“อียูจําเป็นต้องพัฒนามาตรฐานความปลอดภัยและคุณภาพของสินค้าพลาสติกให้ได้มาตรฐานสูงสุด เพราะสุดท้ายแล้วผลประโยชน์จะตกอยู่กับผู้ที่มีมาตรฐานสูงที่สุด ส่วนหนึ่งของบทสรุปการเสวนา “Plastics Strategy: Challenges and opportunities for Recycling” รายงานโดยสํานักข่าว Euractiv ซึ่งทีมงาน Thaieurope.net ได้เข้าร่วมเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 ณ กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ยิ่งตอกย้ำ ความตั้งใจของอียูในการเป็นผู้นําด้านมาตรฐานสิ่งแวดล้อม[su_spacer size=”20″]
เรื่องของพลาสติกกับสิ่งแวดล้อม น่าจะเป็นเรื่องที่จะยิ่งได้รับการสนใจเรื่อย ๆ หลังจากที่จีนได้ประกาศยกเลิกการนําเข้าขยะพลาสติกที่มีความปนเปื้อนสูงตั้งแต่เมื่อเดือนมกราคม 2561 ถือเป็น “จุดเปลี่ยนสําคัญ” ที่ทําให้ทั้งภาครัฐและภาคเอกชนของอียูยิ่งตระหนักถึงปัญหาขยะพลาสติกเพิ่มมากขึ้น เพราะนั่นหมายความว่า อียูจะต้องหาวิธีจัดการกับขยะพลาสติกให้ได้ตามมาตรฐาน หรืออาจจะต้องหาตลาดใหม่เพื่อรองรับขยะพลาสติก ที่ปัจจุบันอียูส่งออกไปจีนถึง 1.6 ล้านตันต่อปี[su_spacer size=”20″]
ด้วยเหตุนี้ การหามาตรการป้องกันการเกิดขยะพลาสติก พร้อมทั้งการแสวงหาวัตถุดิบทางเลือกแทน การผลิตพลาสติกใหม่ (virgin plastics) จึงกลายเป็น 2 มาตรการหลักที่อียูให้ความสําคัญเป็นอย่างยิ่ง เพื่อลด ปริมาณขยะพลาสติกภายในอียู และเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันของอุตสาหกรรมพลาสติก ภายใต้ ยุทธศาสตร์พลาสติกฉบับใหม่ (European Strategy for Plastics in a Circular Economy) ที่อียูเพิ่ง ประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561[su_spacer size=”20″]
ยุทธศาสตร์พลาสติกในยุคอุตสาหกรรม 4.0 : เน้นลดขยะ สร้างนวัตกรรมหาวัตถุดิบทดแทน
ตั้งแต่ปี 2558 อียูได้ผลักดันแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งหมายถึงการเน้นการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าควบคู่ไปกับการรักษาสิ่งแวดล้อม โดยเริ่มตั้งแต่การผลิต การบริโภค และการกําจัดของเสียหลังจากสินค้าหมดอายุการใช้งานมาอย่างต่อเนื่อง จึงไม่น่าแปลกใจว่า ยุทธศาสตร์พลาสติกฉบับใหม่นี้ก็ใช้หลักการเดียวกันในการกําหนดทิศทางอุตสาหกรรมพลาสติกที่มีความสําคัญต่อเศรษฐกิจของอียูมาก เป็นลําดับที่ 7 โดยมีมูลค่ามากถึง 3.5 แสนล้านยูโรในปี 2559[su_spacer size=”20″]
อียูจึงตั้งเป้าประสงค์หลักในการลดปริมาณขยะพลาสติกควบคู่ไปกับการผลักดันการพัฒนานวัตกรรม ใหม่ ๆ ไม่ว่าจะเป็นการหาวัตถุดิบทางเลือกอื่นๆ หรือการใช้พลาสติกรีไซเคิลในการผลิตสินค้าเพิ่มมากขึ้น[su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ เพราะอียูกําลังตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติกภายในอียู ที่มีปริมาณมากถึง 25.8 ล้านตันต่อปี ซึ่งส่วนมากเป็นพลาสติกประเภทใช้ครั้งเดียว (single-use plastics) ที่นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เช่น ถุงพลาสติก จานและแก้วพลาสติก ช้อน-ส้อมพลาสติก และหลอดเครื่องดื่ม เป็นต้น โดยพลาสติกเหล่านี้ส่วนใหญ่ผลิตจากปิโตรเลียมและมักกลายเป็นขยะในทะเล (Marine Litter) บางส่วนอาจแตกสลายเป็นเศษพลาสติกชิ้นเล็กๆ (เล็กกว่า 5 มิลลิเมตร) หรือไมโครพลาสติก (Microplastics) ซึ่งจะปนเปื้อนอยู่ในน้ำและอากาศ และส่งผลกระทบต่อสุขภาพหากเข้าสู่ร่างกาย[su_spacer size=”20″]
และการที่จีนประกาศห้ามนําเข้าขยะพลาสติก (พิกัด 3915) ที่มีค่าความปนเปื้อนมากกว่า 0.5% ซึ่ง หลายฝ่ายมองว่า เป็นการปรับระดับที่หลายประเทศ รวมถึงอียู ไม่น่าจะทําตามข้อกําหนดได้ และอาจต้องหาตลาดใหม่รองรับขยะเหล่านี้ ซึ่งหมายความว่า บริษัทที่นําเข้าสินค้าจากจีนต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายในการขนส่งเพิ่มมากขึ้นจากเดิม เพราะบริษัทขนส่งมักจะยอมลดราคาเพื่อขนขยะเหล่านี้เป็นสินค้าเที่ยวกลับ แทนที่จะขนคอนเทนเนอร์เปล่ากลับหลังจากส่งสินค้าออกจากจีนไปยังยุโรป[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี เพื่อตอบสนองความต้องการใช้พลาสติกภายในอียูที่มากถึง 49 ล้านตันต่อปี โดยเฉพาะ พลาสติกประเภทบรรจุภัณฑ์ที่มีความต้องการมากที่สุดถึงกว่า 40% อียูจึงต้องผลักดันนวัตกรรมที่ใช้วัตถุดิบ ทางเลือกมากขึ้น เช่น พลาสติกชีวภาพ (Bioplastics) หรือพลาสติกรีไซเคิล (recycled plastics) ที่ปัจจุบันถูกนํามาใช้ในการผลิตถุงและขวดพลาสติกเพิ่มขึ้นด้วย[su_spacer size=”20″]
ผู้ประกอบการไทยจับตามาตรการสิ่งแวดล้อมสําหรับพลาสติกส่งออก[su_spacer size=”20″]
จะเห็นได้ว่า ยุทธศาสตร์พลาสติกของอียูฉบับนี้ให้ความสําคัญกับปัญหาขยะจากบรรจุภัณฑ์พลาสติกเป็นอันดับแรก โดยมีหลักการสําคัญคือ การลดการใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียว (singleuse packaging) การส่งเสริมให้ใช้บรรจุภัณฑ์จากพลาสติกที่สามารถนํากลับมาใช้ใหม่หรือสามารถรีไซเคิลได้ง่าย[su_spacer size=”20″]
สําหรับประเทศไทย สถิติจากสํานักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรมระบุว่า บรรจุภัณฑ์จากพลาสติก เช่น กล่องหรือหีบ กระสอบและถุง (พิกัด 3923) เป็นประเภทสินค้าพลาสติกที่ไทยส่งออกไปยังอียูมากที่สุด โดยในปี 2560 มีมูลค่าการส่งออกสูงถึง 3.4 พันล้านบาท ดังนั้น ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมดังกล่าวจึงต้องให้ความสําคัญกับคุณภาพสินค้ามากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะคุณสมบัติของสินค้าที่ต้องสามารถนํากลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ หรืออาจเลือกใช้พลาสติกชีวภาพในการผลิตพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวมากขึ้น ทั้งนี้ เพราะอียูมีท่าทีอย่างชัดเจนว่า อียูเลือกที่จะ “ปิดประตู” สําหรับพลาสติกคุณภาพต่ำและไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม[su_spacer size=”20″]
ปัจจุบัน อียูมีกฎหมายเฉพาะสําหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติก คือ ข้อบังคับเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์และของเสียที่เกิดจากบรรจุภัณฑ์ฉบับใหม่ (Directive (EU) 2015/720 on Packaging and Packaging Waste) ซึ่งมีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 26 พฤษภาคม 2558[su_spacer size=”20″]
ข้อบังคับฉบับใหม่นี้มีประเด็นสําคัญ คือ การบังคับให้ประเทศสมาชิกต้องมีมาตรการคิดเงินค่า ถุงพลาสติก ณ จุดขาย สําหรับถุงพลาสติกที่มีความหนาน้อยกว่า 50 ไมครอน (หรือ 0.05 มิลลิเมตร) หรือที่คนไทยคุ้นเคยกันดีในชื่อ“ถุงก๊อบแก๊บ” ภายในปี 2561 และต้องจํากัดปริมาณการใช้ถุงพลาสติกประเภทดังกล่าว ไม่เกิน 90 ใบต่อคนต่อปี ภายในปี 2562 และ 40 ใบต่อคนต่อปี ภายในปี 2568[su_spacer size=”20″]
ซึ่งข้อบังคับดังกล่าวทําให้หลายประเทศในอียูได้ทยอยประกาศยกเลิกการใช้ถุงและบรรจุภัณฑ์ พลาสติกบางประเภทแล้ว เช่น ฝรั่งเศสประกาศยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกตั้งแต่เดือนกรกฎาคม 2559 และบรรจุภัณฑ์พลาสติกสําหรับผักและผลไม้ตั้งแต่เดือนมกราคม 2560 ส่วนกรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ได้ประกาศยกเลิกการใช้ถุงพลาสติกตั้งแต่เดือนกันยายน 2560 ในขณะที่ร้านซุปเปอร์มาร์เก็ตข้ามชาติขนาดใหญ่ของยุโรป อย่างห้าง Aldi ก็ได้ประกาศเลิกใช้ถุงพลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวตั้งแต่ปี 2560 และหันมาใช้ถุงกระดาษและถุงพลาสติกรีไซเคิลแทน เป็นต้น[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี อียูยังมีแผนที่จะออกมาตรการเพิ่มเติมภายในเดือนพฤษภาคม 2561 เพื่อจํากัดการใช้ พลาสติกแบบใช้ครั้งเดียวประเภทอื่น ๆ อีก เช่น ก้นกรองบุหรี่ ขวดและฝาขวดน้ำดื่ม ก้านไม้พันสําลี ผ้าอนามัย ถุง/กระเป๋า บรรจุภัณฑ์ห่อขนมขบเคี้ยว หลอดและที่คนกาแฟ บอลลูนและก้านพลาสติกบอลลูน ผลิตภัณฑ์ บรรจุอาหาร ถ้วยพลาสติกและฝาถ้วย รวมถึงช้อนและส้อมพลาสติก รวมทั้งจะพิจารณาแก้ไขระเบียบเรื่อง Ecodesign เพื่อเพิ่มเงื่อนไขให้สินค้าที่มีส่วนประกอบของพลาสติกต้องสามารถรีไซเคิลได้ โดยเฉพาะอุปกรณ์ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ โดยผู้ประกอบการสามารถติดตามความเคลื่อนไหวเรื่องนี้ได้ทางเว็บไซต์ thaieurope.net [su_spacer size=”20″]
ในเมื่อยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างจีนและอียูต่างก็ตระหนักถึงผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกและมีนโยบายลดการใช้พลาสติกออกมาอย่างต่อเนื่อง อาจถึงเวลาที่อุตสาหกรรมพลาสติกของไทยจึงต้องเร่งปรับตัวให้สอดคล้องกับแนวโน้มการบริโภคที่ต้องเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยสินค้าและบรรจุภัณฑ์ต้องมีคุณสมบัติที่สามารถนํากลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลได้ หรือเลือกใช้วัตถุดิบทางเลือกจากธรรมชาติอย่างพลาสติกชีวภาพมากยิ่งขึ้น โดยคอลัมน์ EU Watch ฉบับหน้าจะมาคุยกันต่อเกี่ยวกับทิศทางพลาสติกชีวภาพในตลาดอียูและโอกาสสําหรับอุตสาหกรรมพลาสติกไทย[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์