เมื่อต้นเดือนธันวาคม พ.ศ.2561 National Board Revenue กระทรวงการคลัง บังกลาเทศ ได้จัดตั้งคณะกรรมการประกอบด้วย หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อพิจารณามาตรการจูงใจด้านภาษีที่เสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ บังกลาเทศ ซึ่งจะให้แก่ บริษัทผู้ผลิตยาเพื่อส่งเสริมการผลิตสารออกฤทธิ์ในยา (Active Pharmaceutical Ingredients – API) อันจะเป็นอีกก้าวหนึ่งของอุตสาหกรรมยาในบังกลาเทศ ทั้งนี้ บริษัทผู้ผลิตยาจะได้รับสิทธิประโยชน์ดังกล่าว เมื่อ NBR ได้บรรจุในเอกสารงบประมาณ (Fiscal Policy) หรือออกเป็น Statutory Regulatory Order แล้ว ทั้งนี้รัฐบาลบังกลาเทศหวังว่า มาตรการดังกล่าวจะช่วยลดการพึ่งพาการนําเข้า API จากต่างประเทศทําให้การผลิต API ในประเทศมีความหลายหลากและราคายาที่ผลิตได้ถูกลงเพิ่มการส่งออกของประเทศและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศด้วย [su_spacer size=”20″]
ปัจจุบันบังกลาเทศเป็น LDC เพียงประเทศเดียวที่มีฐานการผลิตยาที่เข้มแข็งและมีความก้าวหน้าในการใช้เทคโนโลยี โดยได้รับความคุ้มครองจากนโยบายยาแห่งชาติตั้งแต่ปี 2525 เป็นต้นมา ซึ่งห้ามการนําเข้ายาที่มีการผลิตในประเทศ นอกจากนี้ ยังได้ประโยชน์จากข้อยกเว้นที่ให้แก่ LDCs ภายใต้ความตกลงว่าด้วยทรัพย์สินทางปัญญาที่เกี่ยวกับการค้า (Trade-Related Aspects of Intellectual Property Rights: TRIPS) ปัจจุบัน มีบริษัทผู้ผลิตยาที่ดําเนินกิจการอยู่ 216 บริษัท (จากที่จดทะเบียน 269 บริษัท) สามารถผลิตยาเพื่อสนองความต้องการในประเทศได้ถึงร้อยละ 98 อีกร้อยละ 2 ที่มีการนําเข้าเป็นยาประเภท hi-end อินซูลิน ฮอร์โมนต่าง ๆ วัคซีน ยาต้านมะเร็ง เป็นต้น ทั้งนี้ ร้อยละ 80 ของยาที่ผลิตในประเทศเป็นยาสามัญ ณ เดือนมิถุนายน 2560 ตลาดยาในบังกลาเทศมีมูลค่า 2,280 ล้าน USD และคาดว่า จะเพิ่มเป็น 4,750 ล้าน USD ภายในปี 2565 นอกจากนี้ บังกลาเทศยังสามารถส่งออกยาไปยังหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งประเทศพัฒนาแล้วที่มีกฎระเบียบที่เข้มงวด เช่น สหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา เป็นต้น จากสถิติของ Export Promotion Bureau ในปีงบประมาณ 2560-2561 บังกลาเทศส่งออกผลิตภัณฑ์ยารวมมูลค่า 103.46 ล้าน USD เพิ่มขึ้นจาก 89.1 ล้าน USD ในปีงบประมาณ 2559-2560 ตลาดส่งออก 10 อันดับแรก ได้แก่ เมียนมาร์ ศรีลังกา ฟิลิปปินส์ เวียดนาม เคนยา อัฟกานิสถาน สโลวีเนีย กัมพูชา เนปาล และ สหราชอาณาจักร ตามลําดับ ทั้งนี้ ไทยเป็นตลาดหนึ่งที่บังกลาเทศสนใจ แต่ยังไม่ได้รับอนุญาตในการนําเข้าจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา[su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ดี ผู้ผลิตยาบังกลาเทศยังต้องนําเข้า API จากต่างประเทศกว่าร้อยละ 95 โดยมีแหล่งนําเข้าสําคัญได้แก่ จีน อินเดีย เยอรมนี และอิตาลี ปัจจุบัน มีผู้ผลิตยาในประเทศเพียง 15 บริษัทที่ผลิต API รวมกันประมาณ 40 ตัว ซึ่งคิดเป็นไม่ถึงร้อยละ 5 ของความต้องการทั้งหมด โดยมี Active Fine Chemicals Ltd. เพียงบริษัทเดียวที่ทําธุรกิจผลิต API อย่างเต็มตัว ในขณะที่อีก 14 บริษัทผลิตยาสําเร็จรูปด้วย การผลิต API ที่มีคุณภาพและได้เพียงพอกับความต้องการจะช่วยให้อุตสาหกรรมยาของบังกลาเทศยืนหยัดอยู่ได้หลังจากข้อยกเว้นภายใต้ความตกลง TRIPs สิ้นสุดลง ในปี 2573[su_spacer size=”20″]
เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2561 รัฐบาลบังกลาเทศจึงได้ให้ความเห็นชอบ National Active Pharmaceutical Ingredients and Laboratory Reagents Production and Export Policy ซึ่งเสนอโดยกระทรวงพาณิชย์ บังกลาเทศ ภายใต้นโยบายดังกล่าว ผู้ผลิต API และตัวทําปฏิกิริยาที่ใช้ในห้องปฏิบัติการ (laboratory reagents) จะได้รับมาตรการจูงใจด้านภาษีและอื่น ๆ อาทิ การยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคล 100% จนถึงปี 2565 ซึ่งสามารถขยายออกไปถึงปี 2573 หากบริษัทสามารถผลิต API อย่างน้อย 5 ตัวทุกปี แต่หากสามารถผลิตได้อย่างน้อย 3 ตัว จะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลร้อยละ 75 จนถึงปี 2573 นอกจากนี้ ยังได้รับการยกเว้นการชําระภาษีเงินได้ล่วงหน้า (advance income tax) ภาษีมูลค่าเพิ่มและส่วนลดภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อซื้อวัตถุดิบและอะไหล่เครื่องจักรที่ใช้ในการผลิตจนถึงปี 2573 การจัดสรรที่ดินในเขตเศรษฐกิจและเขตการผลิตเพื่อการส่งออกของรัฐบาลและ cash incentives ร้อยละ 20 จากการส่งออก API และตัวทําปฏิกิริยาในห้องปฏิบัติการ[su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ บังกลาเทศกําลังก่อสร้าง Active Pharmaceutical Ingredients Park บนพื้นที่ 200 เอเคอร์ ตั้งอยู่ที่ Munshiganj District ริมทางหลวง Dhaka-Chittagong โดยมี Bangladesh Small and Cottage Industries Corporation (BSCIC) เป็นเจ้าของโครงการ ณ เดือนกันยายน 2560 BSCIC ได้ส่งมอบที่ดินสําหรับก่อสร้างโรงงานให้กับผู้ผลิตยา 28 บริษัทจากทั้งหมด 32 บริษัทที่ได้แสดงความจํานงเข้าไปลงทุนซึ่งมีมูลค่ารวมประมาณ 300 ล้าน USD คาดว่า การก่อสร้าง API Park จะแล้วเสร็จในเดือนมิถุนายน 2563 ซึ่งจะช่วยให้บังกลาเทศประหยัดการนําเข้า API ได้ถึง ร้อยละ 70 และสามารถส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศซึ่งมีมูลค่า 23,800 ล้าน USD[su_spacer size=”20″]
ความท้าทายสําคัญในการส่งเสริมการผลิต API ในประเทศยังมีอยู่ อาทิ การผลิต API บางตัว ให้ได้การประหยัดต่อขนาด (economy of scale) เพื่อสามารถอยู่รอดในเชิงพาณิชย์ การยังต้องพึ่งพาการนําเข้าวัตถุดิบขั้นกลาง (intermediates) ตัวทําละลาย (Solvents) และอื่น ๆ ต้นทุนด้าน R&D สูงเมื่อเทียบกับการผลิตยาสามัญ [su_spacer size=”20″]
อนึ่ง Bangladesh Association of Pharmaceutical Industries (BAPI) แจ้งว่า BAPI ร่วมกับ GPE Expo PVE Ltd. ผู้จัดงานแสดงสินค้าจากอินเดียจะจัดงาน Asia Pharma Expo ครั้งที่ 11 และ Asia Lab Expo ที่กรุงธากา ระหว่างวันที่ 31 มกราคม -2 กุมภาพันธ์ 2562 โดยมีสาขาเป้าหมายได้แก่ ยา API การดูแลสุขภาพโภชนเภสัช (nutraceuticals) เทคโนโลยีชีวภาพ เครื่องสําอาง และเครื่องดื่ม ทั้งนี้ งาน Asia Pharma Expo เป็นงานแสดงสินค้า ด้านอุตสาหกรรมยาระหว่างประเทศครบวงจรในเอเชียใต้ที่สําคัญงานหนึ่ง จัดขึ้นครั้งแรกในบังกลาเทศเมื่อปี 2546 ทั้งนี้ งาน Asia Pharma Expo ครั้งที่ 10 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 8-10 กุมภาพันธ์ 2561 มีบริษัทร่วมออกบูธกว่า 670 บริษัทจาก 31 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย มีผู้เข้าเยี่ยมชมงาน 11,400 คน ผู้สนใจเข้าสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.asiapharma.org
[su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงธากา