เมื่อเร็ว ๆ นี้ นาย Dario Chemerinski นักเศรษฐศาสตร์ชาวอาร์เจนตินา ผู้เชี่ยวชาญด้านธุรกิจปลาทูน่าในบราซิลได้ให้สัมภาษณ์ถึงการคาดการณ์การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมปลาทูน่าในบราซิลภายใต้รัฐบาลชุดใหม่ของประธานาธิบดี Jair Bolsonaro ว่าในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลบราซิลได้ดำเนินนโยบายปกป้องตลาดสินค้าเกษตรและประมงอย่างเคร่งครัด สำหรับอุตสาหกรรมปลาทูน่า รัฐบาลได้กำหนดอัตราภาษีการนำเข้าปลาทูน่าจากประเทศต่าง ๆ อยู่ที่ร้อยละ 16 ยกเว้นเอกวาดอร์ที่ได้รับการยกเว้นอัตราภาษีนำเข้าอยู่ที่ร้อยละ 0 โดยบราซิลนำเข้าปลาทูน่าไม่ถึงหมื่นตันต่อปี และส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากเอกวาดอร์ ซึ่งเป็นผู้ส่งออกปลาทูน่าอันดับสองของโลก (Report of the Ecuadorian Tuna Sector, August 2017) ในขณะที่บราซิลผลิตปลาทูน่าเพียง 22,000 ตันต่อปี ทั้งนี้ เนื่องจากการบริโภคภายในประเทศค่อนข้างต่ำ และยังมีปัจจัยของการผูกขาดตลาดสินค้าของผู้ประกอบการสองรายใหญ่ (GOMES DA COSTA และ COQUEIRO) ซึ่งถือครองตลาดภายในประเทศมากกว่าร้อยละ 85 ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ตลาดปลาทูน่าในบราซิลยังมีขนาดเล็กและไม่หลากหลาย [su_spacer size=”20″]
นาย Chemerinski ได้คาดการณ์ต่อทิศทางของอุตสาหกรรมปลาทูน่าในบราซิลและภูมิภาคลาตินอเมริกาอีกว่า ภายใต้รัฐบาลของประธานาธิบดี Bolsonaro ผู้ซึ่งมีแนวคิดขวาสุดโต่ง บราซิลมีความเป็นไปได้ที่จะถอนตัวจากการเป็นสมาชิกกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจของประเทศในภูมิภาคอเมริกาใต้ Mercosur (ประกอบด้วยอาร์เจนตินา ปารากวัย อุรุกวัย และบราซิล) และจะไปเข้าร่วมกลุ่ม Pacific Alliance (ประกอบด้วย ชิลี โคลอมเบีย เม็กซิโก และเปรู) รวมทั้งเน้นการดำเนินนโยบายการเจรจาเขตการค้าเสรีและกรอบความร่วมมือทางการค้าแบบทวิภาคี อันจะนำไปสู่การเปิดตลาดอุตสาหกรรมปลาทูน่าในบราซิลครั้งใหญ่ให้แก่ผู้ผลิตและผู้ประกอบการต่างชาติ [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ นาย Chemerinski ยังคาดการณ์ว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า บราซิลอาจจะเป็นตลาดที่มีศักยภาพ สำหรับอุตสาหกรรมปลาทูน่ากระป๋อง ซึ่งเป็นผลจากการบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นเป็น 60,000 ตันต่อปี และอัตราภาษีการนำเข้าสินค้าที่ปรับลงเหลือร้อยละ 0 จะทำให้มีการเข้ามาลงทุนของผู้ประกอบการรายใหม่ ซึ่งจะเป็นโอกาสดีสำหรับบริษัทรายใหญ่ในเอเชีย รวมถึงไทย ที่จะเข้ามาเปิดตลาดในบราซิลและภูมิภาคลาตินอเมริกา อนึ่ง นาย Chemerinski ได้วิเคราะห์ทิศทางการดำเนินนโยบายทางเศรษฐกิจภายใต้รัฐบาลบราซิลชุดใหม่ อันจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอุตสาหกรรมปลาทูน่าในบราซิลและภูมิภาคลาตินอเมริกา โดยแบ่งเป็น 3 ระยะ ดังนี้ [su_spacer size=”20″]
การรวมกลุ่ม | ระยะสั้น (1 ปี) | ระยะกลาง (3 ปี) | ระยะยาว (5 ปี) | อุตสาหกรรมปลาทูน่า |
MERCOSUR
– อาร์เจนตินา – บราซิล – ปารากวัย – อุรุกวัย |
– บราซิลถอนสมาชิกภาพจาก MERCOSUR
– ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับชิลี – ลงนามความตกลงการค้าเสรีกับอาร์เจนตินา – ลงนามความตกลงแบบทวิภาคีกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคลาตินอเมริกา – กระชับความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ |
– บราซิลเข้าร่วม Pacific Alliance
– เน้นนโยบายการค้าเสรี – ลดอัตราภาษีศุลกากรอย่างค่อยเป็นค่อยไป – ขจัดอุปสรรคทางการค้าและการลงทุน – ผู้ประกอบการใหม่เข้ามาลงทุนทั้งในบราซิลและในอาร์เจนตินา |
– การปรับโฉมใหม่ของภูมิภาคลาตินอเมริกา
– การรวมกลุ่มเป็นสหภาพ ลักษณะคล้ายกับสหภาพยุโรป |
– บราซิล อุรุกวัยอาร์เจนตินา และปารากวัย ปรับอัตราภาษีการนำเข้าปลาทูน่าเป็นร้อยละ 0 และมีการบริโภคต่อหัวเพิ่มขึ้น |
[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ มีข้อสังเกตได้ว่า นาย Chemerinski เป็นนักธุรกิจที่พยายามส่งเสริมโอกาสทางการค้าของไทยในบราซิลและประเทศใกล้เคียง โดยปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Senior Project Manager Latin America & Asia Brand และเป็นผู้ประสานงานให้กับบริษัท Cantu ในการนำเข้าเบียร์ไทยสู่ตลาดบราซิล รวมทั้งมีบทบาทในการประสานงานผลักดันโอกาสของการเข้าสู่ตลาดของสินค้าอาหารทะเลจากไทย เช่น ปลาทูน่าและกุ้ง [su_spacer size=”20″]
การคาดการณ์การปรับเปลี่ยนทิศทางด้านนโยบายระหว่างประเทศและการค้าระหว่างประเทศของนาย Chemerinski เป็นการสะท้อนความรู้สึกและการคาดหวังของภาคธุรกิจโดยเฉพาะอย่างยิ่งในตลาดบราซิล เห็นได้จากสัญญาณทางบวกในระยะสั้น เช่น การแข็งค่าของเงินเฮอัล ตลอดจนการดีดตัวเพิ่มขึ้นของดัชนีตลาดหลักทรัพย์ Ibovespa Brasil Sao Paulo Stock Exchange Index และตลาดหลักทรัพย์อื่น ๆ ของบราซิลที่ต่างปิดตัวในแดนบวก อันเป็นผลจาก Sentiment เชิงบวกของนักลงทุน [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบราซิเลีย