การส่งยานอวกาศขึ้นไปเก็บดินและหินจากดวงจันทร์กลับมายังโลกเป็นโครงการที่จีนได้จัดวางแผนมาเป็น ระยะเวลาหลายปี โดยเมื่อ ก.พ. 2547 คณะกรรมาธิการด้านการอุตสาหกรรมวิทยาศาสตร์การป้องกันประเทศได้ประกาศว่า จีนแบ่งแผนการสํารวจดวงจันทร์ออกเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ (1) การโคจรรอบดวงจันทร์ ภายใน 3 ปี (2) การลงจอดบนดวงจันทร์ ภายใน 6 ปี และ (3) การส่งยานไปดวงจันทร์เพื่อเก็บดิน/หินจากดวงจันทร์กลับมายังโลกภายในปี ค.ศ. 2020 ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า จีนมีการวางแผนงานด้านอวกาศอย่างเป็นระบบและมีการผลักดันการดําเนินงานต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องจนสามารถ บรรลุเป้าหมายตามที่ได้วางแผนไว้ในอดีตกว่า 16 ปีได้อย่างเป็นรูปธรรม
จีนจะแบ่งชิ้นส่วนดิน/หินที่ได้จากดวงจันทร์เป็น 3 ส่วน โดยส่วนที่ 1 จะใช้สําหรับการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์ ในห้องปฏิบัติการ ส่วนที่ 2 จะจัดแสดงในพิพิธภัณฑ์แห่งชาติเพื่อการเรียนการสอนของประชาชนทั่วไป และส่วนที่ 3 จีนจะแบ่งปันให้กับประชาคมโลกตามกฎระเบียบด้านการจัดการข้อมูลเกี่ยวกับดวงจันทร์ รวมทั้งอาจมอบให้กับมิตรประเทศด้านอวกาศของจีน อนึ่ง จีนจะนําดินจากดวงจันทร์ที่ยานฉางเอ๋อ 5 นํากลับมาเก็บไว้ที่เมืองเสาซาน มณฑลหูหนาน ซึ่งเป็นบ้านเกิดของประธานาธิบดี เหมา เจ๋อตุง ด้วย เพื่อเป็นเกียรติและระลึกถึงความสนใจด้านอวกาศของประธานาธิบดีเหมาฯ
เมื่อ 22 ธันวาคม 2563 จีนได้ส่งจรวด Long March 8 ขึ้นสู่อวกาศ เพื่อนําส่งดาวเทียม 5 ดวงเข้าสู่วงโคจร ณ ฐานปล่อยจรวดเหวินชาง มณฑลไห่หนาน โดยเที่ยวบินดังกล่าวเป็นเที่ยวบินแรกของจรวดรุ่น Long March 8 และ มีความสําคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาจรวดขนส่งของจีน เนื่องจากได้เพิ่มศักยภาพในการบรรทุกสัมภาระจาก 3 ตันเป็น 4.5 ตัน นอกจากนี้ จีนมีแผนที่จะพัฒนาจรวดรุ่น Long March 8 นี้ให้สามารถนํากลับมาใช้ใหม่ได้ คล้ายกับจรวด Falcon 9 ของ SpaceX โดยมีแผนที่จะให้นําจรวดกลับมาใช้ใหม่ได้ 10 ครั้งภายในปี ค.ศ. 2025 และจะให้สามารถ นํากลับมาใช้ได้ทั้งหมดในปี ค.ศ. 2035 อนึ่ง จีนยังได้เปิดเผยว่าจีนอยู่ระหว่างการพัฒนาจรวดแบบ vertical take-off and vertical Landing (VTVL) โดยตั้งเป้าหมายให้แล้วเสร็จภายในปี ค.ศ. 2025
ทั้งนี้ กระทรวงการต่างประเทศได้ช่วยผลักดันการทูตวิทยาศาสตร์กับจีน ด้วยการประสานงานขอรับข้อมูลด้านกิจการอวกาศของต่างประเทศ เพื่อให้หน่วยงานด้านวิทยาศาสตร์ของไทยใช้ประกอบการจัดทำแผนแม่บทอวกาศแห่งชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) สำหรับผู้ประกอบการไทยอาจพิจารณาอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับอวกาศเป็นโอกาสทางธุรกิจแห่งอนาคต เนื่องจากไทยมีศักยภาพทางการผลิต ความรู้ทางวิชาการ และโลจิสติกส์ ที่เอื้อต่อการดำเนินธุรกิจที่เกี่ยวข้องตลอดห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ รัฐบาลไทยยังสนับสนุนการลงทุนในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก ( Eastern Economic Corridor – EEC) อีกด้วย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงปักกิ่ง