The Australian Competition and Consumer Commission (ACCC) ได้จัดทํารายงานเสนอต่อ Productivity Commission เรียกร้องให้รัฐบาลกลางออสเตรเลียทบทวนกฎหมาย Sydney Airport Curfew Act 1995 ที่จํากัดการนําเครื่องบินขึ้น-ลงจอดที่สนามบินซิดนีย์ (Kingsford-Smith) ในช่วงระหว่างเวลา 23.00 – 04.00 น. (Curfew) เพื่อมิให้ส่งเสียงรบกวนผู้อยู่อาศัยที่อยู่ใกล้สนามบินฯ อย่างไรก็ตาม มาตรการดังกล่าวได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่อการเจริญเติบโตของธุรกิจการบินและเศรษฐกิจของซิดนีย์และรัฐนิวเซาท์เวลส์โดยรวม นอกจากนั้น ยังกระทบต่อผู้โดยสารเนื่องจากมีปริมาณเที่ยวบินสําหรับการเดินทางน้อยลง ทั้งนี้ ภาคธุรกิจเอกชนได้การเรียกร้องรัฐบาลกลางและรัฐบาลท้องถิ่นให้ยกเลิก Curfew ที่สนามบินซิดนีย์เป็นระยะ ๆ แต่ยังคงไม่เป็นผล [su_spacer size=”20″]
Curfew ข้างต้น บังคับใช้ตั้งแต่ปี 1995 จนถึงปัจจุบัน เนื่องจากสนามบินซิดนีย์ตั้งอยู่ใกล้กับเขตชุมชนเมืองที่มีผู้อยู่อาศัยหนาแน่น (อยู่ทางทิศใต้ห่างจากตัวเมืองซิดนีย์ 8 กม.) โดยบังคับใช้กับเที่ยวบินพาณิชย์ทั่วไป ยกเว้นเที่ยวบินฉุกเฉิน (ขนส่งผู้ป่วย หรือด้านความมั่นคง) ซึ่งต้องขออนุมัติจาก Minister for Department of Infrastructure and Regional Development เป็นกรณี ๆ ไป โดยมี 4 สนามบินที่บังคับใช้กฎหมาย Curfew ได้แก่ 1) สนามบินซิดนีย์ 2) สนามบิน Adelaide 3) สนามบิน Gold Coast (Coolangatta) และ 4) สนามบิน Essendon โดยการนําเครื่องขึ้น-ลง ในช่วง Curfew จะถูกปรับเป็นเงินสูงสุด 5.5 แสนดอลลาร์ออสเตรเลีย [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ สนามบินซิดนีย์ถือเป็น Gateway หลักของออสเตรเลีย ซึ่งสร้างรายได้ปีละกว่า 3.8 หมื่นล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย ถือเป็นแหล่งรายได้สําคัญของเศรษฐกิจนิวเซาท์เวลส์ (NSW) ก่อให้เกิดการจ้างงานในธุรกิจต่อเนื่องต่าง ๆ กว่า 3.3 แสนตําแหน่ง (คิดเป็นร้อยละ 10 ของการจ้างงานของ NSW) ในปี 2017 มีผู้โดยสารเดินทางผ่านสนามบินซิดนีย์กว่า 43 ล้านคน แบ่งเป็นผู้โดยสารระหว่างประเทศ 16 ล้านคน และเดินทางภายในประเทศ 23.3 ล้านคน) และคาดว่าผู้โดยสารระหว่างประเทศจะเพิ่มเป็น 36 ล้านคน ในปี 2039 [su_spacer size=”20″]
รัฐบาลออสเตรเลียได้จัดทําแผน Sydney Airport, Master Plan 2039 เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของธุรกิจการบินและจํานวนผู้โดยสายที่จะเพิ่ม โดยการสร้างสนามบินซิดนีย์แห่งที่ 2 (Western Sydney Airport) ที่เมือง Badgerys Creek (ห่างจากตัวเมืองซิดนีย์ 50 กม.) ใช้งบประมาณ 5.3 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย คาดว่าจะเปิดให้บริการในปี 2026 โดยสนามบินแห่งใหม่นี้ จะไม่นํากฎหมาย curfew มาบังคับใช้ ซึ่งเมื่อเปิดให้บริการสนามบินซิดนีย์แห่งที่ 2 แล้ว สนามบินซิดนีย์ (Kingsford-Smith) ซึ่งมีบริษัทเอกชนเป็นเจ้าของ จะเน้นให้บริการในลักษณะสนามบิน Premium มากขึ้น [su_spacer size=”20″]
ด้านการแข่งขันของสายการบินต่างๆ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา มีการเปิดเส้นทางบินไปยังสนามบิน ซิดนีย์เพิ่มขึ้นเป็นจํานวนมาก โดยเฉพาะสายการบินจากตะวันออกกลาง (Etihad และ Emirates) และสายการบินของจีน ซึ่งเพิ่มเที่ยวบินและนําเครื่องบินรุ่นใหม่ทําการบินไปสนามบินซิดนีย์เพิ่มมากขึ้น ในส่วนของ บ. การบินไทยฯ ปัจจุบัน ทําการบินไปยัง 4 เมืองของออสเตรเลียรวมจํานวน 42 เที่ยวบิน/สัปดาห์ แต่ด้วยเหตุผลของ Aircraft Rotation ทําให้จําเป็นต้องลดเที่ยวบินในเมืองต่าง ๆ ลง ในชั้นนี้ ได้แก่ 1) ซิดนีย์ (จาก 10 เหลือ 7 เที่ยว/สัปดาห์) 2) เมลเบิร์น (จาก 14 เหลือ 10 เที่ยว/สัปดาห์) 3) บริสเบน (จาก 7 เหลือ 4 เที่ยว/สัปดาห์) และ 4) เพิร์ท (จาก 7 เหลือ 4 เที่ยว/สัปดาห์) [su_spacer size=”20″]
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์