รัฐบาลกัมพูชาจัดตั้งกลไกระบบโลจิสติกส์ 2 กลไก ได้แก่ National Logistics Council และ National Logistics Steering Committee เพื่อยกร่างและขับเคลื่อนแผนแม่บทโลจิสติกส์กัมพูชา (National Logistics Master Plan) ซึ่งการยกร่างแผนแม่บทดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก JICA และ World Bank โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อผลักดันให้กัมพูชาเป็นศูนย์กลางด้านโลจิสติกส์ในอาเซียน ในอนุภูมิภาค หรืออย่างน้อยเป็นศูนย์กลางด้านการขนส่งสำหรับไทยและเวียดนาม[su_spacer size=”20″]
Logistics Development Index ของกัมพูชาได้รับการปรับปรุงขึ้นจากลำดับที่ 84 จาก 140 ประเทศ เมื่อปี 2557 เป็นลำดับที่ 73 ในปี 2559 อย่างไรก็ตาม ค่าใช้จ่ายด้านโลจิสติกส์ของกัมพูชาก็ยังสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน[su_spacer size=”20″]
พัฒนาการด้านโครงสร้างพื้นฐานในกัมพูชาที่สำคัญ ได้แก่ การเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมจากกรุงพนมเปญไปยังจัดหวัดต่าง ๆ ซึ่งเสร็จสมบูรณ์แล้ว แต่อยู่ระหว่างการปรับปรุงสภาพผิวการจราจรให้เป็นแบบแอสฟัลต์คอนกรีต (asphalt concrete) และขยายถนนเป็น 4 ช่องทางการจราจร ได้แก่ (1) เส้นทางพนมเปญ – บาเว็ต (2) เส้นทางพนมเปญ – ปอยเปต (3) เส้นทางพนมเปญ – จ.กำปอต (4) เส้นทางที่อยู่ระหว่างการศึกษาเพื่อสร้างถนนเชื่อมต่อ จ.พระตะบอง – จ.เกาะกง[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ยังมีโครงการที่คาดว่าจะเปิดให้บริการก่อนช่วงปีใหม่กัมพูชา ดังนี้[su_spacer size=”20″]
1) รถไฟโดยสารในเส้นทางปอยเปต – ศรีโสภณ และหวังว่าจะสามารถทำการเดินรถได้ถึง จ.พระตะบอง ในช่วงเวลาเดียวกัน สำหรับการเดินรถไฟข้ามแดนไทย-กัมพูชา นั้น คาดว่าจะสามารถลงนามความร่วมมือว่าด้วยการเดินรถไฟได้ในเร็ว ๆ นี้[su_spacer size=”20″]
2) Airport Rail Link ได้สร้างเส้นทางรถไฟระยะทาง 1.3 กิโลเมตร (แยกจากทางรถไฟสายพนมเปญ – พระสีหนุ) จากสถานีพนมเปญ – ท่าอากาศยานนานาชาติกรุงพนมเปญ การก่อสร้างคืบหน้าไปแล้วร้อยละ 60[su_spacer size=”20″]
3) เรือโดยสารสาธารณะ กำลังสร้างท่าเรือ 5 – 6 ท่า ในแม่น้ำโตนเลสาปจนถึงแม่น้ำบาสัก[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ รัฐบาลกัมพูชายังได้หารือร่วมกับประเทสเพื่อนบ้านเพื่อแสวงหาวิธีการผ่อนคลายกฎระเบียบต่าง ๆ ที่ยังเป็นอุปสรรคต่อการขนส่งบริเวณชายแดน รวมถึงมีแผนการจัดทำ Single Window Inspection อีกด้วย[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงพนมเปญ