เมื่อวันที่ 28 – 30 พฤศจิกายน 2561 สถาบันวิจัย VITO (The Flemish Institute for Technological Research) ได้เป็นเจ้าภาพร่วมกับหุ้นส่วนนานาชาติ จัดงานประชุม Global Sustainable Technology & Innovation Conferences (G-STIC 2018) เป็นครั้งที่ 2 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม โดยมีจุดประสงค์ 1) เพื่อเร่งผลักดันการพัฒนาที่ยั่งยืน 2) สนับสนุนการเปลี่ยนผ่านไปสู่สังคมและเศรษฐกิจที่ยั่งยืน 3) ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในแวดวงเทคโนโลยีและนวัตกรรม และ 4) เชื่อมช่องว่างระหว่างผู้พัฒนาเทคโนโลยีและผู้กําหนดนโยบายประเทศ โดยมีผู้เข้าร่วมงานกว่า 1,200 คน [su_spacer size=”20″]
โดยภายในงานได้มีการนําเสนอโครงการนวัตกรรมใหม่ ๆ ตัวอย่างความเป็นเลิศของโครงการด้านการพัฒนาที่ยั่งยืน การอภิปรายกลุ่ม และการประชุมย่อยเพื่อสร้างความร่วมมือในกลุ่มเฉพาะทางต่าง ๆ (Clusters) อาทิ กลุ่มเกษตรเชิงนิเวศน์เพื่อห่วงโซ่อาหารที่ยั่งยืน กลุ่มเปลี่ยนน้ำเสียเป็นทรัพยากร กลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียน กลุ่มพลังงานจากชุมชน กลุ่มการศึกษา กลุ่มข้อมูลเชิงพื้นที่ และกลุ่มสุขภาพ เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
ในงานประชุมนี้ กลุ่มเศรษฐกิจหมุนเวียนได้นําเสนอนวัตกรรมใหม่ ๆ ที่ถูกนํามาปรับใช้เพื่อ “ปิดห่วง โซ่ของวัตถุดิบ” จากมุมมองหลังการบริโภค เพื่อนําวัตถุดิบดังกล่าวกลับไปใช้ใหม่หรือเปลี่ยนลักษณะเพื่อไปใช้ในจุดประสงค์อื่น ๆ เช่น การใช้ Machine Learning ในการแยกประเภทขยะ และการใช้หุ่นยนต์ในการแยกชิ้นส่วน [su_spacer size=”20″]
นาย Rudolf Auer ผู้อํานวยการฝ่าย International Environmental Initiative จากบริษัท Apple ได้นําเสนอ “Daisy” หุ่นยนต์แยกชิ้นส่วน iPhone รุ่นใหม่ที่มีคุณสมบัติเหนือกว่า “Liam” หุ่นยนต์แยก ชิ้นส่วนรุ่นแรก เพื่อคัดแยกชิ้นส่วนที่ยังมีประโยชน์ เช่น ทอง เงิน ทองแดง อลูมิเนียม และแร่โลหะหายาก เป็นต้น ซึ่ง Daisy ได้ถูกพัฒนาให้สามารถแยกชิ้นส่วน iPhone ในสภาพต่าง ๆ ได้ถึง 9 รุ่น รวมถึงเครื่องที่ไม่สมบูรณ์หรือเครื่องที่หน้าจอแตกก็สามารถนํามาถอดชิ้นส่วน เพื่อให้บริษัทสามารถนําวัสดุเหล่านี้กลับมาใช้ใหม่ [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบันมี Daisy 2 เครื่องในโลกตั้งอยู่ที่สหรัฐอเมริกาและเนเธอร์แลนด์ ถึงแม้ Daisy สามารถแยก ชิ้นส่วนด้วยความเร็วสูงสุด 200 เครื่องต่อชั่วโมง หรือ 1.725 ล้านเครื่องต่อปี แต่ถ้าเทียบกับยอดขาย iPhone ในปี 2560 ประมาณ 217 ล้านเครื่อง บริษัท Apple มีศักยภาพในการรีไซเคิล iPhone เพียง 1.6% เท่านั้น จึงหวังว่าในปีหน้าจะมีนวัตกรรมใหม่ออกมาให้ผู้อ่านติดตามกัน [su_spacer size=”20″]
นาง Pan-Pan Jiang ผู้จัดการด้านเทคนิคของโครงการ Google AI Healthcare ได้กล่าวถึงวิสัยทัศน์ ของ Google ที่ต้องการนํา AI มาประยุกต์ใช้เพื่อช่วยให้แพทย์สามารถรักษาคนไข้ได้อย่างมีประสิทธิภาพและทั่วถึงมากยิ่งขึ้น เช่น นําไปในพื้นที่ที่คลาดแคลนแพทย์เฉพาะทาง ซึ่งจะช่วยให้ประเทศต่างๆ สามารถบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนข้อที่ 3 ที่เน้นการมีสุขภาพดีถ้วนหน้า โดยนวัตกรรม AI สามารถใช้ประโยชน์จากฐานข้อมูลและประวัติการรักษาของคนไข้มาประกอบการวินิจฉัยโรคของแพทย์ ซึ่งตอนนี้ Google ศึกษาอยู่ 2 โครงการย่อย คือ การใช้ AI วิเคราะห์อาการเบาหวานขึ้นตา และการวิเคราะห์เซลล์มะเร็งเต้านม [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบันประชากรโลกกว่า 415 ล้านคนเป็นโรคเบาหวาน ซึ่ง Google AI Healthcare ได้ทดลองใช้ เทคโนโลยี Machine Learning ในการคัดกรองคนไข้ที่มีความเสี่ยงตาบอดจากโรคเบาหวานหรือที่เรียกกันว่า “เบาหวานขึ้นตา” (diabetic retinopathy) เพื่อให้คนไข้ได้รับการรักษาอย่างเร็วที่สุดและป้องกันการสูญเสีย [su_spacer size=”20″]
การมองเห็นโดยใช้เทคโนโลยี AI อ่านภาพถ่ายจอประสาทตาและเปรียบเทียบกับภาพถ่ายจอประสาทตาของคนไข้อื่น ๆ ในฐานข้อมูลที่มีอยู่ในคลังข้อมูล แล้ววิเคราะห์ว่าเป็นเบาหวานหรือไม่ [su_spacer size=”20″]
ประเทศไทยเองมีผู้ป่วยเบาหวานกว่า 4 – 5 ล้านคน โดยทุกคนมีความเสี่ยงต่อภาวะเบาหวานขึ้นตาซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนที่อาจทําให้ตาบอดได้ ทั้งนี้ ล่าสุดเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม 2561 Google ได้แถลงข่าว โครงการทําวิจัยในประเทศไทยร่วมกับโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เนื่องจากไทย มีโครงการคัดกรองเบาหวานในระดับชาติอยู่แล้ว โดยผลการทดสอบเบื้องต้นพบว่าการนํา AI ไปใช้คัดกรองคนไข้ที่มีความเสี่ยงเบาหวานขึ้นตามีความแม่นยําถึง 97% และแม่นยํากว่าการให้ผู้เชี่ยวชาญวินิจฉัยถึง 23% ซึ่งโครงการนี้นับเป็นโครงการนําร่องที่น่าติดตามอย่างมาก เพราะอาจเป็นทางออกสําหรับปัญหาขาดแคลนแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านคัดกรองเบาหวานขึ้นตาในไทย [su_spacer size=”20″]
อีกโครงการที่ได้รับความสนใจอย่างมาก คือ โครงการวิจัยเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี Deep Leaming ในการช่วยเหลือพยาธิแพทย์ในการวิเคราะห์เซลล์มะเร็งเต้านม โดยใช้ Lymph Node Assistant Algorithm (LYNA) ในการตรวจจุดสังเกตเล็ก ๆ ของการแพร่กระจายของมะเร็งเต้านมในขั้นตอนการตรวจหาเซลล์มะเร็งในต่อมน้ำเหลือง ซึ่งมีความแม่นยําสูงถึง 99% และใช้เวลาน้อยกว่าการวินิจฉัยโดยพยาธิแพทย์ ซึ่งมะเร็งเต้านมเป็นมะเร็งร้ายอันดับ 1 ที่พบในผู้หญิงทั่วโลก หรือประมาณ 2.1 ล้านคนต่อปี และยังไม่มีวัคซีนป้องกันเหมือนมะเร็งปากมดลูก [su_spacer size=”20″]
ทั้งสองตัวอย่างนวัตกรรมที่ทีมงานฯ นํามาฝากในฉบับนี้นอกจากจะสะท้อนแนวโน้มเทคโนโลยีและนวัตกรรมในปัจจุบันที่ต้องเน้นเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนแล้ว ยังเห็นได้ว่า AI เป็นอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ทวี ความสําคัญมากขึ้น เนื่องจาก AI มีความแม่นยําและสามารถประมวลผลได้รวดเร็ว แต่ก็ยังมีข้อจํากัดเรื่องการประมวลปัจจัยแวดล้อมอื่น ๆ และการปรับตัวในสิ่งที่คงอธิบายไม่ได้นอกจาก “ความเป็นมนุษย์” แต่ในอนาคต นักวิจัยคงแก้ปัญหาตรงนี้ได้ โดยล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2561 คณะกรรมาธิการยุโรปและประเทศสมาชิกอียูได้เห็นชอบแผนการดําเนินงานร่วมเพื่อการพัฒนา AI ในอียู ภายหลังจากที่มีการจัดทําแผนยุทธศาสตร์การ พัฒนา AI ในอียูเมื่อเดือนเมษายนที่ผ่าน [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์/คณะผู้แทนไทยประจำสหภาพยุโรป