การระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้เปิดโอกาสให้บริษัท Start-up นำเทคโนโลยี AI เเละการใช้ข้อมูล Big Data มาใช้ในอุตสาหกรรม healthtech มากขึ้น อาทิ การปรึกษาเเพทย์ผ่านวีดีโอ เเละการวิเคราะห์ข้อมูลชั้นสูง ซึ่งประสบความสำเร็จในการดึงดูดเม็ดเงินลงทุนจากนักลงทุนเอกชนกว่า 5 พันล้านยูโรภายในช่วงครึ่งปีเเรกของปี 2564 โดยหนึ่งในบริษัทที่ได้รับเงินลงทุนเพื่อเร่งพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยี AI ได้เเก่ บริษัท Kry สัญชาติสวีเดนซึ่งเป็นผู้นำด้าน telehealth ที่ให้บริการเชื่อมโยงคนไข้กับเเพทย์เเละผู้เชี่ยวชาญในการรักษาโรคผ่านเเอพพลิเคชั่นบนสมาร์ทโฟน/เเท็ปเเล็ต โดยที่ผ่านมาบริษัท Kry ได้ช่วยเหลือผู้ป่วยในกลุ่มประเทศสเเกนดิเนเวียกว่า 2 ล้านราย ส่งผลให้บริษัทสามารถขึ้นเเท่นบริษัท Unicorn หรือ บริษัทเอกชนที่มูลค่าเกิน 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐไปเป็นครั้งเเรกอีกด้วย
.
นอกจากนี้ EU ได้มีการจัดสรรเงินลงทุนกว่า 7 ล้านยูโรในการพัฒนาโครงการนำร่อง “Data Sandbox” เพื่อเชื่อมโยงโรงพยาบาลในอิตาลี สเปน เเละสวีเดน กับผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีอีก 30 บริษัท ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลเเละการเชื่อมโยงเทคโนโลยี AI อย่างรวดเร็วเเละมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อช่วยหาวิธีเเละ AI solutions ในการรับมือสถานการณ์การเเพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 อีกทั้งเเลกเปลี่ยนข้อมูลเเละความสามารถของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศเเละระบบปฏิบัติการซอฟท์เเวร์ในการติดต่อสื่อสารสำหรับการประยุกต์ใช้ข้อมูลสุขภาพที่ถูกต้องเเละเพิ่มพูนความสามารถในการนำข้อมูลที่ได้รับมาใช้งานต่อได้ (data interoperability)
.
หนึ่งในประเด็นที่คณะกรรมธิการยุโรปให้ความสำคัญเเละกำหนดเป้าหมายไว้สำหรับปี 2019 – 2025 ตามนโยบาย Digitalisation ของ EU ได้เเก่ เเผนจัดตั้ง European Health Data Space เพื่อส่งเสริมการเเลกเปลี่ยนเเละการเข้าถึงข้อมูลสุขภาพประเภทต่างๆ ให้ดียิ่งขึ้น เช่น ประวัติสุขภาพอิเล็กทรอนิกส์ ข้อมูลจีโนม ฯลฯ ซึ่งไม่เพียงเเต่เป็นการสนับสนุนการให้บริการด้านสุขภาพ เเต่ยังเป็นการส่งสริมการทำวิจัยเเละการกำหนดนโยบายด้านสุขภาพในอนาคตอีกด้วย
.
ความสำเร็จของการเชื่อมต่อเเอพลิเคชั่นติดตามผู้ติดเชื้อโควิด (contact tracing) เเละเเอพลิเคชั่น EU Digital Covid Certificates นั้นพิสูจน์เเล้วว่าเมื่อมีความจำเป็นเร่งด่วน ประเทศสมาชิก EU สามารถตกลงร่วมกันพัฒนาเทคโนโลยีที่สามารถใช้ร่วมกันได้ (interoperability) ทำให้สามารถก้าวข้ามความท้าทายด้านเทคนิคโดยในปัจจุบันมีการเชื่อมโยงระบบข้อมูล EU Digital Covid Certificate ระหว่างสมาชิก EU ทั้ง 27 ประเทศ เเละนอก EU อีก 9 ประเทศ ได้เเก่ ไอซ์เเลนด์ ลิกเตนสไตน์ มาเซโดเนียเหนือ นอร์เวย์ ซานมาริโน สวิตเซอร์เเลนด์ ตุรกี ยูเครน เเละนครวาติกัน
.
นาย Sokratis Nifakos ผู้พัฒนาระบบโรงพยาบาล Karolinska Institutet จากสวีเดน กล่าวว่า “ในช่วงเเรกนั้นเครื่องมือ AI เพื่อสนับสนุนการวินิจฉัยทางการเเพทย์ควรมีการเตรียมความพร้อมเเละให้ความรู้เเก่เเพทย์เกี่ยวกับการใช้เครื่องมือ AI” เพื่อให้เเพทย์สามารถใช้เทคโนโลยีได้อย่างถูกวิธีเเละเกิดประโยชน์สูงสุด อีกทั้งเทคโนโลยีอุตสาหกรรมการเเพทย์เเละสุขภาพได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มเทคโนโลยี AI ที่มีความเสี่ยงสูง อาจมีการออกกฎระเบียบควบคุมการใช้เข้มงวดพิเศษจาก EU เพื่อลดความเสี่ยงในการวินิจฉัยผิดพลาดที่อาจเป็นอันตรายต่อคนไข้
.
เเม้วัคซีนป้องกันโควิด-19 จะเป็นพระเอกของวิกฤตโรคระบาดนี้ เเต่เทคโนโลยีต่างๆก็มีบทบาทสำคัญไม่เเพ้กัน เช่น เเอพพลิเคขั่นติดตามผู้ติดเชื่อโควิดเพื่อเเจ้งเตือนให้บุคคลกลุ่มเสี่ยงระมัดระวังเเละกักตัวเพื่อสังเกตอาการได้ทันท่วงทีถือว่าเป็นเครื่องมือช่วยควบคุมการเเพร่ระบาดที่สำคัญเเละเทคโนโลยี telehealth เพื่อเชื่อมต่อเเพทย์เเละคนไข้
.
การเเพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 เป็นตัวเร่งการเปลี่ยนเเปลงในการนำเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในทุกภาคส่วนโดยเฉพาะการเร่งพัฒนาเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) ที่กลายมาเป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มเเละขับเคลื่อนขีดความสามารถในการเเข่งขันที่สำคัญในมิติต่างๆ เช่น สุขภาพเเละการเเพทย์ การค้าเเละพาณิชบ์ รวมถึงประเด็นสิ่งเเวดล้อม ผู้ประกอบการไทยควรศึกษาเเละพัฒนาถึงความเป็นไปได้ในการนำเทคโนโลยี AI มาประยุกต์ใช้กับภาคอุตสาหกรรมต่างๆที่มีศักยภาพเพื่อกำหนดทิศทางเเละพัฒนาโอกาสในการเป็นผู้นำในมิติหรือด้านที่ประเทศไทยต้องการผลักดันในอนาคตสืบต่อไป
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน เเละ คณะผู้เเทนไทยประจำสหภาพยุโรป