ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหลายประเทศในยุโรป ได้เริ่มการผ่อนคลายมาตรการปิดเมืองไปบ้างแล้ว ภายหลังจากที่ประเทศที่มีการติดเชื้อโควิด-19 สูง เช่น อิตาลี สเปน ฝรั่งเศส และเยอรมนี เริ่มควบคุมสถานการณ์ได้และมีตัวเลขผู้ป่วยรายใหม่ลดลง ประกอบกับความกังวลเรื่องผลกระทบทางเศรษฐกิจที่เข้าสู่ภาวะถดถอย โดยประเด็นสําคัญที่เป็นที่ถกเถียงกันในบรรดาเหล่าผู้นําและนักวิชาการต่าง ๆ คือ จะทําการเปิดเมืองอย่างไรให้เศรษฐกิจเริ่มกลับมาเดินเครื่องใหม่อีกครั้งโดยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดไปพร้อมกันด้วย
[su_spacer]
สหภาพยุโรป (อียู) ได้ออก Roadmap to lifting Coronavirus Containment measures เพื่อเป็นแนวทาง สําหรับการออกจากมาตรการปิดเมือง (exit strategy) โดยให้เป็นไปอย่างค่อยเป็นค่อยไป คํานึงถึงตัวชี้วัดที่ สําคัญทางสาธารณสุข และความสามารถด้านสาธารณสุขและการแพทย์ของแต่ละประเทศในการควบคุมโรค ซึ่งการดําเนินการดังกล่าวจะสําเร็จได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากประเทศสมาชิกทุกประเทศในการ ประสานกันอย่างใกล้ชิด มิเช่นนั้น อาจทําให้เกิดผลในเชิงลบของการแก้ไขปัญหาในภาพรวม ดังเช่นในคราวที่ไวรัสเริ่มระบาดและประเทศสมาชิกต่างออกมาตรการโดยไม่มีการประสานในระดับอียู
[su_spacer]
มาตรการ exit strategy ของอียูถือได้ว่ามีความสอดคล้องกับข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกหรือ WHO ที่เน้นให้ลดความเข้มข้นของมาตรการทีละขั้น ทิ้งระยะห่าง 2 สัปดาห์ และให้การรักษาระยะห่างเป็น “ความปกติรูปแบบใหม่” และควรป้องกันการแพร่เชื้อต่อประเทศที่สามและจากประเทศที่สาม โดยเริ่มจากเปิดชายแดนในอียูกันเองก่อนเปิดให้ประเทศที่สาม และการเปิดพรมแดนภายในระหว่างกันจะต้องมีการประสานกันอย่างใกล้ชิด ส่วนการเปิดพรมแดนภายนอกอียูนั้นจะเป็นมาตรการในขั้นต่อไป โดยต้องคํานึงว่า สถานการณ์ระบาดนอกอียูจะไม่นําเชื้อกลับเข้ามาในภูมิภาคยุโรปอีก โดยอียูจะทําหน้าที่รวบรวมและประสานข้อมูลของการทยอยผ่อนคลายมาตรการของแต่ละประเทศสมาชิกเพื่อให้เกิดความสอดคล้องกลมเกลียวกันในอียูให้มากที่สุด
[su_spacer]
สําหรับกิจกรรมทางเศรษฐกิจของประเทศสมาชิกสามารถเริ่มได้ แต่ต้องคํานึงถึงความปลอดภัยควบคู่กันไปด้วย โดยให้ความสําคัญกับการรักษาระยะห่างทางสังคม และการตรวจโรคและวัดไข้เพื่อคัดกรองและแยกตัวผู้ป่วยไปทําการรักษา รวมถึงการสวมหน้ากากตามความเหมาะสม และการใช้แอปพลิเคชันโทรศัพท์มือถือ ติดตาม-แจ้งเตือนผู้ใกล้ชิดผู้ป่วยโควิด-19 ภายใต้ Guidance on Tracing Apps ซึ่งยึดตามกฎหมายคุ้มครอง ข้อมูลส่วนบุคคลของอียูเพื่อช่วยชะลอการแพร่ระบาด ส่วนการผลิตวัคซีน ยุโรปได้เริ่มในขั้นตอนการวิจัยทาง คลินิก (clinical trials) แล้ว และอาจต้องใช้เวลาอีกระยะ หรือเป็นปีกว่าจะมีวัคซีนใช้ในจํานวนที่เพียงพอ โดยขณะนี้อียูมีโครงการระดมทุนออนไลน์ “Coronavirus Global Response Pledging Marathon” เพื่อ สนับสนุนการผลิตและแจกจ่ายวัคซีน ยารักษาโรค และชุดตรวจเชื้อโควิด-19 โดยตั้งเป้าหมายเบื้องต้นที่ 7.5 พันล้านยูโร
[su_spacer]
นอกจากโรดแมปดังกล่าวข้างต้นแล้ว อียูยังได้ออกข้อแนะนําอีกหลายอย่างเพื่อให้ประเทศสมาชิกนําไปปฏิบัติ อาทิ การออก Guidelines on Coronavirus Testing Methodologies เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพของการ ตรวจไวรัส ซึ่งเป็นปัจจัยสําคัญของการออกจากมาตรการควบคุม Guidance for manufacturers on production of essential medical equipment เพื่อให้บริษัทที่ผลิตอุปกรณ์ป้องกันผลิตได้ตามมาตรฐาน ของอียู Guidance on EU mobile workers เพื่อให้ผู้ที่เดินทางข้ามแดนเพื่อไปทํางานโดยเฉพาะบุคลากรทางการแพทย์สามารถเดินทางข้ามแดนได้สะดวก
[su_spacer]
ล่าสุดอียูได้ออก Guidance for a safe return to the workplace ซึ่งเป็นข้อแนะนําหรับการลดความเสี่ยง จากการติดเชื้อไวรัสภายในสถานที่ทํางาน โดยมีแนวปฏิบัติสําคัญที่น่าสนใจสําหรับนายจ้าง อาทิ การปรับเปลี่ยนรูปแบบการทํางานและแผนผังที่นั่งเพื่อลดความเสี่ยงของผู้ปฏิบัติงาน โดยจัดให้มีการเว้นระยะห่าง ระหว่างเพื่อนร่วมงานให้ห่างกันราว 2 เมตร การให้พนักงานค่อย ๆ ทยอยกลับมาทํางาน ไม่ต้องกลับมาที่เดียว พร้อมกันหมด การสับหลีกกะในการเข้าออก-งานของพนักงานเพื่อป้องกันความหนาแน่นในสถานที่ทํางาน การจัดระเบียบช่วงพักกลางวันเพื่อไม่ให้พนักงานต้องออกมาทานข้าวพร้อมกัน การหลีกเลี่ยงการประชุมหรือการติดต่อกับบุคคลภายนอกโดยให้ทําผ่านระบบ Video Conference แทน การเฝ้าระวังและสังเกตอาการ โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงรวมถึงพนักงานที่อยู่ในภาวะเครียดกดดันหรือภาวะซึมเศร้าจากสถานการณ์โควิด-19 โดยคํานึงถึงสิทธิความเป็นส่วนตัวของผู้ประสบภาวะวิกฤตเป็นสําคัญ และการเตรียมเทคโนโลยีหรือความพร้อม ด้านต่าง ๆ ไว้ให้พนักงานสามารถแปลงบ้านให้กลายเป็นสํานักงานเสมือน (Virtual Office) ได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพ เพื่อรับมือทําธุรกิจในยุคเปิดๆ ปิดๆ เมือง เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยารักษาโรค โควิด-19 เป็นต้น
[su_spacer]
ในขณะนี้ หลายประเทศในอียูเริ่มผ่อนคลายมาตรการควบคุมกันบ้างแล้ว แต่ยังคงมาตรการเฝ้าระวังไว้ด้วย เริ่มจากประเทศเดนมาร์ก ซึ่งเป็นชาติแรกที่กลับมาเปิดโรงเรียน และสถานรับเลี้ยงเด็กอีกครั้งหนึ่งตั้งแต่วันที่ 14 เมษายนเป็นต้นไป หลังจากจํานวนผู้ติดเชื้อใหม่ลดลง โดยตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน มีการอนุญาตให้ร้านตัด ผมและธุรกิจประเภท Liberal professions เช่น ร้านนวด ร้านสัก ร้านเสริมสวย รวมทั้งสถานให้บริการทางการแพทย์ เช่น ทันตแพทย์ กายภาพบําบัด ฯลฯ และโรงเรียนสอนขับรถ เปิดบริการอีกครั้ง
[su_spacer]
ออสเตรีย อนุญาตให้ร้านค้าขนาดเล็กที่มีพื้นที่น้อยกว่า 400 ตารางเมตร และร้านขายอุปกรณ์ต่างๆ และร้านทําสวนเปิดให้บริการได้ โดยเปิดทําการได้ตั้งแต่วันที่ 14 เมษายน โดยบังคับให้มีการสวมหน้ากากในที่สาธารณะ ในขณะที่ฝรั่งเศส เตรียมเปิดเมืองอีกครั้งในวันที่ 11 พฤษภาคม รวมถึงการเปิดโรงเรียน และอนุญาตให้บริษัทเปิดดําเนินการอีกครั้ง รวมถึงการเริ่มบริการขนส่งสาธารณะ
[su_spacer]
ส่วนเยอรมนี ก็เริ่มมีการผ่อนปรนมาตรการโดยอนุญาตให้ร้านค้าที่มีพื้นที่น้อยกว่า 800 ตารางเมตรเปิด ให้บริการได้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายนเป็นต้นไป แต่ต้องมีการจํากัดจํานวนลูกค้าที่สามารถเข้าร้านได้ในเวลาเดียวกัน ส่วนโชว์รูมรถยนต์ ร้านหนังสือ ห้องสมุด และสวนสาธารณะสามารถเปิดให้บริการได้ โดยไม่มีการจํากัดขนาดของสถานที่แต่อย่างใด ทั้งนี้ ร้านค้าที่มีขนาดใหญ่กว่า 800 ตารางเมตร และร้านตัดผมจะสามารถเปิดให้บริการได้ในวันที่ 4 พฤษภาคม เป็นต้นไป ส่วนสถานที่ทางศาสนา ร้านอาหารและบาร์ ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เปิดบริการ โดยบังคับให้มีการสวมหน้ากากในที่สาธารณะตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน สําหรับเบลเยียมนั้น จะเริ่มผ่อนคลายมาตรการเป็นขั้นๆ ระยะแรก เริ่มตั้งแต่วันที่ 4 พฤษภาคม การทํางาน จากบ้านยังคงเป็นแนวปฏิบัติมาตรฐาน สามารถเริ่มติดต่อระหว่างธุรกิจได้ แนะนําให้ใส่หน้ากากหรืออุปกรณ์ คลุมหน้าในที่สาธารณะ และต้องใส่เมื่อใช้ขนส่งสาธารณะ ระยะที่สอง เริ่มวันที่ 18 พฤษภาคม โรงเรียน ประถมและมัธยมเริ่มเปิดได้ โดยครูและนักเรียนอายุ 12 ปีขึ้นไปต้องสวมหน้ากากทั้งวัน ร้านทําผมและพิพิธภัณฑ์อาจเปิดได้ภายใต้เงื่อนไขและมาตรการ และระยะสาม ประมาณกลางมิถุนายน ร้านอาหาร อาจเริ่มเปิดได้ ตามด้วยร้านกาแฟและบาร์ ส่วนงานเทศกาลงานคอนเสิร์ตใหญ่ๆ ยังไม่อนุญาตให้จัดก่อน 31 สิงหาคม ในขณะที่ลักเซมเบิร์กประเทศเพื่อนบ้าน เริ่มผ่อนปรนให้ร้านค้าบางประเภท เช่นร้านอุปกรณ์ ฮาร์ดแวร์ ร้านทําสวน เปิดกิจการได้ตั้งแต่วันที่ 20 เมษายน อนุญาตให้การก่อสร้างต่างๆ เริ่มดําเนินการได้ และบังคับให้ประชาชนต้องสวมอุปกรณ์ปิดหน้าเมื่อออกจากบ้าน
[su_spacer]
ส่วนสเปน อนุญาตให้เด็กอายุต่ํากว่า 14 ปี จํานวนไม่เกิน 3 คน สามารถออกไปเที่ยวเล่นพร้อมกันได้วันละครั้งเป็นเวลา 1 ชั่วโมง พร้อมผู้ปกครองหนึ่งคน โดยอยู่ในรัศมีไม่เกิน 1 กิโลเมตรจากบ้านพัก และมีแผนที่จะ อนุญาตให้ออกกําลังกายและเดินนอกบ้านได้ในวันที่ 2 พฤษภาคม หากอัตราการติดเชื้อมีแนวโน้มลดลง ในขณะที่ อิตาลี มีแผนการเปิดโรงเรียนอีกครั้งในเดือนกันยายน และจะอนุญาตให้ภาคการผลิตกลับมาเริ่มได้ อีกครั้ง ในวันที่ 4 พฤษภาคม
[su_spacer]
กล่าวโดยสรุป อียูนําปัญหาในการบริหารจัดการมาตรการ “ขาเข้า” เพื่อยับยั้งการระบาดที่มาแบบไม่ทันตั้งตัว มาเป็นบทเรียนในการจัดการมาตรการ “ขาออก” ที่มีความเป็นระบบมากขึ้น โดยการออกแนวทางที่เป็น มาตรฐานต่างๆ เพื่อให้การควบคุมโรคระบาดในระดับภูมิภาคเป็นไปในทิศทางเดียวกัน ในขณะที่ประเทศสมาชิกก็วางแผนการเปิดประเทศเป็นช่วงๆ อาจมีการเดินหน้าหรือถอยหลังขึ้นอยู่กับสถานการณ์ที่ยังต้องเฝ้า ระวังอย่างใกล้ชิดจนกระทั่งถึงการค้นพบวัคซีน แม้มาตรการของอียูเป็นสิ่งที่กําหนดจากศักยภาพและสภาพแวดล้อมการระบาดของยุโรป แต่โควิด-19 ทําให้ประเทศต่างๆ ทั่วโลกประสบปัญหาคล้ายคลึงกัน ไม่ว่าจะมีความต่างกันทางภูมิศาสตร์หรือสถานะทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม ดังนั้น ไทยเองก็สามารถเรียนรู้ เกี่ยวกับมาตรการต่างๆ ของยุโรปและสามารถนํามาปรับใช้ให้เป็นประโยชน์และเหมาะสมกับบริบทของ ประเทศ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์กับอียูเพื่อนํามาควบคุมโรคระบาดในระดับภูมิภาคของเราเอง เนื่องจากโรคระบาดนี้เป็นปัญหาของโลก ดังนั้นการควบคุมและการแก้ไขปัญหาต้องร่วมมือกันอย่าง ใกล้ชิดทั้งระดับภูมิภาคและระดับโลกด้วย
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์