เมื่อธันวาคม 2565 World Wildlife Foundation (WWF) ได้ประกาศผลการจัดลําดับ Renewable Superpower Scorecard 2022 เป็นการให้คะแนนรัฐต่าง ๆ โดยพิจารณาจากความมุ่งมั่นในการใช้พลังงานทดแทนแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม ซึ่งในปีนี้ รัฐนิวเซาท์เวลส์ได้รับการจัดลําดับให้เป็นอันดับที่ 1 แทนรัฐแทสมาเนีย ซึ่งได้อันดับ 1 เมื่อปีที่แล้ว
Renewable Superpower Scorecard เป็นการให้คะแนนด้านการใช้พลังงานทดแทนของรัฐและเทร์ริทอรีต่าง ๆ ของ WWF เริ่มต้นครั้งแรกในปี 2020 เพื่อประเมินประสิทธิภาพของแต่ละรัฐด้านการจัดการพลังงานทดแทนเพื่อนํา ออสเตรเลียไปสู่การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ภายในปี ค.ศ. 2050 วิธีการให้คะแนนแยกออกเป็น 11 หมวดหมู่ที่ครอบคลุมการดําเนินงาน 3 ประเภท ซึ่งเป็นเส้นทางเพื่อมุ่งสู่การเป็นมหาอํานาจด้านพลังงานหมุนเวียน ได้แก่ 1. การเปลี่ยนมาใช้พลังงานสะอาด 2. การใช้พลังงานไฟฟ้าทดแทนในระบบขนส่ง อาคาร และภาคอุตสาหกรรม 3. การส่งออกพลังงานทดแทนและผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับพลังงานทดแทน โดยมีคะแนนเต็มทั้งหมด 110 คะแนน
คะแนนของรัฐนิวเซาท์เวลส์ในปีนี้ ได้คะแนนเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 12 คะแนน รวมเป็น 71 คะแนน เอาชนะรัฐ แทสมาเนีย ที่ 69 คะแนน โดยในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา รัฐบาลรัฐนิวเซาท์เวลส์ได้ลงทุน 3,000 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียกับอุตสาหกรรมพลังงานทดแทนไฮโดรเจน รวมถึงแผน Electricity Infrastructure Roadmap ที่จะช่วยให้รัฐนิวเซาท์เวลส์เป็นมหาอํานาจด้านพลังงานในทศวรรษต่อ ๆ ไป
ถึงแม้ว่าจะไม่ได้รางวัลที่หนึ่ง แต่ว่าแต่ละรัฐของออสเตรเลียถือว่ามีความตื่นตัวด้านการออกนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ที่เห็นได้ชัดคือ รัฐควีนส์แลนด์ที่ตั้งเป้าว่าจะใช้พลังงานทดแทน 70% ภายในปี 2032 และ 80 % ภายในปี 2035 ส่วนรัฐวิกตอเรียเป็นรัฐแรกที่ประกาศว่าจะใช้พลังลมนอกชายฝั่งทะเล (offshore wind) เพื่อผลิตไฟฟ้าอย่างต่ำ 9 กิกะวัตต์ ภายในปี 2040
ความเคลื่อนไหวล่าสุดด้านพลังงานทดแทนของรัฐนิวเซาท์เวลส์
โครงการ Smart Energy Schools Pilot เป็นโครงการนําร่องเพื่อให้โรงเรียน 2,200 แห่ง ทั่วรัฐ นิวเซาท์เวลส์ หันมาใช้พลังงานทดแทนอย่างมีประสิทธิภาพ โดยการติดแผงโซลาร์เซลล์บนหลังคาตึก พร้อมระบบกักเก็บพลังงานด้วยแบตเตอรี่ ในระยะแรกของโครงการได้มีการติดตั้งให้โรงเรียน 24 แห่ง ผลลัพธ์คือช่วยลดการปล่อยคาร์บอนรวม 30 %และลดค่าไฟฟ้ามากกว่า 14,000 ดอลลาร์ออสเตรเลียต่อเดือน คาดว่าในช่วงต้นปี 2566 จะขยายไปยังโรงเรียนอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ซึ่งรัฐบาลของนิวเซาท์เวลส์ เชื่อว่าหากดําเนินโครงการนี้ได้สําเร็จจะผลิตไฟฟ้าได้ 145 เมกะวัตต์ซึ่งเทียบเท่ากับกําลังการผลิต ของโซลาร์ฟาร์มขนาดใหญ่และจะช่วยให้นักเรียนได้เรียนรู้เรื่องพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้น
สภาเทศบาล 7 แห่งของออสเตรเลียร่วมเซ็นสัญญาข้อตกลงการซื้อขายไฟฟ้า 10 ปีกับ บริษัท Red Energy เพื่อให้ได้ราคาพลังงานไฟฟ้าทดแทนที่คุ้มค่า ช่วยให้พิชิตเป้าหมายการใช้พลังงานทดแทน 100 % ภายในปี 2030 (ลดการปล่อยคาร์บอน 5,045 ตัน)
การแบ่งกลุ่ม Renewable Energy Zones (REZs) – เป็นโครงการระยะยาวเพื่อรองรับการเปลี่ยนผ่านจากพลังงานถ่านหินเป็นพลังงานทดแทน โดยรัฐบาลแบ่งโซนการผลิตพลังงานทดแทนตามหลักยุทธศาสตร์ 5 แห่ง ซึ่งกระจายไปทั่วรัฐเพื่อเป็นแหล่งผลิตพลังงานไฟฟ้าหล่อเลี้ยงรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้อย่างทั่วถึง
สถานกงสุลใหญ่ ณ นครซิดนีย์