ภาพรวมของออสเตรียในปี 2561 เป็นปีที่ออสเตรียมีสถานการณ์ทางการเมืองที่ค่อนข้างเข้มข้น เนื่องจากมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่หลังจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 ต.ค. 2560 จากการจัดตั้งพรรครัฐบาลร่วมระหว่างพรรคประชาชนรุ่นใหม่ (ÖVP) ของนายเซบาสเตียน เคอรซ์ (Sebastian Kurz) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศออสเตรีย และพรรคเสรีภาพ (FPÖ) ของนายไฮนซ์-คริสเตียน ชตราเค่ (Heinz-Christian Strache) ซึ่งเป็นพรรคขวาจัด มีนโยบายต่อต้าน EU และกีดกันชาวต่างชาติ โดยผู้ก่อตั้งเป็นอดีตทหารนาซี ดังนั้น ตลอดช่วงปี 2561 นโยบายและมาตรการต่าง ๆ ของรัฐบาลจึงถูกจับตาทั้งในภูมิภาคยุโรปและระดับโลก โดยเฉพาะนโยบายที่เกี่ยวกับผู้อพยพและชาวต่างชาติในออสเตรีย และปี 2561 ยังถือเป็นปีที่ออสเตรียมีภารกิจที่สําคัญในด้านต่างประเทศ เนื่องจากดํารงตําแหน่งประธานของ EU ในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 (เดือน ก.ค. – ธ.ค. 2561) ต่อเนื่องจากการเป็นประธาน OSCE ในปี 2560 และทําหน้าที่ประธานกลุ่มหุ้นส่วนฝ่ายเอเชียของ OSCE ในปี 2561 นั้น เป็นช่วงเวลาที่ค่อนข้างท้าทายสําหรับ EU เนื่องจาก EU จะต้องหาข้อสรุปในเรื่อง Brexit และประเด็นอื่น ๆ ที่ประเทศสมาชิก EU มีท่าทีแตกต่างกัน [su_spacer size=”20″]
สำหรับภาพรวมด้านเศรษฐกิจ สถิติครึ่งปีแรกของ 2561 พบว่าเศรษฐกิจออสเตรียรักษาการเจริญเติบโตต่อเนื่องจากปี 2560 โดยอัตราการเจริญเติบโตของ GDP ในปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 2.7 เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากปี 2560 การบริโภคภายในประเทศยังเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจออสเตรีย เนื่องจากบรรยากาศของตลาดแรงงานออสเตรียดีขึ้นและภาคอุตสาหกรรมได้มีการขยายตัว โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการก่อสร้าง ซึ่งซบเซามาหลายปีได้ขยายเพิ่มขึ้นในปี 2561 ทั้งนี้ หน่วยวิเคราะห์ของ EU คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจออสเตรียจะคงการมีเสถียรภาพในลักษณะดังกล่าวต่อไป ในส่วนของตลาดแรงงาน อัตราการจ้างงานเพิ่มขึ้นและการว่างงานลดลง โดยในปี 2561 อัตราการว่างงานอยู่ที่ประมาณร้อยละ 4.8 และอัตราเงินเฟ้อในปี 2561 เพิ่มขึ้นร้อยละ 2 จากราคาน้ำมันของโลกที่เพิ่มขึ้น [su_spacer size=”20″]
ข้อมูลการค้าระหว่างประเทศในช่วงเดือน ม.ค. – ก.ย. 2561 การค้าต่างประเทศของออสเตรียมีความเข้มแข็งกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2560 การนําเข้าของออสเตรียมีมูลค่า 115.2 แสนล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปี 2561 โดยเป็นการนําเข้าจากประเทศสมาชิก EU ร้อยละ 70.8 นําเข้าจากเอเชียร้อยละ 13.5 นําเข้าจากประเทศ EFTA (สวิตเซอร์แลนด์ ลิกเตนสไตน์ นอร์เวย์ และไอซ์แลนด์) ร้อยละ 4.7 นําเข้าจากกลุ่มประเทศใกล้เคียงยุโรปอื่น ๆ (รัสเซีย ตุรกี ยูเครนและบอสเนียเฮอเซโกวีนา) ร้อยละ 4.4 นําเข้าจากอเมริกาเหนือร้อยละ 4.3 และนําเข้าจากแอฟริการ้อยละ 1.3 โดยประเทศนําเข้า 5 อันดับแรกของออสเตรีย ได้แก่ เยอรมนี อิตาลี จีน เช็ก และสวิตเซอร์แลนด์ โดยออสเตรียนําเข้าจากเยอรมนีสูงถึง 4.15 แสนล้านยูโร [su_spacer size=”20″]
การส่งออกของออสเตรียมีมูลค่า 111.5 แสนล้านยูโร เพิ่มขึ้นร้อยละ 6 จากปี 2560 ออสเตรียส่งออกให้ประเทศสมาชิก EU ร้อยละ 70.2 ส่งออกให้เอเชียร้อยละ 8.9 ส่งออกให้กับ EFTA ร้อยละ 5.3 ส่งออกให้กลุ่มประเทศใกล้เคียงอื่น ๆร้อยละ 3.7 (รัสเซีย ตุรกี ยูเครนและบอสเนียกับเฮอร์เซโกวีนา) ส่งออกให้กับอเมริกาเหนือร้อยละ 7.7 และส่งออกให้กับแอฟริการ้อยละ 0.2 โดยประเทศส่งออก 5 อันดับแรกของออสเตรีย ได้แก่ เยอรมนี สหรัฐฯ อิตาลี สวิตเซอร์แลนด์ และฝรั่งเศส โดยออสเตรียส่งออกไปเยอรมนีมูลค่า 3.39 แสนล้านยูโร [su_spacer size=”20″]
ในส่วนของเอเชีย ประเทศที่ออสเตรียนําเข้า 5 อันดับแรกได้แก่ จีน ญี่ปุ่น คาซัคสถาน อินเดีย และเกาหลีใต้ สําหรับการค้าระหว่างออสเตรียกับไทย (ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มภูมิภาคเอเชีย 49 ประเทศ) ไทยได้ดุลการค้ากับออสเตรียมูลค่า 282.63 ล้านยูโร (หรือ 322 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ) ประกอบด้วย [su_spacer size=”20″]
– การนําเข้า: ไทยเป็นประเทศอันดับที่ 10 ที่ออสเตรียนําเข้ามูลค่า 482 ล้านยูโร (หรือ 549 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2560
– การส่งออก: ไทยเป็นประเทศอันดับที่ 13 ที่ออสเตรียส่งออกมูลค่า 199.37 ล้านยูโร (หรือ 227 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) ลดลงร้อยละ 0.7 เทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2560 [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ ความเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจยังรวมถึงประเด็นนโยบายการเก็บภาษีกับบริษัทข้ามชาติ เพราะถึงแม้ว่าในช่วงการเป็นประธาน EU ในช่วงครึ่งหลังของปี 2561 ออสเตรียไม่สามารถผลักดันเรื่องการเก็บภาษีดิจิทัลหรือ digital tax ซึ่งเป็นการเก็บภาษีกับบริษัทข้ามชาติทางเทคโนโลยีดิจิทัล เช่น Facebook และ Amazon แต่รัฐบาลยังมีแผนที่จะแนะนําการเก็บภาษีดังกล่าวมาใช้ โดยจะเก็บภาษีกับบริษัทในส่วนของรายได้ที่มาจากการขายโฆษณาในออสเตรีย ทั้งนี้ ยังไม่มีการกล่าวถึงจํานวนที่แน่นอน แต่คาดว่าจะอยู่ที่ประมาณร้อยละ 3 [su_spacer size=”20″]
สำหรับนโยบายด้านต่างประเทศของออสเตรีย ในด้านการเป็นประธาน EU ซึ่งออสเตรียรับหน้าที่ต่อจากบัลแกเรียในช่วงเดือน ก.ค. – ธ.ค. 2561 โดยมีคําขวัญว่า “A Europe that Protects” และเน้นใน 3 หัวข้อ ได้แก่ (1) ความมั่นคงและต่อต้านการอพยพอย่างผิดกฎหมาย (2) การรักษาความมั่งคั่งและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันผ่าน digitalisation และ (3) การรักษาความมั่งคงระหว่างประเทศสมาชิก EU โดยเน้นภูมิภาคบอลข่านตะวันตก ยุโรปใต้ และยุโรปตะวันออก โดยออสเตรียมุ่งที่จะเป็นตัวกลางหรือเป็นสะพานเชื่อมความสัมพันธ์อันดีระหว่างประเทศสมาชิกเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันกับ EU ซึ่งในช่วงการเป็นประธาน EU ออสเตรียได้พยายามผลักดันให้นโยบายผู้อพยพของ EU มีความเข้มงวดมากขึ้น แต่ไม่ได้มีผลสําเร็จตามที่ออสเตรียตั้งเป้าไว้เนื่องจากท่าทีของประเทศต่าง ๆ ยังมีความแตกต่างอยู่มาก นอกจากนี้ การที่ออสเตรียได้ล้มเลิกการลงนามในเอกสาร Global Compact on Migration ยังบันทอนความน่าเชื่อถือและบทบาทของออสเตรียในการเป็นผู้เชื่อมสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่าง ๆ ซึ่งมีท่าที่แตกต่างกัน [su_spacer size=”20″]
ด้านนโยบายต่างประเทศกับเอเชีย รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Kurz ให้ความสําคัญกับการดําเนินความสัมพันธ์กับเอเชียมากขึ้นกว่ารัฐบาลชุดก่อน ในช่วงปี 2561 ออสเตรียได้มีการเยือนระดับสูงที่ จีน สิงคโปร์ ฮ่องกง โดยการดําเนินความสัมพันธ์กับเอเชียเน้นการขยายการค้าและการส่งทุน การส่งเสริมสาขา ความร่วมมือที่ออสเตรียสนใจและมีจุดแข็ง รวมถึงความร่วมมือด้านศิลปะและวัฒนธรรม [su_spacer size=”20″]
ด้านนโยบายต่างประเทศกับประเทศบอลข่านตะวันตก ออสเตรียให้ความสําคัญกับประเทศบอลข่านตะวันตกด้วยเหตุผลทางประวัติศาสตร์ การเมือง เศรษฐกิจและวัฒนธรรม ออสเตรียมุ่งหวังที่จะให้พื้นที่ดังกล่าวมีเสถียรภาพและความมั่นคง และมองว่าการเข้าเป็นสมาชิก EU เป็นหนทางเดียวที่จะทําให้ประเทศเหล่านี้เป็นส่วนหนึ่งของยุโรปได้อย่างสมบูรณ์ ออสเตรียจึงมีท่าทีสนับสนุนบอลข่าน 6 ประเทศ ประกอบด้วย อัลแบเนีย บอสเนียและเฮอเซโกวีนา โคโซโว มาเซโดเนีย มอนเตเนโกร และเซอร์เบีย เข้าเป็นสมาชิก EU ทั้งนี้ ออสเตรียลงทุนในประเทศแถบบอลข่านเป็นอันดับ 2 รองจากรัสเซีย ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ออสเตรียได้ลงทุนในประเทศแถบบอลข่านตะวันตกมูลค่า 1.64 หมื่นล้านยูโร และระหว่างปี 2548 – 2556 ออสเตรียลงทุนในเซอร์เบียเป็นอันดับ 1 มูลค่า 2.3 พันล้านยูโร [su_spacer size=”20″]
ในประเด็น Brexit ที่กำลังจะเกิดขึ้น ปัจจุบันมีบริษัทของสหราชอาณาจักรลงทุนในออสเตรีย 176 บริษัท สร้างรายได้ ประมาณ 3,500 พันล้านยูโร และสร้างการจ้างงานจํานวน 16,500 ตําแหน่ง ในขณะเดียวกันมีบริษัทของออสเตรียจํานวน 124 บริษัทลงทุนในสหราชอาณาจักร สร้างรายได้กว่า 5,000 ล้านยูโร ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรเป็นตลาดส่งออกลําดับที่ 9 ของออสเตรีย และในระหว่างเดือน ม.ค. – ต.ค. 2561 การส่งออกของออสเตรียไปสหราชอาณาจักรมีมูลค่า 3.6 พันล้านยูโร เป็นสินค้าจำพวกชิ้นส่วนและอุปกรณ์ยานยนต์ เคมีภัณฑ์ เครื่องมืออุตสาหกรรม เป็นต้น โดยในรัฐสตีเรีย (Styria) ของออสเตรีย สหราชอาณาจักรนับเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 4 ของรัฐ โดยบริษัท Magna Steyr (อุตสาหกรรมยานยนต์) เป็นธุรกิจที่ส่งออกไปสหราชอาณาจักรมากที่สุด ทั้งนี้ รัฐบาลของออสเตรียเตรียมที่จะออกมาตรการรองรับการปกป้องสิทธิของชาวอังกฤษที่พํานักอยู่ในออสเตรีย และการดําเนินการเพื่ออํานวยความสะดวกให้ธุรกิจของสหราชอาณาจักรที่จดทะเบียนใน ออสเตรียสามารถดําเนินธุรกิจได้อย่างปกติต่อไป [su_spacer size=”20″]
แนวโน้มเศรษฐกิจออสเตรียในปี 2562 นักวิเคราะห์ได้คาดว่าเศรษฐกิจของออสเตรียจะชะลอตัวลงในปี 2562 หลังจากถึงจุดสูงสุดมาแล้วในปี 2561 โดยอัตราการขยายตัวเศรษฐกิจจะตกลงมาอยู่ประมาณร้อยละ 2 หรือต่ำกว่า อย่างไรก็ดี อัตราการว่างงานจะลดลงอย่างต่อเนื่องและรวดเร็วกว่าที่พยากรณ์ไว้ในปี 2561 ปัจจัยความเสี่ยงภายนอกที่อาจมีผลกระทบกับสภาพเศรษฐกิจในปี 2562 ได้แก่ ความขัดแย้งทางการค้าระหว่างจีนและสหรัฐอเมริกา รวมถึงภาษีอากรนําเข้าจากยุโรปที่สูงขึ้นในสหรัฐอเมริกา ซึ่งโดยรวมแล้ว ออสเตรียยังคงมีสภาพเศรษฐกิจที่มั่นคงอยู่ โดยการเติบโตของเศรษฐกิจในออสเตรียมีการบริโภคของภาคเอกชนเป็นปัจจัยส่งเสริมหลักเช่นเคย นอกจากนี้ ยังมีอัตราการจ้างงานและค่าแรงที่เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะหลังจากแผนการลดภาษีเงินรายได้ของรัฐบาลมีผลบังคับใช้ รวมทั้งความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่สูงขึ้นเป็นแรงกระตุ้นเศรษฐกิจไปในทิศทางบวก อย่างไรก็ตาม การขาดแคลนแรงงานที่มีความเชี่ยวชาญยังเป็นปัญหาหลักในตลาดงานเนื่องจากประชากรที่สูงอายุมากขึ้น [su_spacer size=”20″]
ในด้านความสัมพันธ์ ไทย – ออสเตรีย หลังจาก EU ได้ปรับแนวทางการดําเนินความสัมพันธ์กับประเทศไทยเมื่อเดือน ธ.ค. 2560 ไทยและออสเตรียได้ริเริ่มสาขาความร่วมมือในเรื่อง Smart City และ Digital โดยทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการจัดทํา Joint Working Group On Trade และ Joint Working Group on Digital ทั้งนี้ ในปี 2562 เป็นปีที่ไทยและออสเตรียครบรอบ 150 ปีของมิตรภาพหลังจากการลงนามในสนธิสัญญาไมตรีการค้าและการเดินเรือในปี 2412 และเพื่อเฉลิมฉลองโอกาสดังกล่าว ฝ่ายไทยและออสเตรียจะดําเนินกิจกรรมต่าง ๆ ตลอดทั้งปี อาทิ การจัดทําหนังสือเฉลิมฉลองมิตรภาพ 150 ปี การพิมพ์วรรณกรรมเด็กที่แปลเป็นภาษาไทยจากภาษาเยอรมัน การจัดสัมมนาทางวิชาการและการเปิดตัวหนังสือข้างต้น รวมทั้งกิจกรรมวัฒนธรรม นอกจากนี้ มีแผนงานดําเนินงานตามยุทธศาสตร์ 20 ปี และนโยบาย Thailand 4.0 โดยจะส่งเสริมความร่วมมือด้านการศึกษา การค้า และการลงทุนกับฝ่ายออสเตรียอย่างต่อเนื่อง [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา