เมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2562 สำนักงานสถิติแห่งชาติออสเตรเลีย (ABS) เปิดเผยตัวเลขข้อมูลสําคัญทางเศรษฐกิจไตรมาส 4 (ตุลาคม -ธันวาคม) ปี 2561 แสดงให้เห็นถึงการหดตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติต่อหัวต่อหัว (GDP per capita) เป็นระยะเวลา 2 ไตรมาสติดต่อกัน ซึ่งหมายความว่าออสเตรเลียกําลังเผชิญกับภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจ (recession) เมื่อวัดโดยใช้ GDP per capita [su_spacer size=”20″]
เศรษฐกิจออสเตรเลีย (วัดจาก GDP) ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 เติบโตในอัตราร้อยละ 0.2 จากไตรมาส 3 ปี 2561 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจต่อปีอยู่ที่ร้อยละ 2.3 ซึ่งต่ำกว่าที่ธนาคารกลางออสเตรเลีย (RBA) ประมาณการไว้ที่ร้อยละ 2.8 อย่างไรก็ตาม อัตราการเติบโตของประชากรในไตรมาส 4 ปี 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ส่งผลให้เมื่อวัดจาก GDP ต่อหัว เศรษฐกิจออสเตรเลียในไตรมาสสุดท้ายหดตัวลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับไตรมาส 3 ปี 2561 ซึ่งในไตรมาส 3 ปี 2561 GDP ต่อหัวของออสเตรเลียหดตัวลงร้อยละ 0.1 จากไตรมาสที่ 2 ทําให้ GDP ต่อหัวลดลงเป็นระยะเวลา 2 ไตรมาสติดต่อกันเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2549 เข้าข่ายนิยามของภาวะการถดถอยทางเศรษฐกิจ [su_spacer size=”20″]
ตัวเลขดังกล่าวเป็นผลมาจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือนที่เติบโตในอัตราที่ต่ำ และการลงทุนของภาคเอกชนที่ชะลอตัว นอกจากนี้ การก่อสร้างที่ลดลง ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ตกต่ำ และสถานการณ์ภัยแล้งที่ส่งผลกระทบต่อผลผลิตทางการเกษตร ส่งผลให้เศรษฐกิจออสเตรเลียชะลอตัวลง อย่างไรก็ตาม ปัจจัยสําคัญที่ขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ก็คือการใช้จ่ายภาครัฐ โดยทั้งรัฐบาลกลางและรัฐบาลแห่งรัฐยังคงมีการลงทุนสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างโครงสร้างสาธารณูปโภค และการใช้จ่ายงบประมาณด้านสาธารณสุข [su_spacer size=”20″]
ข้อมูลจาก ABS แสดงให้เห็นถึงความสําคัญของเติบโตของจํานวนประชากรที่มีต่อเศรษฐกิจออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเด็นท้าทายสําหรับรัฐบาลออสเตรเลีย ทําให้นาย Scott Morrison นายกรัฐมนตรี พยายามที่จะลดจํานวนผู้อพยพลงอย่างมีนัยสําคัญ [su_spacer size=”20″]
นาย Josh Frydenberg รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ให้ความเห็นว่า อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาสสุดท้าย เป็นไปตามความคาดหมายของตลาด และเห็นถึงตัวชี้วัดมาตรฐานการครองชีพ ซึ่งก็คือรายได้ประชาชาติสุทธิต่อหัว (net national disposable income per capita) ที่สูงกว่าค่าเฉลี่ย 20 ปี โดยย้ำว่าเศรษฐกิจออสเตรเลียยังมีพื้นฐานที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับประเทศ G7 อื่น ๆ [su_spacer size=”20″]
อย่างไรก็ตาม พรรคฝ่ายค้านวิจารณ์ว่า รัฐบาลบริหารเศรษฐกิจของประเทศอย่างล้มเหลว และไตรมาสที่ผ่านมา เป็นไตรมาสแห่งความล้มเหลว โดยอัตราการเติบโตของผลิตภาพ (productivity) ติดลบติดต่อกันถึง 8 ไตรมาส และแม้ว่ากําไรของภาคธุรกิจจะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่ค่าจ้างกลับเติบโตในอัตราที่ต่ำมาก [su_spacer size=”20″]
นาย Philip Lowe ผู้ว่าการ RBA เตือนว่า อัตราการเติบโตของค่าจ้างที่อยู่ในระดับต่ำอย่างต่อเนื่องส่งผลต่อการใช้จ่ายภาคครัวเรือน ซึ่งเป็นภัยคุกคามต่อเศรษฐกิจออสเตรเลียที่ร้ายแรงกว่าการลดลงของราคาอสังหาริมทรัพย์ โดยผู้ว่าการ RBA เรียกร้องให้ภาครัฐและภาคเอกชนเพิ่มการลงทุนในการพัฒนาทักษะฝีมือทรัพยากรมนุษย์และการวิจัยและพัฒนา (R&D) [su_spacer size=”20″]
นอกจากนี้ OECD ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจโลกลงร้อยละ 0.2 เหลือร้อยละ 3.3 ในปี 2562 โดยมีปัจจัยสําคัญมาจากการกีดกันทางการค้าที่เพิ่มขึ้น และความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและธุรกิจที่ลดลง และ OECD ยังได้ปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของออสเตรเลียจากร้อยละ 2.9 เป็นร้อยละ 2.7 ในปี 2562 และปรับลดประมาณการอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศที่เป็นตลาดส่งออกที่สําคัญของออสเตรเลียด้วย ได้แก่ จีน (เหลือร้อยละ 6.2) ญี่ปุ่น (เหลือร้อยละ 0.8) และเกาหลีใต้ (เหลือร้อยละ 2.6) [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจออสเตรเลียที่ต่ำกว่าประมาณการ ทําให้นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่ามีความเป็นไปได้สูงที่ RBA จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรกในเดือนกรกฎาคม 2562 และอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2562 ซึ่งการคาดการณ์ดังกล่าว ส่งผลให้เงินสกุลดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าลงต่ำที่สุดในรอบ 2 เดือน [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา