Tuesday, May 20, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

EU รับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลของญี่ปุ่น กรณีศึกษาสำหรับประเทศไทย

26/09/2018
in ทันโลก, ยุโรป
0
EU รับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลของญี่ปุ่น กรณีศึกษาสำหรับประเทศไทย
0
SHARES
382
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

                EU เริ่มกระบวนการให้การรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลของญี่ปุ่น (Adequacy Decision) เพื่ออำนวยความสะดวกในการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างประเทศสมาชิก EU และญี่ปุ่น หลังจากที่ EU เห็นชอบในเนื้อหาการรับรองมาตรฐานการคุ้มครองมาตรฐานของญี่ปุ่นไปเมื่อเดือนกรกฎาคม 2561 ล่าสุดเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2561 EU ได้เริ่มกระบวนการให้การรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลของญี่ปุ่น ภายใต้กฎระเบียบ GDPR ที่มีผลบังคับใช้ไปตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2561 ที่ผ่านมา [su_spacer size=”20″]

                ภาคธุรกิจของญี่ปุ่นต้องเพิ่มความเข้มงวดด้านการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเพิ่มมากขึ้น เพราะร่างข้อมติรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูล (Draft Decision) ที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ระบุข้อปฏิบัติเพิ่มเติม (Supplementary Rules) จากกฎหมายการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของญี่ปุ่นที่มีอยู่แล้ว (Act on the Protection of Personal Information : APPI) โดยข้อปฏิบัติเพิ่มเติมดังกล่าว มีสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้ [su_spacer size=”20″]

  1. กระบวนการทำให้ข้อมูลยืนยันตัวบุคคลไม่ปรากฏชื่อของบุคคลนั้น หรือสิ่งที่สามารถระบุตัวตนของบุคคลนั้น (anonymization) โดยจะต้องไม่ให้สามารถระบุตัวตนได้อีก เพื่อปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลที่ได้รับการโอนมาจากประเทศสมาชิก EU ซึ่งภาคธุรกิจของญี่ปุ่นจะต้องลบข้อมูลสำคัญที่จะทำให้สามารถระบุตัวตนได้ ( […] destroy the key permitting to re-identify the data) ทั้งนี้ เพราะกฎหมาย APPI ของญี่ปุ่น ระบุเพียงแค่ให้มีมาตรการป้องกันไม่ให้สามารถระบุตัวตนได้เท่านั้น ( […] merely required to prevent re-identification) แต่อาจใช้วิธีการอื่นๆ เพื่อระบุตัวตนได้
  2. ข้อมูลส่วนบุคคลทุกประเภทจะต้องได้รับการคุ้มครองโดยเจ้าของข้อมูลเท่ากันที่มีสิทธิ เช่น สิทธิในการเข้าถึงเพื่อตรวจสอบ สิทธิในการแก้ไขข้อมูล หรือการไม่ยินยอมให้ประมวลผล เป็นต้น ซึ่งรวมถึงข้อมูลที่มีกำหนดลบทิ้ง (set to be deleted) ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี เนื่องจากกฎหมาย APPI ไม่ได้ให้สิทธิการคุ้มครองข้อมูลประเภทดังกล่าว
  3. การนำข้อมูลไปประมวลผลไม่สามารถใช้เกินขอบเขตที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมไว้ โดยจะต้องขอความยินยอมใหม่ทุกครั้ง ซึ่งต่างจากกฎหมาย APPI เดิมที่ไม่มีความชัดเจนเกี่ยวกับการขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูล ในกรณีที่จุดประสงค์ในการประมวลผลข้อมูลแตกต่างไปจากจุดประสงค์เดิมที่เจ้าของข้อมูลให้ความยินยอมไว้ก่อน
  4. การยกระดับการคุ้มครองข้อมูลละเอียดอ่อน (sensitive data) ภายใต้กฎระเบียบ GDPR ให้ได้รับการคุ้มครองแบบพิเศษ (special care-required personal information) ตามกฎหมาย APPI เพราะข้อมูลประเภทข้อมูลละเอียดอ่อนภายใต้กฎระเบียบ GDPR เช่น เชื้อชาติ ศาสนา ประวัติการรักษา และอาชญากรรม เป็นประเภทข้อมูลเดียวกันกับข้อมูลประเภทที่ได้รับการคุ้มครองพิเศษ ภายใต้กฎหมาย APPI
  5. การโอนข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ที่มีถิ่นพำนักใน EU จากญี่ปุ่นไปยังประเทศที่สาม (onward transfer) จะต้องเป็นไปตามระเบียบที่กำหนดไว้ โดยการโอนข้อมูลส่วนบุคคลต่อจากญี่ปุ่นไปยังประเทศที่สามมี 2 กรณี คือ 1) ประเทศที่สามนั้นได้รับการรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลจากญี่ปุ่น และ 2) ในกรณีที่ผู้รับโอนอยู่ในประเทศที่มีระดับการให้ความคุ้มครองแตกต่างกัน ผู้ประกอบการต้องจัดทำกฎข้อบังคับหรือสัญญาที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร (Binding Corporate Rules) ตามมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของญี่ปุ่นและข้อปฏิบัติเพิ่มเติม (Supplementary Rules) ตามที่ญี่ปุ่นมีความตกลงร่วมกับ EU
  6. การใช้ข้อมูลส่วนบุคคลเพื่อทำการตลาดทางตรง (Direct Marketing) จะต้องได้รับการยินยอมจากเจ้าของข้อมูล และต้องสามารถให้เจ้าของข้อมูลบอกยกเลิกการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลได้ (opt-out) โดยการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่โอนจาก EU ไปยังญี่ปุ่น หรือจากญี่ปุ่นไปยังประเทศที่สามจะต้องเป็นไปตามจุดประสงค์เดิมที่เจ้าของข้อมูลได้ให้ความยินยอมไว้เท่านั้น หากต้องการใช้ข้อมูลเพื่อทำการตลาดทางตรงเพิ่มเติม จะต้องขอความยินยอมจากเจ้าของข้อมูลก่อน รวมทั้งต้องให้เจ้าของข้อมูลสามารถบอกยกเลิกการใช้ข้อมูลของตนได้ทุกเมื่อ (opt-out)
  7. การบังคับใช้กฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลมีความเข้มงวดมากขึ้น โดยเฉพาะในกรณีละเมิดการประมวลผลข้อมูลที่โอนจาก EU มายังญี่ปุ่น ซึ่งผู้ประกอบการจะต้องปฏิบัติตามคำแนะนำของหน่วยงานคุ้มครองข้อมูล และไม่สามารถอ้างเหตุผลใดๆ ที่จะไม่ปฏิบัติตามได้ ยกเว้นกรณีภัยธรรมชาติ หรือผู้ประกอบการได้ปรับปรุงแก้ไขด้วยวิธีการอื่นแล้วเท่านั้น [su_spacer size=”20″]

                นอกจากนี้ ญี่ปุ่นยังได้จัดทำมาตรการป้องกันเพิ่มเติมสำหรับการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลที่โอนมาจาก EU โดยหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งรวมถึงการปฏิบัติงานของตำรวจ และหน่วยงานด้านความมั่นคงอื่นๆ โดยจำกัดการเข้าถึงและการใช้ข้อมูลโดยหน่วยงานภาครัฐ ตามความจำเป็นและสมเหตุสมผล (necessary and proportionate) เท่านั้น โดยเจ้าของข้อมูลใน EU สามารถฟ้องร้องหน่วยภาครัฐได้หากพบกรณีละเมิด [su_spacer size=”20″]

                ทั้งนี้ หน่วยงาน European Data Protection Board (EDPB) จะต้องให้ความเห็นต่อร่างข้อมติรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูล (Draft Decision) ก่อน จากนั้นจะต้องขอความเห็นชอบจากประเทศสมาชิก และรายงานต่อไปยังคณะกรรมการด้าน Civil Liberties, Justice and Home Affairs ของสภายุโรป เพื่อให้คณะกรรมาธิการยุโรปเต็มคณะ (College of Commission) ให้การรับรอง โดยคาดว่า กระบวนการการรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลจะเสร็จสิ้นภายในปี 2562

                ประเด็นที่เป็นกรณีศึกษาที่สำคัญสำหรับประเทศไทย [su_spacer size=”20″]

                ข้อมูลส่วนบุคคลเป็นปัจจัยสำคัญในการประกอบธุรกิจในปัจจุบัน ที่เน้นการเชื่อมโยงเข้ากับเศรษฐกิจโลกมากยิ่งขึ้น ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดการละเมิดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคลและก่อให้เกิดความเสียหายได้ ในหลายประเทศจึงมีข้อจำกัดในการโอนข้อมูลส่วนบุคคลออกนอกประเทศที่มีระดับการคุ้มครองข้อมูลแตกต่างกัน โดยในปัจจุบัน ประเทศไทยอยู่ระหว่างการจัดทำ พ.ร.บ. คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อพัฒนานโยบายและกฎระเบียบต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องให้สอดคล้องกับความก้าวหน้าของเทคโนโลยีสารสนเทศ และแนวปฏิบัติที่เป็นสากล [su_spacer size=”20″]

                การรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลระหว่างอียูกับญี่ปุ่นในครั้งนี้ ส่งผลให้มาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลของญี่ปุ่นมีระดับสูงขึ้น การโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยังประเทศที่มีมาตรฐานต่ำกว่าจึงมีข้อจำกัด ซึ่งหลังจากการผนวกรวมข้อปฏิบัติเพิ่มเติม (Supplementary Rules) ข้างต้น ก็น่าจะเรียกได้ว่า ญี่ปุ่นมีระดับมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลสูงที่สุดเลยก็ว่าได้ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า การโอนข้อมูลจากญี่ปุ่น โดยเฉพาะการส่งต่อข้อมูลจาก EU (onward transfer) ไปยังประเทศที่สามจะไม่สามารถทำได้ หากประเทศนั้นไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลที่เพียงพอ ซึ่งในฐานะที่ญี่ปุ่นเป็นทั้งคู่ค้าและนักลงทุนที่สำคัญอันดับต้น ๆ ของไทย การโอนข้อมูลระหว่างหน่วยธุรกิจถือเป็นปัจจัยสำคัญ ประเทศไทยจึงต้องให้ความสำคัญกับการพัฒนามาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลเป็นอย่างมาก [su_spacer size=”20″]

                ทั้งนี้ เป็นที่สังเกตว่า EU มองว่า แนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลข้ามพรมแดนตามกรอบของ APEC (APEC Cross-Border Privacy Rules System) ยังไม่เพียงพอ โดยในร่างข้อมติรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูล (Draft Decision) ที่จัดทำโดยคณะกรรมาธิการยุโรป ได้ระบุเกี่ยวกับแนวทางการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในกรอบ APEC ว่า ไม่ได้เกิดจากความตกลงระหว่างผู้ส่งออกข้อมูล (exporter) และผู้นำเข้าข้อมูล (importer) อีกทั้ง ยังถือว่ามีมาตรฐานการคุ้มครองที่ต่ำกว่ามาตรฐานของญี่ปุ่นและข้อปฏิบัติเพิ่มเติม (Supplementary Rules) [su_spacer size=”20″]

                การยกระดับมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลของไทยให้สอดคล้องกับกฎระเบียบ GDPR อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่องค์กรในภาคธุรกิจที่รวดเร็วและประหยัด โดยเฉพาะในปัจจุบันที่รูปแบบการดำเนินธุรกิจต้องสามารถเชื่อมโยงกันได้ แทนที่ผู้ประกอบการจะต้องเสียเวลาและค่าดำเนินการเพื่อจัดทำกฎข้อบังคับหรือสัญญาที่ให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลภายในองค์กร (Binding Corporate Rules) หรือสัญญามาตรฐาน (Model Contracts) เพื่อโอนข้อมูลไปยังประเทศที่มีระดับการให้ความคุ้มครองแตกต่างกัน เป็นต้น นอกจากนี้ สาระสำคัญของการรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลของญี่ปุ่นยังครอบคลุมแนวปฏิบัติของทั้งหน่วยงานภาครัฐและองค์กรในภาคธุรกิจ ซึ่งแตกต่างจากการรับรองมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลของแคนาดาและสหรัฐฯ ที่ครอบคลุมแนวปฏิบัติเฉพาะองค์กรในภาคธุรกิจเท่านั้น โดยกรณีของสหรัฐฯ ครอบคลุมเฉพาะองค์กรในภาคธุรกิจที่ปฏิบัติตามแนวทางภายใต้กรอบตามความตกลง Privacy Shield เท่านั้น ซึ่งไทยสามารถศึกษาข้อดีและข้อเสียของการจัดทำมาตรฐานการคุ้มครองข้อมูลของไทยให้เทียบเท่าประเทศคู่ค้าเหล่านี้ รวมถึงข้อดีข้อเสียของรูปแบบการรับรองมาตรฐานของแต่ละประเทศ เพื่อสนับสนุนเป้าหมายการเป็นผู้นำเศรษฐกิจดิจิทัลของไทยในอนาคต [su_spacer size=”20″]

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์

Previous Post

จีนเปิดตัวเรือ “New Golden Bridge 7” เดินเรือจากมณฑลซานต่งสู่ท่าเรือเมืองอินชอน

Next Post

สำรวจแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ท้องถิ่น www.iesroad.com อีกหนึ่งโอกาสกระจายสินค้าไทยในนครซีอาน

mackeyrisen

mackeyrisen

Next Post
สำรวจแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ท้องถิ่น www.iesroad.com อีกหนึ่งโอกาสกระจายสินค้าไทยในนครซีอาน

สำรวจแพลตฟอร์มการค้าออนไลน์ท้องถิ่น www.iesroad.com อีกหนึ่งโอกาสกระจายสินค้าไทยในนครซีอาน

Post Views: 1,051

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X