กฎระเบียบ GDPR (General Data Protection Regulation) ได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจทั้ งในและนอก EU เป็นวงกว้าง โดยเฉพาะธุรกิจที่ให้บริ การออนไลน์ เพราะจะต้องปรับเปลี่ ยนนโยบายการปกป้องข้อมูลส่วนบุ คคลอย่างเร่งด่วนเพื่อให้บริ การกับลูกค้าภายใน EU โดยสำนักข่าว Irishtimes รายงานว่า หลังจากที่กฎระเบียบ GDPR มีผลบังคับใช้ไปเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2561 มีรายงานกรณีละเมิดข้อมูลส่วนบุ คคลมากถึง 1,184 กรณี ภายในระยะเวลา 2 เดือน จากเดิมที่มีการรายงานประมาณ 230 กรณีต่อเดือน [su_spacer size=”20″]
สาเหตุหลักที่มีปริมาณการร้ องเรียนสูง เนื่องจากกฎระเบียบ GDPR บังคับให้องค์กรธุรกิจต้องแจ้ งหน่วยงานคุ้มครองข้อมูล (Data Protection Authority) ภายใน 72 ชั่วโมง หลังจากได้รับแจ้งเกี่ยวกับกรณี ข้อมูลส่วนบุคคลสูญหาย ถูกทำลาย หรือมีการละเมิดการใช้ข้อมู ลโดยไม่ได้รับอนุญาต [su_spacer size=”20″]
ปฏิกิริยาในโลกออนไลน์หลังการบั งคับใช้กฎระเบียบ GDPR?
เว็บไซต์สิ่งพิมพ์ออนไลน์ ของสหรัฐฯ หลายรายระงับการให้บริการลูกค้ าใน EU อาทิ เว็บไซต์ Chicago Tribune, Los Angeles Times, New York Daily News, Orlando Sentinel และ Baltimore Sun ได้ระงับการให้บริการหนังสือพิ มพ์ออนไลน์ใน EU เพื่อปรับปรุงระบบการคุ้มครองข้ อมูลส่วนบุคคลของผู้ใช้บริการ ขณะที่เว็บไซต์ USA Today ระงับการใช้ระบบติดตามข้อมูลเพื่ อการโฆษณา (ad-tracking) ผ่านเว็บไซต์ eu.usatoday.com ที่ให้บริการเฉพาะลูกค้าใน EU โดยเฉพาะ [su_spacer size=”20″]
สื่อ Social Media ถูกฟ้องดำเนินคดีกรณีละเมิ ดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล หลังจากที่กฎระเบียบ GDPR มีผลบังคับได้เพียง 1 วัน นาย Max Schrems ทนายประจำองค์กร NOYB และนักรณรงค์ต่อต้านการละเมิดข้ อมูลส่วนบุคคลที่เคยยื่นฟ้อง Facebook ต่อศาลยุติธรรมยุโรปเมื่อปี 2558 จนทำให้ข้อตกลง Safe Harbour เกี่ยวกับการส่งผ่านข้อมูลระหว่ าง EU และสหรัฐฯ ต้องกลายเป็นโมฆะ ได้ยื่นฟ้อง 4 บริษัทยักษ์ใหญ่ ได้แก่ Google ในฝรั่งเศส Instragram ในเบลเยียม WhatsApp ในเยอรมนี และ Facebook ในออสเตรีย โดยระบุว่า ทั้ง 4 บริษัทบังคับให้ผู้ใช้บริการยิ นยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (Forced Consent) เป็นเงื่อนไขเบื้องต้นในการใช้ บริการ ซึ่งตามกฎระเบียบ GDPR ผู้ให้บริการไม่สามารถบังคับผู้ ใช้บริการได้ ต้องให้ผู้ใช้บริการสามารถเลื อกที่จะให้การยินยอมหรือไม่ยิ นยอมให้ใช้ข้อมูลส่วนบุคคล (มาตรา 7(4)) ทั้งนี้ เจ้าหน้าที่คุ้มครองข้อมูล (Data Protection Officers – DPO) ของประเทศไอร์แลนด์ จะทำหน้าที่ตรวจสอบข้อร้องเรี ยนดังกล่าว เพราะทั้ง 4 บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ ในประเทศไอร์แลนด์ [su_spacer size=”20″]
การเก็บและเปิดเผยข้อมูลเจ้ าของเว็บไซต์ในระบบตรวจสอบข้อมู ลเว็บไซต์ หรือ WHOIS มีข้อจำกัดมากขึ้น หลังจากกรณีฟ้องร้องระหว่างองค์ กร ICANN ที่ทำหน้าที่ดูแลระบบตรวจสอบข้ อมูลผู้ถือครองโดเมนเว็บไซต์ หรือระบบ WHOIS และบริษัท EPAG ในเยอรมนี เกี่ยวกับการเก็บข้อมูลติดต่ อเจ้าหน้าที่บริหารและเจ้าหน้ าที่เทคนิค (Administrative and Technical Contact Information) ของผู้ขอจดทะเบียนโดเมนเว็บไซต์ และการเปิดเผยข้อมูลเจ้าของเว็ บไซต์ ซึ่งส่งผลให้องค์กร ICANN ต้องปรับเปลี่ยนนโยบายการเก็บข้ อมูลและเปิดเผยข้อมูลเจ้าของเว็ บไซต์ ได้แก่ [su_spacer size=”20″]
– ไม่สามารถเก็บข้อมูลติดต่อเจ้ าหน้าที่บริหารและหน้าที่เทคนิค (Administrative and Technical Contact Information) ของผู้ขอจดทะเบียนโดเมนเว็บไซต์ ในระบบ WHOIS [su_spacer size=”20″]
– ไม่สามารถเปิดเผยข้อมูลส่วนบุ คคลของผู้ขอจดทะเบียนในรู ปแบบสาธารณะได้ เช่น ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ เป็นต้น การเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ จดทะเบียนจะต้องมีเหตุผลอั นสมควรเท่านั้น (legitimate purpose) เท่านั้น [su_spacer size=”20″]
จากเหตุการณ์ดังกล่าวส่งผลให้มี ข้อกังวลเกี่ยวกั บการตรวจสอบและดำเนินคดีกับเว็ บไซต์ที่ขายของปลอมและของผิ ดกฎหมาย โดยเฉพาะเว็บไซต์ขายสินค้าเลี ยนแบบสินค้าแบรนด์แนม เนื่องจากการฟ้องร้องดำเนินคดี จะต้องระบุชื่อผู้ถูกฟ้องก่อน ซึ่งตามกฎระเบียบ GDPR รายละเอียดดังกล่าวไม่สามารถเปิ ดเผยได้ในรูปแบบสาธารณะ โดยสำนักข่าว Financial Times รายงานบทสัมภาษณ์ของ Louis Vuitton และ Gucci ว่า บริษัทนิยมใช้ระบบ WHOIS ในการตรวจสอบชื่อ และข้อมูลติดต่อของเจ้าของเว็ บไซต์ ดังนั้น การตรวจสอบและฟ้องร้องดำเนินคดี กับเว็บไซต์ในลักษณะดังกล่าวจึ งทำได้ยากขึ้น เนื่องจากจะต้องขออนุญาตทุกครั้ งเพื่อทำการตรวจสอบ [su_spacer size=”20″]
หากต้องโอนข้อมูลลูกค้ามายั งประเทศที่อยู่นอกเขต EU ต้องทำอย่างไร?
กฎระเบียบ GDPR มีขอบเขตครอบคลุมธุรกิจนอกเขต EU ที่ให้บริการการค้าสินค้าหรื อบริการแก่บุคคลที่มีถิ่นพำนั กในเขต EU รวมถึงการประมวลผลข้อมูลของบุ คคลที่มีถิ่นพำนักในเขต EU ซึ่งจะส่งผลกระทบโดยตรงต่อผู้ ประกอบธุรกิจการค้าระหว่ างประเทศ ที่จะต้องโอนข้อมูลส่วนบุ คคลของลูกค้าเพื่อจัดเก็บหรื อประมวลผลในประเทศที่สามซึ่งอยู่ นอกเขต EU [su_spacer size=”20″]
ดังนั้น คำถามต่อมา คือ หากผู้ประกอบการไทยที่ประกอบธุ รกิจออนไลน์ ซึ่งมีความจำเป็นต้องมีการรับ- ส่งข้อมูลลูกค้าที่มีสัญชาติ ของประเทศสมาชิก EU และมีถิ่นพำนักใน EU จะต้องทำอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการละเมิ ดการใช้ข้อมูลส่วนบุคคล [su_spacer size=”20″]
กฎระเบียบ GDPR ไม่อนุญาตให้มีการโอนข้อมูลลู กค้าที่มีสัญชาติของประเทศสมาชิ ก EU และมีถิ่นพำนักใน EU ไปยังประเทศนอกเขต EU หากประเทศนั้นไม่มีการคุ้ มครองข้อมูลส่วนบุคคลที่เพียงพอ (Adequate level of protection) แต่ผู้ประกอบการแต่ ละรายสามารถจัดทำข้อตกลงเพื่ อให้สามารถโอนข้อมูลมายั งประเทศนอกเขต EU เช่น การจัดทำนโยบายหรือกฎเกณฑ์ การให้ความคุ้มครองข้อมูลส่วนบุ คคลภายในองค์กร (Binding Corporate Rules) และการจัดทำสัญญามาตรฐานของอียู (Model Contracts) สำหรับการโอนข้อมูลส่วนบุ คคลระหว่างผู้จัดเก็บข้อมูลส่ วนบุคคล (Data Controller) กับผู้ทำหน้าที่ประมวลผลข้อมู ลส่วนบุคคล (Data Processor) ซึ่งจะต้องได้รับการอนุมัติ จากคณะกรรมาธิการยุโรป [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี EU ได้กำหนดข้อยกเว้นสำหรั บการโอนข้อมูลส่วนบุคคลไปยั งประเทศที่สาม ตามมาตรา 49 ดังต่อไปนี้ [su_spacer size=”20″]
1. เจ้าของข้อมูลยินยอมให้มี การโอนข้อมูลอย่างชัดเจน (explicit consent) โดยเจ้าของข้อมูลต้องได้รับแจ้ งเกี่ยวกับลักษณะของข้อมูล ผู้เก็บข้อมูล จุดประสงค์การโอนข้อมูล ขั้นตอนการยกเลิกการให้ยินยอม และปลายทางที่เก็บข้อมูล ก่อนการการยินยอมให้มีการโอนข้ อมูล เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
2. การโอนข้อมูลเป็นสิ่งจําเป็นต่ อการปฏิบัติตามสัญญาระหว่างเจ้ าของข้อมูลกับผู้ควบคุมข้อมู ลหรือเป็นการดําเนินการก่ อนการจัดทำสัญญา (pre-contractual measures) ตามที่เจ้าของข้อมูลร้องขอ [su_spacer size=”20″]
3. การโอนข้อมูลเป็นสิ่งจําเป็นต่ อการบรรลุข้อตกลงของสัญญาหรื อการปฏิบัติตามสัญญาเพื่ อผลประโยชน์ของเจ้าของข้อมูล ซึ่งได้จัดทําขึ้นระหว่างผู้ ควบคุมข้อมูลและบุคคลภายนอก [su_spacer size=”20″]
4. การโอนข้อมูลเป็นสิ่งจําเป็นต่ อการคุ้มครองผลประโยชน์สําคั ญของเจ้าของข้อมูล [su_spacer size=”20″]
5. การโอนข้อมูลเป็นสิ่งจําเป็ นในทางกฎหมาย [su_spacer size=”20″]
6. การโอนข้อมูลเป็นสิ่งจําเป็นเพื่ อปกป้องผลประโยชน์ของเจ้าของข้ อมูล ในกรณีที่เจ้าของข้อมูลไม่ สามารถให้การยินยอมได้ เนื่องจากเป็นบุคคลไร้ ความสามารถ (physically incapable) หรือบุคคลที่ไม่สามารถทำนิติ กรรมได้ (legally incapable) [su_spacer size=”20″]
7. การโอนข้อมูลเป็นไปตามกฎหมายของ EU หรือประเทศสมาชิก เพื่อให้ข้อมูลแก่สาธารณะชน โดยผู้ประกอบการไทยสามารถอ่ านเพิ่มเติมเกี่ยวกับแนวปฏิบัติ (guidelines) ในการโอนข้อมูลตามกรณียกเว้นข้ างต้นได้ที่ [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการไทยจะต้องให้ ความสำคัญกับกฎระเบียบ GDPR เป็นอย่างมาก เพราะ EU ได้วางโทษปรับมากสูงสุดถึง 20 ล้านยูโร หรือ 4% ของรายได้รวม หากมีการฝ่าฝืน ซึ่งการลงโทษจะทำผ่านบริษัทตั วแทนหรือบริษัทคู่ค้าที่อยู่ใน EU นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าผู้ ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) จะได้รับการยกเว้นจากกฎระเบี ยบนี้ แต่การที่บริษัทไม่มี นโยบายในการรักษาความปลอดภัยข้ อมูลส่วนบุคคลของลูกค้าจะส่ งผลให้บริษัทขาดความน่าเชื่อถื อเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในเวลานี้ที่ทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยเอง ต่างก็ให้ความสำคัญกับการคุ้ มครองข้อมูลส่วนบุคคลมากขึ้น [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์