ฉลากสิ่งแวดล้อมมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2513 โดยรัฐบาลเยอรมนีเป็นผู้ริเริ่มฉลาก ”Blue Angel” ซึ่งเป็นฉลากรองรับสิ่งแวดล้อมครั้งแรกของโลก จากนั้นหลายประเทศได้พัฒนาระบบฉลากของตนเองและมีการส่งเสริมผ่านข้อตกลงระดับโลก เช่น การประชุม Earth Summit ขององค์การสหประชาชาติในปี 2535 และปัจจุบันองค์กรการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติกำหนดให้ฉลากสิ่งแวดล้อมเป็น “เครื่องมือที่ใช้วัดผลและสื่อสารเกี่ยวกับคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์” ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้บริโภคตัดสินใจในการเลือกผลิตภัณฑ์ที่ยั่งยืนมากยิ่งขึ้น
ความสำคัญของมาตรฐานสากลสำหรับฉลากสิ่งแวดล้อมเพื่อให้ฉลากสิ่งแวดล้อมมีประสิทธิภาพสูงสุด ความพัฒนาให้มีระบบที่เป็นอิสระ เชื่อถือได้ และเป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก ซึ่งจะช่วยให้ผู้บริโภคสามารถเปรียบเทียบข้อมูลได้ง่ายขึ้น ส่งเสริมความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทานอาหาร ความก้าวหน้าที่สำคัญของฉลากสิ่งแวดล้อมในอุตสาหกรรมอาหาร คือ การก่อตั้ง “International Alliance for Food Impact Data” โดยมูลนิธิ Foundation Earth และ EIT Food ซึ่งมีเป้าหมายในการพัฒนา มาตรฐานสากลสำหรับฉลากสิ่งแวดล้อมและเป็นโอกาสอันดีที่จะขับเคลื่อนด้านความยั่งยืนในห่วงโซ่อุปทาน อาหารทั้งหมดการนำฉลากสิ่งแวดล้อมมาใช้จะมีผลกระทบต่อห่วงโซ่อุปทานของอาหารทั้งวงจรตั้งแต่ฟาร์มปลูกพืช จนถึงโต๊ะอาหาร (farm to fork) โดยเฉพาะเกษตรกร ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของห่วงโซ่อุปทาน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องให้ การสนับสนุนเกษตรกรในการเปลี่ยนแปลงไปสู่การผลิตที่ยั่งยืน โดยไม่กระทบต่อรายได้ของพวกเขา
ความร่วมมือการทำงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ระบบฉลากสิ่งแวดล้อมมีความ สอดคล้องกัน โดยเฉพาะปัจจัยด้านด้านสิ่งแวดล้อมที่จะนำมาประเมินมีความหลากหลาย เช่น ระยะทางที่อาหาร เดินทางจากแหล่งผลิตถึงผู้บริโภค (food miles) ปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจก หรือคาร์บอนฟรุตพริ้นท์ (carbon footprint) และความสามารถในการรีไซเคิลได้ของบรรจุภัณฑ์ ซึ่งโครงการ Regenerative Innovation Portfolio ที่ดำเนินการโดย EIT Food และ Foodvalley NL เป็นตัวอย่าง หนึ่งของความร่วมมือที่ช่วยส่งเสริมการเกษตรแบบฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) และช่วยเพิ่มโอกาสในการเพิ่มอุปทานและมูลค่าของผลิตภัณฑ์ที่ผลิตได้จากการฟื้นฟู
ตัวอย่างบริษัทที่พัฒนาเทคโนโลยี นวัตกรรม และบทบาทสำคัญในการเร่งและการขยายขอบเขตของฉลากสิ่งแวดล้อมที่ช่วยสนับสนุนแนวทางนี้ ได้แก่
1. Geopard Tech สตาร์ทอัพสัญชาติเยอรมนีที่ใช้แพลตฟอร์ม cloud ในการทำฟาร์มแบบดิจิทัล เพื่อช่วย เกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต บริหารจัดการและปกป้องพื้นที่เกษตรกรรมเพื่อการผลิตที่ยั่งยืนมากขึ้น เทคโนโลยีนี้ได้ถูกนำไปใช้ในภาคสนามและประสบความสำเร็จอย่างมาก
2. NoPalm Ingredients สตาร์ทอัพสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่พัฒนา “น้ำมันจุลินทรีย์” ที่เป็นมิตรต่อ สิ่งแวดล้อม เพื่อทดแทนน้ำมันปาล์มและน้ำมันจากผลผลิตในเขตร้อนอื่น ๆ ในอาหาร
3. Bon Vivant บริษัทเทคโนโลยีชีวภาพสัญชาติฝรั่งเศสที่ใช้กระบวนการหมักแบบแม่นยำ (Precision Fermentation) เพื่อผลิตโปรตีนจากนมโดยไม่ต้องใช้สัตว์
4. Notpla สตาร์ทอัพสัญชาติสหราชอาณาจักรที่พัฒนาบรรจุภัณฑ์จากสาหร่ายทะเลและพืช ซึ่งสามารถ ย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ
อย่างไรก็ตาม ฉลากสิ่งแวดล้อมไม่ใช่แค่เครื่องมือในการวัดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของผลิตภัณฑ์เท่านั้น แต่ควรถือ เป็นจุดเริ่มต้นของการเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนในระบบอาหารทั้งหมด การสร้างฉลากที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วโลก จะช่วยให้ทุกภาคส่วนในอุตสาหกรรมอาหารสามารถร่วมมือกันเพื่อปรับปรุงและลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ อย่างแท้จริง
ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเวียนนา
เรียบเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์