สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์ เผยผลกระทบทางเศรษฐกิจจากโควิด-19 ที่มีต่อประเทศเบลเยียม ลักเซมเบิร์ก และอียู รวมทั้งมาตรการการสนับสนุนและฟื้นฟูเศรษฐกิจ ธุรกิจ และประชาชน ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของ COVID-19
ที่ยิ่งส่งผลรุนแรงต่อระบบเศรษฐกิจโลกขึ้นทุกวัน ไม่ว่าจะเป็น การนำเข้า-ส่งออก อุปโภค-บริโภค รายได้ และแรงงาน ดังนี้
ประเทศ |
สถานการณ์การแพร่ระบาด | ผลกระทบทางเศรษฐกิจภายในอียู |
ผลกระทบต่อความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับไทย |
เบลเยียม | ผู้ติดเชื้อสะสม 3,843 คน
ผู้เสียชีวิตสะสม 88 คน (สถานะวันที่ 23 มี. ค. 63) |
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ – คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจเบลเยียมจะเติบโตติดลบที่ร้อยละ 0.5 และมีขาดดุลงบประมาณประมาณร้อยละ 3.2 ของจีดีพี รวมทั้งคาดว่าอาจจะมีคนเบลเยี่ยมตกงานชั่วคราวถึงประมาณ 1 ล้านคนและรัฐบาลจะมีภาระด้านเงินช่วยเหลือที่ต้องจ่ายให้บุคคลเหล่านี้ถึงเดือนละประมาณ 600 ล้านยูโร มาตรการสนับสนุนทางการเงิน / กระตุ้นเศรษฐกิจ -รัฐบาลเบลเยียมมีแผนใช้งบประมาณ 25 พันล้านยูโรเพื่อรักษากำลังซื้อ และช่วยคนที่ไม่มีนายจ้างและช่วยผู้ประกอบการ/ธุรกิจที่ได้รับผลกระทบ ทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาได้ออกมาตรการที่เกี่ยวข้องแล้วดังนี้ (1) ให้นายจ้างสามารถใช้มาตรการว่างงานชั่วคราวด้วยเหตุสุดวิสัย โดยลูกจ้างจะได้รับสวัสดิการจากรัฐบาลด้วยเหตุดังกล่าวเป็นเวลา 3 เดือน จนถึง 90 มิถุนายน2563 โดยเพิ่มสวัสดิการสำหรับการว่างงานชั่วคราวร้อยละ 65- 70 เป็นเวลา 3 เดือน (2) หากพิสูจน์ว่าไม่สามารถจ่าย VAT หรือไม่สามารถหักภาษี ณ ที่จ่ายหรือไม่สามรถชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหรือภาษีเงินได้นิติบุคคลเพราะผลกระทบจาก COMID-19 ก็อาจสามารถเลื่อนกำหนดการชำระภาษีหรือได้รับการยกเว้นค่าปรับ (3) ลดฐานคำณวนภาษีสำหรับกลุ่ม self-employed หากมีรายรับไม่เพียงพอและเลื่อนหรืองดเว้นการชำระภาษีประกันสังคมสำหรับคนกลุ่มนี้ออกไปหนึ่งปี (4) ไม่ปรับหรียงโทษผู้ให้บริการตามสัญญาจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐหากไม่สามารถดำเนินงานได้ตามสัญญา (5) รัฐบาลภูมิภาคแฟลนเดอร์สซึ่งเป็นเขตที่มีการระบาดมากที่สุดเตรียมงบประมาณ 100 ล้านยูโรสำหรับช่วยผู้ประกอบการและประกาศเลื่อนการชำระภาษีโรงเรียนสำหรับผู้ประกอบการประกาศชดเชยค่าเสียหายจำนวน 2 พันยูโรแก่ผู้ประกอบการร้านอาหารที่ปิดกิจการช่วงสุดสัปดาห์และชดเชย 4 พันยูโรสำหรับร้านอาหารที่ปิดทั้งสัปดาห์หากร้านอาหารใตที่ปิตนานเกิน 21 วันก็จะได้รับเงินชดเชยเพิ่มอีกวันละ 160 ยูโร |
ในชั้นนี้ยังไม่มีข้อสรุปถึงผลกระทบที่ชัดเจนต่อการน้ำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับเบลเยี่ยม อย่างไรก็ดีสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงเฮกประเมินว่า สินค้าประเภทอาหารไม่น่าจะได้รับผลกระทบทางลบหากผู้ส่งออกของไทยไม่หยุดดำเนินกิจการหรือรัฐบาลจำกัดปริมาณส่งออกเพื่อบริโภคในประเทศ แต่สินค้าที่จะได้รับผลกระทบมากคือสินค้าที่มี supply chain เกี่ยวข้องกับจีนและในกรณีที่เบลเยียมลดกำลังผลิตจากการลดเวลาทำงานเช่นรถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วนคอมพิวเตอร์ เครื่องใช้ไฟฟ้าและเครื่องจักร |
ลักเซมเบิร์ก | ผู้ติดเชื้อสะสม 798 คน
ผู้เสียชีวิตสะสม 8 คน (สถานะวันที่ 22 มี. ค. 63) |
ผลกระทบทางเศรษฐกิจ รัฐบาลลักเซมเบิร์กคาดว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) ในปีนี้จะลดลงเหลือร้อยละ 6 (จากเดิมที่คาดการณ์ไว้ร้อยละ 3) มาตรการสนับสนุนทางการเงิน / กระตุ้นเศรษฐกิจ -รัฐบาลลักเซมเบิร์กกำลังระดมเงินช่วยเหลือภาคธุรกิจและประชาชนที่ได้รับผลกระทบทั้งนี้ในช่วงที่ผ่านมาได้ออกมาตรการช่วยเหลือที่เกี่ยวข้องแล้วดังนี้ (1) ออกกฎหมายให้ความช่วยเหลือทางการเงินโดยเฉพาะแก่ผู้ประกอบการ SMEs เพราะเห็นว่า SMEs จะประสบปัญหาสภาพคล่องทางการเงินได้ง่ายกว่าผู้ประกอบการรายใหญ่โดยมีเงื่อนไขกายได้สถานการณ์ชั่วคราวที่ทำให้สูญเสียรายรับโดยกฎหมายดังกล่าวสนับสนุนมาตรการสวัสดิการสังคมที่มีอยู่แล้วเช่นการว่างงานชั่วคราวการหลีกเลี่ยงการปลดพนักงานโดยกองทุนการจ้างงานอาจจ่ายเงินชดเชยให้ลูกจ้างได้ถึงร้อยละ 80 ของเงินเดือน (2) รัฐบาลลักเซมเบิร์กประกาศว่าหากมีความจำเป็นอาจพิจารณาออกกฎหมายให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประกอบการรายใหญ่ในลักษณะเดียวกับของกลุ่ม SMEs ต่อไป (3) รัฐบาลลักเซมเบิร์กพร้อมที่จะให้เงินกู้แก่บริษัทต่าง ๆ ที่ได้รับผลกระทบในวงเงินสูงสุด 500, 000 ยูโรโดยขอให้บริษัทเหล่านี้เริ่มชดใช้เงินคืนให้แก่รัฐบาลภายหลัง 12 เดือนนับจากวันที่ได้รับเงินกู้จากรัฐบาล |
ในชั้นนี้ยังไม่มีข้อสรุปถึงผลกระทบที่ชัดเจนต่อการน้ำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างไทยกับลักเซมเบิร์กอย่างไรก็ดีสำนักงานพาณิชย์ ณ กรุงเฮก ประเมินว่าไม่น่าจะมีผลกระทบมาก เพราะไทยมีการค้ากับลักเซมเบิร์กน้อยมาก เพราะซื้อผ่านเบลเยี่ยมและเนเธอร์แลนด์เป็นหลัก |
อียู | ไม่ได้มีการเผยแพร่สถิติในระดับอียู |
ผลกระทบทางเศรษกิจ คมธ. ยุโรปรายงานว่าวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 อาจทำให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของอียูในปี 2563 ต่ำกว่าร้อยละ 0 หรืออาจติดลบอย่างมีนัยสำคัญ มาตรการสนับสนุนทางการเงิน / กระตุ้นเศรษฐกิจ -คณะกรรมาธิการยุโรป ประกาศเสนอมาตรการทางศก. สังคมเช่นช่วยเหลือ SME ผ่าน European Investment Fund เป็นเงิน 1 พันล้านยูโรมาตรการรองรับวิกฤติโควิต-19 (Corona Response Investment Initiative) เป็นเงิน 37 พันล้านยูโรเงินจากกองทุน Structural Funds จำนวน 28 พันล้านยูโรเงินจากกองทุน EU Solidarity Fund จำนวน 800 ล้านยูโรและเงินจากกองทุน European Globalisation Adjustment Fund เพื่อช่วยเหลือคนตกงานจํานวน 179 ล้านยูโรชะลอการชำระหนี้ให้กับบริษัทและผ่อนปรนเพื่อให้รบ. ช่วยเหลือธนาคารให้เข้าถึงเครดิต -ที่ประชุมรัฐมนตรีคลังของยูโรโซน (Eurpgroup) ประกาศว่าจะดำเนินการทุกอย่างที่จำเป็นเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดและดูแลผลกระทบจากโควิด-19 ตั้งแต่การใช้มาตรการทางการคลังไปจนถึงการสนับสนุนการพัฒนาวัดขึ้นโดย (1) ตกลงที่จะออกมาตรการทางการคลังมูลค่าประมาณ 1% ของ GDP (2) อัดฉีดสภาพคล่องอย่างน้อย 10% ของ GDP เพื่อพยุงเศรษฐกิจผ่านการให้เงินกู้ยืมและชะลอการเก็บภาษีเป็นต้น (3) เห็นขอบการใช้ General Escape Clause เพื่อผ่อนผันกฏวินัยการเงินการคลังของอียูและกฎเงินช่วยเหลือของรัฐ (state ad) ให้ยึดหยุ่นที่สุดเพื่ออนุญาตให้ประเทศสมาชิกอียูสามารถใช้งปม. ในการช่วยฟื้นฟูศก. และรักษาสภาพคล่องได้เต็มที่ -ธนาคารกลางยุโรปประกาศอัดฉีดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจจำนวน 7. 5 แสนล้านยูโรภายใต้โครงการ“ Pandemic Emergency Purchase Programme” เพื่อเข้าซื้อหลักทรัพย์ต่าง ๆ (publik nd private securities) ด้วยกฎระเบียบที่ยืดหยุ่น อนึ่งสามารถสืบค้นข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์คณะกรรมาธิการยุโรป http: / / bit. ly / 2scha) |
|