ธุรกิจสปาของไทยในปัจจุบันมีมู ลค่ากว่า 3.5 หมื่นล้านบาท โดยมีอัตราการขยายตัวถึง 8% สู งกว่าระดับค่าเฉลี่ยทั่วโลก ติดอันดับTop 5 ในเอเชียรองจากจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ และอินเดีย ซึ่งสอดคล้องกับกระแสการท่องเที่ ยวเพื่อสุขภาพ (Wellness Tourism) ที่มีอัตราเติ บโตมากในช่วง 1-3 ปีที่ผ่านมา โดยมีมูลค่ากว่า 27 ล้านล้านบาท ส่งผลให้ผลิตภัณฑ์สปาไทยขยายตั วไปพร้อม ๆ กัน โดยคาดว่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ สปาจะเติบโต 12%ซึ่งครอบคลุมทั้ งบริการบริหารจัดการสปา ผลิตภัณฑ์สปา และอื่น ๆ[su_spacer size=”20″]
โอกาสจากกระแส “เพื่อสุขภาพ” และการขยายตัวของกลุ่มผู้บริ โภคชนชั้นกลาง
เนื่องจากกระแสผู้บริโภคทั้ งในประเทศและต่างประเทศได้ให้ ความสําคัญกับสุขภาพเพิ่มมากขึ้ น ไม่ว่าจะเป็นเทรนด์อาหารเพื่อสุ ขภาพ เทรนด์การเลือกซื้อสินค้ าและเครื่องใช้ปลอดสารเคมี หรือการที่ผู้บริโภคหาวิธีผ่ อนคลายความเครียดจากงาน อีกทั้งปัจจุบันกลุ่มผู้บริ โภคชนชั้นกลางมีจํานวนเพิ่ มมากขึ้นทั่วโลกทะลุ 3 ล้านล้ านคน ซึ่งหมายถึงผู้บริโภคและนักท่ องเที่ยวมีเงินเหลือเพื่อใช้ สอยในสินค้าฟุ่มเฟือยเพิ่มมากขึ้ น[su_spacer size=”20″]
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้ธุรกิ จสปาและสุขภาพติดโผ 1 ใน 5 อั นดับธุรกิจดาวเด่นจากศูนย์ พยากรณ์ เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลั ยหอการค้าไทย รวมถึงธุรกิจบริการการดูแลสุ ขภาพจากภายในถึงภายนอก เช่น ธุรกิจเสริมความงาม และธุรกิจสปาและนวดไทย เป็นต้น[su_spacer size=”20″]
ในฉบับนี้ ทีมงานthaieurope.net จึงขอนํ าเสนอความคิดสร้างสรรค์ของผลิ ตภัณฑ์สปาจาก ธรรมชาติจากฝรั่งเศส และมุมมองจากหนึ่งในผู้ ประกอบการผลิตภัณฑ์สปาไทยที่ ประสบความสําเร็จในการตีตลาดต่ างประเทศ รวมถึงผู้นําเข้าผลิตภัณฑ์ สปาไทยในเบลเยียมซึ่งเป็นผู้ริ เริ่มการเจาะตลาด e-Commerce ในยุโรป เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ตลอดจนมุ มมองเกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคที่ เป็นประโยชน์แก่ผู้ประกอบการ[su_spacer size=”20″]
“คิดนอกกรอบ” เปลี่ยนขยะให้เป็ นผลิตภัณฑ์สปาจากธรรมชาติ
อย่างที่ทราบกันดี กระแสผู้บริโภคสายธรรมชาติ 100% และผู้บริโภครักษ์โลกในยุโรปนั้ นเป็นมากกว่า กระแสชั่วครั้งคราว เพราะชาวยุโรปได้ปรับเปลี่ยนนิ สัยการบริโภคตั้งแต่การเลิกใช้ ถุงพลาสติก การเลือกซื้อสินค้าปลอดสารพิ ษและสินค้าที่เป็นมิตรต่อสิ่ งแวดล้อม รวมถึงสินค้าที่ใช้ประจําวันก็ เช่นกัน[su_spacer size=”20″]
ยกกรณีบริษัทสัญชาติฝรั่ งเศสจากเมือง Bordeaux เป็นตั วอย่าง บริษัท Caudalie ประสบ ความสําเร็จในการสร้างแบรนด์ ออร์แกนิคที่โด่งดังจากการนํ ากากองุ่น (pomace) ที่เหลือจากการผลิ ตไวน์มา ใช้ในการผลิตเครื่องสํ าอางและผลิตภันฑ์สปา เป็นการUpcycle กากองุ่นที่มี เหลือจํานวนมากจาก อุตสาหกรรมผลิตไวน์ชั้นนํ าของโลก โดยในการผลิตไวน์ 1ขวดจะได้ กากองุ่นถึงครึ่งขวด ดังนั้นในเขต Bordeaux ซึ่งผลิ ตไวน์กว่า 500 ล้านขวดต่อปี จึงมีกากองุ่นเหลือกว่า 250 ล้ านขวด โดยในอดีตกากองุ่น เหล่านี้จะถูกนําไปทําปุ๋ยเท่ านั้น แต่ด้วยนวัตกรรมสมัยใหม่ สามารถนําเมล็ดองุ่นมาสกัดเป็ นน้ำมันซึ่งมีสาร antioxidant สูงจึงมีการนําไปผลิตเป็นเครื่ องสําอาง ผลิตภันฑ์สปา และอาหารอื่น ๆ อีกด้วย ซึ่งเป็นการตอบโจทย์เศรษฐกิจหมุ นเวียนของอียูโดยการใช้ทุกส่ วนขององุ่นให้คุ้มค่า[su_spacer size=”20″]
อย่างไทยที่มีชื่อเสียงเรื่ องการผลิตผ้าไหม ก็ได้เริ่มมีการ Upcycleวัสดุ เหลือทิ้งมูลค่าสูงจากรังไหม แล้ว ซึ่งกาวจากรังไหมหรือเซอร์ริซิน (Sericin) โปรตีนธรรมชาติที่สกั ดได้จากเส้นไหม/รังไหมนี้ ทั้งให้ความชุ่มขึ้น อุดมไปด้วยกรดอะมิโน18 ชนิด ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยลดริ้ วรอยและลดการอักเสบจากสิว ซึ่งเหมาะกับการนํามาพัฒนาต่ อเป็นผลิตภัณฑ์สปาและเครื่องสํ าอางจากธรรมชาติได้ ซึ่งปัจจุบันเริ่มมีผลิตภัณฑ์ที่ มีส่วนผสมของสารเซอร์ริซินมากขึ้ น แต่ถึงสินค้าจะมีสรรพคุ ณจากธรรมชาติมากมาย การจะประสบความสําเร็จได้ยังขึ้ นอยู่กับการสร้างแบรนต์ และการได้รับการรับรองมาตรฐานคุ ณภาพด้วย[su_spacer size=”20″]
ประสบการณ์การสร้างแบรนด์สปาไทย จากก้นครัวสู่ธุรกิจ 500 ล้าน
คุณวุฒิชัย หาญพานิช เจ้าของบริษัท HARNN Global จํากัด ผู้คร่ำหวอดในวงการผลิตภัณฑ์ สปาไทยกว่า 20 ปี จากการลงมือทดลองทําสูตรสบู่ จากน้ำมันรําข้าวซึ่งมีวิตามิ นอีธรรมชาติ โดยเริ่มจากการทดลองในห้องครั วที่บ้าน ปัจจุบันสามารถขยายสาขากว่า121 ร้านใน 17 ประเทศ ซึ่งจุดเด่นของบริษัทคือการสร้ างจุดยืนแบรนด์ที่ชัดเจน กล่าวคือ มีความหรูร่วมสมัยควบคู่ไปกั บกลิ่นอายแบบเอเชีย ซึ่งทําให้มีความต่างจากแบรนด์ ทางยุโรปและอเมริกา โดยถือว่าการทําแบรนดิ้งเป็นหั วใจสําคัญของความสําเร็จก็ว่ าได้[su_spacer size=”20″]
พันธุ์พืชไทย = พระเอกของผลิตภั ณฑ์สปา
คุณวุฒิชัยฯ กล่าวถึงการนําพันธุ์พื ชจากเอเชียที่มีกลิ่นอโรมาและคุ ณสมบัติที่เฉพาะตัว เช่น สารออกฤทธิ์จากธรรมชาติมาใช้ แทนสารเคมีสังเคราะห์ในผลิตภั ณฑ์สปา รวมถึงการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ สะดุดตา จึงทําให้ลูกค้าติดใจในแบรนด์ มากขึ้น[su_spacer size=”20″]
ความท้าทายของผลิตภัณฑ์ สปาไทยในตลาดยุโรป
1) การปฏิบัติตามกฎระเบียบของอียู เนื่องจากผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ สปาไทยต้องปฏิบัติตามกฎระเบี ยบเครื่องสําอางของอียู (Regulation (EC) No 1223/2009 of the European Parliament and of the Council of 30 November 2009 on Cosmetic products) ซึ่งประเทศสมาชิกอียู จะต้องปฏิบัติตามภายใต้ มาตรฐานเดียวกัน เพื่อให้มั่นใจว่าผลิตภัณฑ์เครื่ องสําอางที่วางจําหน่ายในอียู ปลอดภัยต่อผู้บริโภค ซึ่งถือเป็นขั้นตอนที่ซับซ้ อนและใช้เวลาพอสมควร และอาจต้องเสียเงินจ้างที่ปรึ กษาเพื่อยื่นเอกสารอีกด้วย
กฎระเบียบฉบับนี้ ระบุให้ผู้ประกอบการกําหนด “ผู้ รับผิดชอบ”และเพื่อเป็ นการประหยัดเวลา สามารถแจ้งข้อมูลผลิตภัณฑ์ที่ ประสงค์จะวางจําหน่ายในอียูผ่ านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ได้ หลังจากนั้น หน่วยงานที่รับผิดชอบอาจสุ่ มตรวจสอบผลิตภัณฑ์ว่าตรงตามที่ ได้ลงทะเบียนไว้หรือไม่ นอกจากนี้สินค้ายังต้องผ่ านการตรวจสอบวิเคราะห์เกี่ยวกั บความปลอดภัย (Safety assessment) โดยห้องทดลองปฏิบั ติการที่ได้มาตรฐาน และเภสัชกรหรือนายแพทย์ที่ได้รั บการจดทะเบียนรับรอง ตลอดจนยังต้องปฏิบัติ ตามรายละเอียดข้อกําหนดอื่น ๆ เช่น ข้อปฏิบัติในการติดฉลากสินค้า[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ผู้ประกอบการควรเตรียมความพร้อม คอยติดตามอัพเดตรายชื่อสารเคมี ต้องห้ามในเครื่องสําอาง ที่มีกว่า 700 รายการ และศึกษากฎระเบียบใหม่นี้อย่ างถี่ถ้วนเพื่อหลีกเลี่ยงการสู ญเสียโอกาสทางการค้าในอียู[su_spacer size=”20″]
2) มาตรฐานคุณภาพของสินค้าและการสื่ อสาร ปัญหาที่ผู้นําเข้าสินค้ าจากไทยต้องการหลีกเลี่ยง คือ มาตรฐานสินค้าที่ไม่คงที่ บ่อยครั้งสินค้าไม่ได้ มาตรฐานเหมือนกับการสั่งซื้อครั้ งก่อน ๆ และการสื่อสารที่ยังขาดประสิทธิ ภาพ เช่น การระบุเลข SKU ของ สินค้า ขนาดของสินค้า ส่วนประกอบของสินค้า สีของสินค้า เป็นต้น[su_spacer size=”20″]
ซึ่งในประเด็นนี้นายChristophe Van de Vorst ชาวเบลเยี่ยมที่ หลงใหลในศาสตร์การนวดแผนไทย และเป็นผู้บุกเบิกการนําเข้าผลิ ตภัณฑ์สปาไทยPurethai.be โดยเน้ นตลาด e-commerce ในยุโรป มองว่า “หากผู้ประกอบการไทยจั ดทําแคตตาล็อกในการนําเสนอสินค้ าโดยมีรายละเอียดสินค้าต่าง ๆ จะเป็นการเพิ่มโอกาสในการส่ งออกมากขึ้น โดยเฉพาะผู้ประกอบการท้องถิ่ นขนาดกลางและเล็กที่ยังไม่ได้ ลงทุนกับการนําเสนอสินค้าให้แก่ ลูกค้าต่างชาติ”[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ การสื่อสารต่างภาษาก็เป็นอีกกํ าแพงในการเจรจาธุรกิจ เพราะยุโรปให้ความสําคัญกับ หลักการ transparency & traceability คือ ผู้บริโภคมีสิทธิที่จะทราบว่าสิ นค้ามีส่วนผสมอะไรบ้าง จากไหน อย่างไร ซึ่งผู้ประกอบการไทยยังไม่ สามารถสื่อสารตรงนี้ให้กับทางผู้ นําเข้าได้ โดยเฉพาะสินค้าที่มีการใช้ ส่วนผสมท้องถิ่นที่ชาวต่างซาติ อาจไม่คุ้นชิน[su_spacer size=”20″]
3) ตลาดผู้บริโภคยุโรปมีกําลังซื้อ (แต่ก็ใช้จ่ายยาก) เศรษฐกิจอียูยังแข็ งแรงและขยายตัวต่อเนื่องและแข็ งแกร่ง นอกจากนี้ธุรกิจบริการสุ ขภาพในยุโรปยังขยายตัวต่อเนื่ องจากปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะการก้าวเข้าสู่สังคมผู้ สูงอายุ (aging society) ที่ทําให้ผู้บริโภคใส่ ใจกับสุขภาพมากขึ้น แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าผู้ บริโภคอียูจะใช้จ่ายกับสินค้าฟุ่ มเฟือยมากขึ้น เช่น ตลาด สินค้าสปาในเยอรมนีมีคู่แข่งเป็ นเครือร้านขายยาอย่าง DM และRossman ที่จําหน่ายสินค้ าสปาประเภทใช้เองที่บ้านหรือ Home Spaในราคาถูก ซึ่งสอดคล้องกับนิสัยการจับจ่ ายของชาวเยอรมันที่ไม่ติดแบรนด์ แต่เน้น “gut und günstig”หรือถูกและดี จึงทําให้การเข้าถึงตลาดยังเป็ นเรื่องท้าทาย ดังนั้น ผู้ประกอบการที่สนใจ ควรศึกษาลักษณะของตลาดในแต่ ละประเทศก่อนการตัดสินใจลงทุน โดยทางทีมงานฯ จะขอนําเสนอโอกาสของธุรกิจใหม่ ๆ ในยุโรปในฉบับต่อ ๆ ไป[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์