เมื่อวันที่ 12 กันยายน 2561 ที่ประชุมสภายุโรปได้ลงมติรับรองร่างข้อเสนอการแก้ไขกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ในตลาดร่วมดิจิตัลของสหภาพยุโรป ดังนี้
[su_spacer size=”20″]
1) การเพิ่มหน้าที่ของผู้ให้บริการเว็บไซต์ขนาดใหญ่ต่าง ๆ ที่มีผู้ใช้บริการแบ่งปันข้อมูล เช่น Youtube และ Facebook รวมถึงเว็บไซต์ที่มีการรวบรวมข้อมูลเพื่อการค้นหา เช่น Google News และ Google Image Search ให้ต้องแบ่งปันรายได้ให้กับเจ้าของลิขสิทธิ์ นอกเหนือไปจากการให้ความร่วมมือเพื่อการป้องกันการละเมิดลิขสิทธิ์เพียงอย่างเดียว โดยการแสดงแม้เพียงบางส่วนของผลงาน เช่น เนื้อหาสรุปของข่าวก็ถือเป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ [su_spacer size=”20″]
2) การเพิ่มการคุ้มครองเจ้าของผลงาน/ศิลปินซึ่งเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ดั้งเดิม ให้ได้รับค่าตอบแทนทางอ้อม (indirect revenue) จากการใช้ผลงานในสื่อดิจิตัลต่าง ๆ เช่น นักเขียนควรได้รับค่าตอบแทนที่สํานักพิมพ์จะเรียกร้องจากผู้ให้บริการเว็บไซต์ตามนัยข้างต้น นอกเหนือไปจากที่นักเขียนจะได้จากสํานักพิมพ์โดยตรงจากการให้ใช้สิทธิตีพิมพ์ [su_spacer size=”20″]
3) เพิ่มข้อยกเว้นสําหรับผู้ให้บริการขนาดเล็กเพื่อสนับสนุนการพัฒนานวัตกรรม ซึ่งยังรวมไปถึงการ ยกเว้นสําหรับการแบ่งปันข้อมูลผ่านเว็บไซต์บรรณานุกรมต่าง ๆ ที่มิได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ และการแบ่งปันข้อมูลผ่านระบบแลกเปลี่ยนโปรแกรมเปิด (open Source software platforms) [su_spacer size=”20″]
4) เพิ่มการคุ้มครองเสรีภาพในการแสดงออก เช่น สามารถโพสต์ลิงค์พร้อมคําอธิบายที่เป็นคําเดี่ยว (individual Words) ได้โดยไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม คณะกรรมาธิการยุโรปยังคงต้องนําร่างข้อเสนอแก้ไขของสภายุโรปไปพิจารณาปรับแก้ร่างกฏข้อบังคับฯ ก่อนเสนอให้คณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรปให้ความเห็นชอบร่วมกับสภายุโรป ทั้งนี้ หากคณะกรรมาธิการยุโรปและคณะมนตรีฯ ไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอของสภายุโรป ทั้ง 3 สถาบันจะต้องเจรจาร่วมกันเพื่อหาข้อสรุป (trilogue) โดยหลายฝ่ายกังวลว่า ท่าทีที่แข็งกร้าวของสภายุโรปจะส่งผลกระทบต่อการใช้งานอินเตอร์เน็ตในปัจจุบัน โดยเฉพาะกับบริษัทผู้ให้บริการเว็บไซต์ขนาดใหญ่ต่าง ๆ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นของสหรัฐฯ ดังที่สื่อหลายฉบับพาดหัวข่าวในทํานองว่า กฎข้อบังคับดังกล่าวจะนําไปสู่จุดจบของอินเตอร์เน็ต [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ เมื่อเดือนกันยายน 2559 คณะกรรมาธิการยุโรปได้เสนอแก้ไขกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการคุ้มครองลิขสิทธิ์ 2 ฉบับซึ่งมีมาตั้งแต่ปี 2535 และ 2540 เพื่อให้ทันสมัยและสอดคล้องกับสภาวการณ์และเทคโนโลยีในปัจจุบัน ตามนโยบายการส่งเสริมตลาดร่วมดิจิตัลของอียู โดยเน้นการดําเนินการ 3 ด้าน ได้แก่ (1) การปรับปรุงรูปแบบการยกเว้นต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับการใช้สื่อดิจิตัลและการสื่อสารข้ามแดน (2) การเพิ่มประสิทธิภาพระบบการให้สิทธิ (licensing) เพื่อการสื่อสารในวงกว้าง และ (3) การรักษากลไกการทํางานของตลาดเพื่อให้เจ้าของลิขสิทธิ์สามารถได้รับค่าตอบแทนอย่างเหมาะสม [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์