...

Read more

ยูเออี – อียิปต์ – จอร์แดน จับมือ พัฒนาอุตสาหกรรมเสริมความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ

เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2565 ยูเออี อียิปต์ และจอร์แดนได้ลงนามความเป็นหุ้นส่วนทางอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจที่ยั่งยืน (Industrial Partnership for Sustainable Economic Growth) ที่ ADNOC Business Center กรุงอาบูดาบี โดยความเป็นหุ้นส่วนฯ ดังกล่าว มีจุดประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือและพัฒนาอุตสาหกรรม รวมถึงการจัดตั้งกองทุนมูลค่า 1...

Read more

อัตราเงินเฟ้อสหรัฐฯ เดือนมิถุนายน 65 ปรับตัวสูงขึ้นสูงสุดในรอบ 40 ปี

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2565 สหรัฐฯ ได้รายงานสถิติดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ประจำเดือนมิถุนายนว่า ปรับเพิ่มร้อยละ 1.3 เมื่อเทียบกับเดือนพฤษภาคม ซึ่งถือเป็นการปรับเพิ่มสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2548  และเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 หากเทียบกับปี 2564 โดยเป็นปรับเพิ่มขึ้นรายปีสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2524 หรือในรอบ...

Read more

เกาหลีใต้ไม่หวั่น งัดไม้เด็ดสู้ภาวะเงินเฟ้อ!

 การรับมือปัญหาเงินเฟ้อของเกาหลีใต้              เกาหลีใต้กำลังเผชิญภาวะอัตราเงินเฟ้อสูงที่สุดในรอบ 20 ปี สืบเนื่องจากปัญหาห่วงโซ่อุปทานโลกซึ่งมีสาเหตุมาจากสงครามรัสเซีย-ยูเครน ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบ ก๊าซ และสินค้าโภคภัณฑ์ปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องสำนักงานสถิติแห่งชาติเกาหลีใต้ รายงานว่า ในเดือนมิถุนายน 2565 ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของเกาหลีใต้ พุ่งขึ้นร้อยละ 6 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า ซึ่งเป็นการปรับตัวในอัตราที่สูงที่สุดในรอบ 24 ปี (สถิติสูงสุดคือร้อยละ 6.8 เมื่อครั้งเกิดวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540) และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยกระตุ้นจากราคาต้นทุนพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น กอปรกับอุปสงค์การบริโภคภายในเกาหลีใต้ที่ฟื้นตัวอย่างแข็งแกร่งหลังจากที่รัฐบาลผ่อนคลายมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 อีกทั้ง เกาหลีใต้ เป็น 1 ใน 5 ประเทศทั่วโลกที่ต้องพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันและก๊าซมากที่สุด  รัฐบาลและบริษัทพลังงานจึงไม่มีทางเลือกนอกจากการขึ้นค่าไฟและก๊าซตามผลพวงของกระแสโลกที่มีการเพิ่มขึ้นของราคาน้ำมันดิบ...

Read more

สหราชอาณาจักร ประสบปัญหาจากสภาวะเงินเฟ้อ – ค่าครองชีพ!

สภาวะเงินเฟ้อและค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้ส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของภาคครัวเรือนทั่วไปในสหราชอาณาจักรอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และล่าสุดสำนักงานสถิติแห่งชาติของสหราชอาณาจักร (Office for National Statistics - ONS) รายงานว่า อัตราค่าครองชีพในรอบ 12 เดือน (พฤษภาคม 2564 - พฤษภาคม 2565) ปรับขึ้นมาอยู่ที่ร้อยละ 9.1 จากร้อยละ 9...

Read more
Page 8 of 9 1 7 8 9
0

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

FOLLOW US

Welcome Back!

Login to your account below

Create New Account!

Fill the forms below to register

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.