ด้วยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563 นายกรัฐมนตรีบังกลาเทศ ได้เป็นประธานในงานสัมมนา Bangladesh Development Forum (BDF) 2020 จัดโดย Economic Relations Division (ERD)
กระทรวงการคลังของบังกลาเทศ และหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนา (Development Partners-DPs) การสัมมนานี้จัดขึ้นเพื่อทบทวนความสําเร็จและบทเรียนจากการดําเนินการตามแผน 5 ปี ฉบับที่ 7 (ฉบับปัจจุบัน) แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับการดําเนินการแผนการดําเนินการตามแผน 5 ปี ฉบับที่ 8 (2564-2568) (โดยแผนที่ 1 เริ่มในปี 2516) ซึ่งข้อมูลโดยสรุปเกี่ยวกับแผน 5 ปี ฉบับที่ 8 ซึ่งจะมีการประกาศในเดือน มิถุนายน 2563 มีดังนี้
[su_spacer]
1. เป้าหมาย ขับเคลื่อน Vision 2041 (หรือ Sonar/ Golden Bangla 2041) โดยเน้นยุทธศาสตร์
1.1. Delta Plan -2100 เพื่อการใช้น้ํา พื้นที่และสภาพแวดล้อมทางธรรมชาติอย่างยั่งยืน ส่งเสริมการ พัฒนาทางเศรษฐกิจ ป้องกัยภัยพิบัติ การเปลี่ยนผ่านจากการเป็น LDC ไปสู่การเป็นประเทศกําลังพัฒนาภายในปี 2567 และบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ของสหประชาชาติ ภายในปี 2573
1.2 Bangladesh Perspective Plan 2021-2041 เพื่อขับเคลื่อน Vision-2041 ให้เป็นประเทศพัฒนา แล้วภายในปี 2584 (โดยพัฒนาเป็นประเทศ upper-middle-income ในปี 2573 และเป็นประเทศ high-income ในปี 2584)
ที่ผ่านมา บังกลาเทศมี Bangladesh Perspective Plan 2010-2021 เพื่อมุ่งสู่การบรรลุ Vision 2021 คือให้บังกลาเทศปรับสถานะจากประเทศ low income เป็น lower-middle-income ในปี 2558 และเมื่อปี 2561 บังกลาเทศถูกจัดอยู่ในเกณฑ์ที่จะพ้นจากสถานะประเทศ LDCs เป็นประเทศกําลังพัฒนาใน 2567
[su_spacer]
2. ประเด็นหลัก คือเสริมสร้างความมั่งคั่งและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
[su_spacer]
3. การดําเนินการ โดยบังกลาเทศ และร่วมกับ Development Partners รวม NGOs
3.1 พัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐาน connectivity (ซึ่ง ADB มีบทบาทเรื่องนี้มาก โดยภายในปี 2573 บังกลาเทศจะมีระบบโครงสร้างพื้นฐานถนนและรถไฟเชื่อมทุกภาคส่วนของประเทศและกับอินเดีย ซึ่งจะสามารถเชื่อมโยงกับ EWEC) ปัจจุบัน บังกลาเทศมีการพัฒนาระบบโครงการพื้นฐานขนาดใหญ่ 10 โครงการ อาทิ รถไฟฟ้า ทางด่วน สะพาน ท่าเรือ โรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานถ่านหิน เป็นต้น
3.2 ส่งเสริมการออมในประเทศและส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ โดย บังกลาเทศได้จัดตั้ง Bangladesh Investment Development Authority (BIDA) เมื่อปี 2559 เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรม จัดตั้งเขตเศรษฐกิจพิเศษ 100 แห่งทั่วบังกลาเทศซึ่งจะนําไปสู่การสร้างงานกว่า 40 ล้านตําแหน่ง และสนับสนุน SMEs ซึ่งจะช่วยสร้างงานและเศรษฐกิจฐานราก
3.3 การพัฒนาฝีมือแรงงาน โดยการพัฒนาระบบการศึกษา ส่งเสริมอาชีวศึกษา และการสร้างระบบอํานวยความสะดวกทางการค้า
3.5 ส่งเสริมให้ประชาชนมีโอกาสเท่าเทียมกัน โดยการการสร้างความเข้มแข็ง เพิ่มศักยภาพแก่สตรี ชนกลุ่มน้อย ผู้พิการ กระจายความเจริญสู่ชนบท พัฒนาการสาธารณสุข การเพิ่มการมีส่วนร่วมของภาคเอกชน
3.6 ปราบทุจริต คอรัปชั่น
3.7 เตรียมพร้อมรับมือปัญหาจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การป้องกันภัยพิบัติ
3.8 พัฒนาการเกษตรสมัยใหม่และการเกษตรแบบยั่งยืน
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา