ในช่วงที่ผ่านมา กระแสขยะพลาสติกปนเปื้อนในทะเล กลายเป็นประเด็นที่ทั่วโลกให้ ความสนใจเป็นอย่างมาก ซึ่งหลายประเทศได้พยายามแก้ไขปั ญหาขยะพลาสติกอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับ EU ที่ให้ความสําคัญกับการแก้ไขปั ญหาขยะพลาสติกเป็นอันดับต้น โดยมุ่งเน้นการลดปริมาณขยะและส่ งเสริมการพัฒนา/ใช้วัสดุทางเลื อกอย่าง “พลาสติกชีวภาพ” ที่กําลังจะกลายเป็นเทรนด์ใหม่ ของโลกต่อไป พลาสติกชีวภาพจึงเป็นนวั ตกรรมจากวัตถุดิบธรรมชาติที่ทั่ วโลกต่างให้ความสนใจเป็นอย่ างมาก โดยเฉพาะใน EU ที่เร่งออกมาตรการส่งเสริมทั้ งการใช้ การผลิต และการวิจัยนวัตกรรมใหม่ ๆ เพื่อตอบโจทย์กระแสการ อนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และยกระดับศักยภาพของอุ ตสาหกรรมในประเทศสมาชิกให้ สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก [su_spacer size=”20″]
พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) คืออะไร[su_spacer size=”20″]
พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) คือ พลาสติกที่ผลิตขึ้นจากวัตถุดิ บธรรมชาติ โดยส่วนใหญ่สามารถผลิตได้จากวั ตถุดิบทางการเกษตร เช่น มันสําปะหลัง ข้าวโพด และอ้อย เป็นต้น พลาสติกชีวภาพนั้น สามารถแบ่งให้ออกเป็น 2 ประเภท คือ 1) ประเภทสลายตัวได้ทางชีวภาพ (compostable) คือ พลาสติกที่ผลิตมาจากวัตถุดิ บจากพืชหรือปิโตรเคมีบางประเภท เช่น PLA, PBS, PHA และแป้ง (starch blend) ซึ่งมีคุณสมบัติสามารถย่ อยสลายได้เองตามธรรมชาติ และ 2) ประเภทสลายตัวไม่ได้ทางชีวภาพ (non-compostable) คือ พลาสติกที่ผลิตจากวัตถุดิบจากพื ช แต่มีคุณสมบัติเหมือนกับพลาสติ กธรรมดาทั่วไป (conventional plastics) ที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ เองตามธรรมชาติ เช่น Bio-PP และ Bio-PE เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี EU ไม่ได้มีข้อกําหนดชัดเจนว่าผลิ ตภัณฑ์พลาสติกที่จําหน่ายใน EU จะต้องเป็นพลาสติกชีวภาพเท่านั้ น แต่มองว่าพลาสติกชีวภาพเป็นหนึ่ งในทางเลือกที่เป็นมิตรต่อสิ่ งแวดล้อม เพราะสามารถช่วยแก้ไขปั ญหาขยะพลาสติกปนเปื้อนในสิ่ งแวดล้อม โดย EU รายงานว่า ปัญหาขยะพลาสติกในทะเลที่มีปริ มาณมากถึง 13 ล้านตันต่อปี หรือประมาณ 4% ของปริมาณพลาสติกทั้งหมดที่มี การผลิต ซึ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้ อมและสุขอนามัยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งปั ญหาเศษพลาสติกที่แตกตัวเป็นชิ้ นเล็ก ๆ หรือ “ไมโครพลาสติก” ซึ่งสุดท้ายปนเปื้อนในสัตว์น้ำ ที่เราบริโภค แต่ด้วยปัจจัยแวดล้อมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นกฎระเบียบภายใน EU เอง และค่านิยมของผู้บริโภคใน EU ที่เน้นบริโภคสินค้าที่เป็นมิ ตรต่อสิ่งแวดล้อม ผ่านการรณรงค์ผ่านสื่อต่าง ๆ ทําให้ปัจจุบันพลาสติกชีวภาพเป็ นทางเลือกอันดับต้นในตลาด EU เลยทีเดียว [su_spacer size=”20″]
พลาสติกชีวภาพ “ที่ย่อยสลายได้” เทรนด์ตลาดพลาสติกใน EU และโอกาสของไทย[su_spacer size=”20″]
ยุทธศาสตร์พลาสติก (Plastic Strategy) ของ EU เน้นชัดเจนว่า พลาสติกชีวภาพที่ EU ต้องการส่งเสริม จะต้องมีคุณสมบัติที่ สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพ (compostable) หรือแตกสลายทางชีวภาพได้ (biodegradable) หรือผลิตจากของเสียต่าง ๆ เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซมีเทน เพื่อป้องกัน ไม่ให้เกิดปัญหาการปนเปื้ อนของขยะพลาสติกในสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะปัญหาไมโครพลาสติก ที่ EU ให้ ความสําคัญเป็นอย่างมาก [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน พลาสติกชีวภาพมักใช้สําหรั บการผลิตบรรจุภัณฑ์เป็นหลัก โดยเฉพาะบรรจุภัณฑ์พลาสติกชนิ ดอ่อนตัว (Flexible Packaging) ที่คิดเป็น 44% ของพลาสติกชีวภาพทั้งหมด โดยเฉพาะในสินค้าออร์แกนิค หรือสินค้าแบบพรีเมียมประเภทอื่ น ๆ ที่มักเลือกใช้วัตถุดิ บจากธรรมชาติเป็นกลยุทธ์ ทางการตลาด [su_spacer size=”20″]
นาย Bednarz จากบริษัท Biotrem ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้ าประเภทภาชนะบนโต๊ะอาหารจากรำข้ าวสาลี (wheat bran) อัดแน่น และช้อน-ส้อมจากพลาสติกชีวภาพ (PLA ผสมกับรำข้าวสาลี) มองว่าการที่ EU ยกเลิก/จำกัด ปริมาณการใช้พลาสติกประเภทใช้ ครั้งเดียว (single-use plastics) เป็นโอกาสที่สําคัญของผู้ ประกอบการพลาสติกชีวภาพ โดยมีความเป็นไปได้ว่า EU จะ “ปิดประตู” สําหรับพลาสติกประเภทใช้ครั้ งเดียวที่ไม่สามารถย่อยสลายได้ ในอนาคต ทั้งนี้ บริษัทฯ คาดว่า พลาสติกชีวภาพจะเข้ามาแทนที่สิ นค้าที่ EU มีมาตรการยกเลิกการใช้เพิ่ มมากยิ่งขึ้น เริ่มตั้งแต่ถุงพลาสติก ที่ EU บังคับให้ประเทศสมาชิกต้องจํากั ดปริมาณการใช้ไม่เกิน 90 ใบต่อคนต่อปีภายในปี 2562 และ 40 ใบต่อคนต่อปี ภายในปี 2568 โดยปัจจุบันบางประเทศอย่างฝรั่ งเศสและอิตาลีได้ยกเลิกการใช้ถุ งพลาสติกแล้ว และส่งเสริมการใช้ถุงพลาสติกชี วภาพที่ย่อยสลายได้แทน นอกจากนี้ ยังมี ก้านพันสําลี ช้อนและส้อมพลาสติก หลอดและที่คนกาแฟ และก้านบอลลูนพลาสติก ที่ล่าสุด EU ได้ออกข้อเสนอมาตรการให้ยกเลิ กการใช้ แต่ปัจจุบันยังอยู่ ในกระบวนการพิจารณาทางกฎหมายอยู่[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ วัตถุดิบจากธรรมชาติที่ จะกลายเป็นเทรนด์ต่อไป คือ วัตถุดิบประเภทที่ปลอดกลูเตน (Gluten-free) เช่น มันสําปะหลังและสาหร่าย สําหรับผู้บริโภคที่แพ้โปรตี นในวัตถุดิบจากข้าวสาลี ซึ่งไทยเองเป็นแหล่งวัตถุดิ บธรรมชาติอย่างมันสําปะหลังอยู่ แล้ว โดยในช่วงฤดูการผลิตปี 2560/61 ไทยมีปริมาณการผลิตมันสําปะหลั งมากถึง 28 ล้านตัน และเป็นประเทศที่ส่งออกมันสํ าปะหลังมากที่สุดในโลกด้วย ดังนั้น พลาสติกชีวภาพจากวัตถุดิ บทางการเกษตร จึงเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสําหรั บผู้ประกอบการไทยในการเพิ่มมู ลค่าสินค้า นอกเหนือจากการผลิ ตเอทานอลและเชื้อเพลิงชีวภาพอื่ น ๆ[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ถึงแม้ว่า สินค้าจากพลาสติกชีวภาพจะยังมี ราคาสูงกว่าพลาสติกทั่วไป ยกตัวอย่าง ราคาจานหนึ่งใน พลาสติกทั่วไปมีราคาประมาณใบละ 0.06 ยูโร ขณะที่พลาสติกชีวภาพมี ราคาประมาณ 0.12 ยูโร [su_spacer size=”20″]
แต่จากผลสํารวจ Eurobarometer ในปี 2560 พบว่า ประชาชนใน EU จํานวนถึง 75% ยอมจ่ายเงินเพิ่มมากขึ้น เพื่อซื้อสินค้าที่เป็นมิตรต่ อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในสวี เดนและมอลตา ที่มีผู้เห็นด้วยกับการใช้สินค้ าที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้ อมมากกว่า 90% จึงไม่น่าแปลกใจว่าสวีเดนเป็ นหนึ่งในตลาดสําคัญสําหรับสินค้ าพลาสติกชีวภาพ ซึ่งนาย Bednarz กล่าวว่า นอกจากสวีเดน ยังมีประเทศในยุโรปอื่น ๆ ที่เป็นตลาดสําคัญสําหรับสินค้ าพลาสติกชีวภาพ ได้แก่ ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร แอรมนี้ นอร์เวย์ และอิตาลี[su_spacer size=”20″]
รุกตลาดยุโรป ต้องได้มาตรฐาน และรักษ์สิ่งแวดล้อม [su_spacer size=”20″]
อย่างที่ทราบกันดีคือ คนยุโรปให้ความสําคัญกั บมาตรฐานสินค้าเป็นอย่างมาก ซึ่งเป็นสินค้าโฆษณาว่า “เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม” ด้วยแล้ว ต้องให้ความใส่ใจเรื่ องมาตรฐานเป็นพิเศษ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับ ผู้บริโภคในยุโรปที่มักพิ จารณาปัจจัยเรื่องสิ่งแวดล้ อมประกอบการตัดสินใจซื้อสินค้า ปัจจุบัน EU มีมาตรฐานสําหรับสินค้าเพลาสติ กชีวภาพ 2 ประเภท คือ 1) มาตรฐาน CEN/TS 16137 ที่ระบุ ปริมาณคาร์บอน (carbon content) และปริมาณวัตถุดิบชีวมวล (biobased mass content) สําหรับ พลาสติกชีวภาพที่ผมิตจากวัตถุดิ บจากธรรมชาติ (Biobased) และ 2) มาตรฐาน EN 13432 (เฉพาะบรรจุภัณฑ์) และ EN 14995 (สินค้าอื่น ๆ นอกเหนือจากบรรจุภัณฑ์) ที่รับรองคุณสมบัติการสลายตั วทางชีวภาพ (compostable) และแตกสลายทางชีวภาพ (biodegradable) นอกจากนี้ ยังมีมาตรฐานอื่น ๆ ที่รับรองโดย องค์กร ISO และหน่วยงาน ASTM ของสหรัฐฯ เป็นต้น [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี มาตรฐานเหล่านี้ ไม่ใช่มาตรฐานบังคับ หมายความว่า ผู้ผลิตสามารถเลือกที่จะปฏิบัติ ตามหรือไม่ก็ได้ (voluntary) แต่การเลือกไม่ปฏิบัติ จะส่งผลให้ไม่สามารถขอติดโลโก้ Seeding หรือโลโก้ OK Compost จากสมาคม European Bioplastics ได้ เนื่องจากสินค้าจะต้องผ่านเกณฑ์ มาตรฐานสากลก่อน ซึ่งอาจส่งผลให้ผู้บริ โภคขาดความมั่นใจในคุณภาพของสิ นค้า เพราะทั้งโลโก้ seeding หรือโลโก้ OK Compost เป็นที่รู้จักกันดีในตลาด EU โดยเฉพาะในกลุ่มผู้บริโภคที่เน้ นความเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม [su_spacer size=”20″]
ประเด็นสําคัญด้านมาตรฐาน 2 ประการที่ต้องจับตามองต่อไป ประการแรก คณะกรรมการยุโรปด้านมาตรฐาน (European Committee for Standardization – CEN) กำลังพิจารณาเกณฑ์ด้านความยั่ งยืน (Sustainability Criteria) สําหรับพลาสติกชีวภาพเพิ่มเติ มนอกเหนือจากการระบุปริมาณคาร์ บอนและปริมาณวัตถุดิบชีวมวล ประการที่สอง EU กําลังเตรียมพิจารณาการติ ดฉลากสําหรับพลาสติกชีวภาพที่ สลายตัวทางชีวภาพ (compostable) แยกออกจากพลาสติกชีวภาพที่ แตกสลายทางชีวภาพ (biodegradable) เพื่อประโยชน์ในการคั ดแยกและบำบัดขยะพลาสติกชี วภาพแต่ละประเภทที่มี กระบวนการย่อยสลายทางชีวภาพต่ างกัน เพราะ EU มองว่า หากกําจัดขยะไม่ถูกวิธีที่จะสร้ างปัญหาสิ่งแวดล้อมได้เหมือนกัน แม้ว่าขยะเหล่านั้นจะผลิ ตมาจากวัตถุดิบจากธรรมชาติก็ตาม[su_spacer size=”20″]
อุปสรรคของผู้ประกอบการไทย และบทเรียนจาก Startup ในยุโรป[su_spacer size=”20″]
อุปสรรคสําคัญสําหรับผู้ ประกอบการไทย คือ ราคาต้นทุนของเม็ดพลาสติกชี วภาพนำเข้ามีราคาสูงกว่าเม็ ดพลาสติกทั่วไปประมาณ 3-5 เท่า ซึ่งส่งผลให้สินค้าจากพลาสติกชี วภาพมีราคาสูงตามไปด้วย จึงเป็นสาเหตุให้ผู้ประกอบการที่ ส่งออก ยังไม่สามารถแข่งขันด้านราคาได้ เมื่อเทียบกับจีนและตุรกีซึ่งมี การผลิตเม็ดพลาสติกชี วภาพในประเทศนอกเหนือจากการนํ าเข้าเพียงอย่างเดียว และด้วยราคาที่สูง ผู้บริโภคในไทยเองก็ยังไม่นิ ยมมากเท่าไหร่นัก ทําให้ตลาดภายในประเทศมีขนาดเล็ ก ไม่สามารถรองรับปริมาณการผลิตจํ านวนมากได้ ซึ่งส่งผลต่อต้นทุนการผลิตต่ อหน่วยตามหลัก economy of scale
ปัจจุบัน ประเทศไทยสามารถผลิตเม็ดพลาสติ กชีวภาพชนิด PBS ได้แล้ว แต่ยังต้องนําเข้าเม็ดพลาสติกชี วภาพชนิด PLA อยู่ ซึ่งถึงแม้ว่า จะมีบริษัทต่างชาติอย่าง Total Corbion ที่กําลังจะเริ่มการผลิตพลาสติ กชีวภาพชนิด PLA ในประเทศไทยในช่วงปลายปี 2561 แต่การผลิตส่วนใหญ่เน้นการผลิ ตเพื่อส่งออกมากกว่าขายในประเทศ เพราะตลาดในประเทศไทยยังมี ขนาดเล็กอยู่ ต้องยอมรับว่า อุปสรรคด้านราคา เป็นปัญหาอันดับต้น ๆ ของผู้ประกอบการ [su_spacer size=”20″]
บทสรุป[su_spacer size=”20″]
อย่างที่ทราบกันดีว่า ประเทศไทยให้มีศักยภาพในการเป็ นศูนย์กลางการผลิตพลาสติกชีวภาพ เพราะเป็นแหล่งวัตถุดิบที่สําคั ญในการผลิต เช่น มันสําปะหลัง อ้อย และข้าวโพด เป็นต้น ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่เน้นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ กับสินค้าและบริการ แทนการพึ่งพาการส่งออกวัตถุดิ บเป็นสําคัญ โดยปัจจุบัน ในประเทศไทยเองเริ่มมีกระแสอนุ รักษ์สิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น หน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้ องและผู้ประกอบการไทยจึงอาจใช้ โอกาสนี้ในการส่งเสริมอุ ตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ โดยถอดบทเรียนของ EU ที่มีการออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการใช้ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมการวิจั ยและพัฒนา เพื่อยกระดับศักยภาพการผลิ ตและความสามารถในการแข่งขั นของผู้ประกอบการไทยในตลาดโลก[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์/คณะผู้ แทนไทยประจำสหภาพยุโรป