The Minerals Council of Australia ได้รายงานข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสการลงทุนในธุรกิจแร่สําคัญของออสเตรเลีย (Critical minerals: investment opportunities in Australia) ดังนี้
[su_spacer]
ออสเตรเลียเป็นแหล่งแร่ธาตุสําคัญแห่งหนึ่งของโลก โดยเป็นแหล่งที่มีทรัพยากรแร่สําคัญหลายชนิดมากอันดับต้นของโลก โดยมีแร่ cobalt, niobium และ tungsten มากเป็นอันดับที่ 2 มีแร่ Lithium และ Vanadium มากเป็นอันดับที่ 3 มีแร่ antimony และ manganese มากเป็นอันดับที่ 4 และมีแร่ graphite มากเป็นอันดับที่ 7
[su_spacer]
ออสเตรเลียสามารถผลิตแร่สําคัญหลายชนิดได้มากเป็นอันดับต้นของโลก ได้แก่ แร่เหล็ก bauxite และ lithium มากเป็นอันดับที่ 1 ของโลก (ร้อยละ 60) แร่ rare earth elements (อาทิ neodymium, lanthanum, dysprosium, cerium) มากเป็นอันดับที่ 2 (ร้อยละ 12) และแร่ Cobalt มากเป็นอันดับที่ 3 (ร้อยละ 3)
[su_spacer]
นอกจากนี้ ออสเตรเลียยังมีเหมืองแร่และแหล่งแร่ธาตุสําคัญกระจายอยู่ตามรัฐต่างๆ ดังนี้
1) รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย มีแร่ cobalt, graphite, lithium, manganese, rare earth elements และ Vanadium
2) รัฐนอร์ทเทิร์นเทร์ริทอรี มีแร่ lithium ,manganese, rare earth elements, tungsten และ Vanadium
3) รัฐควีนส์แลนด์ มีแร่ cobalt, tungsten และ rhenium
4) รัฐเซาท์ออสเตรเลีย มีแร่ graphite และ heavy mineral sands
5) รัฐนิวส์เซาท์เวลส์ มีแร่ cobalt และ heavy mineral sands
6) รัฐวิกตอเรีย มีแร่ antimony และ heavy mineral sands
7) รัฐแทสเมเนีย มีแร่ tungsten
[su_spacer]
นอกเหนือจากจํานวนปริมาณแร่แล้ว ออสเตรเลียยังเหมาะสมแก่การลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ด้วยเหตุผลที่สําคัญหลายด้าน ได้แก่
1) ความมั่นคง ออสเตรเลียเป็นประเทศที่มีเสถียรภาพทางการเมืองและความมั่นคง จึงเป็นผู้ขายแร่ธาตุสําคัญที่มีความเสี่ยงต่ำในห่วงโซ่อุปทานของโลก
2) ด้านเทคโนโลยี ออสเตรเลียเป็นผู้นําระดับโลกในด้านความยั่งยืนและความปลอดภัยของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โดยมีอุปกรณ์ เครื่องจักร เทคโนโลยี และผู้ให้บริการต่าง ๆ ที่จําเป็นสําหรับอุตสาหกรรมเหมืองแร่ ตั้งแต่การวางแผน การก่อสร้าง การขุดเจาะ การถลุงและแปรรูป ไปจนถึงการปิดเหมืองแร่
3) ด้านเศรษฐกิจ ออสเตรเลียมีระบบโครงสร้างพื้นฐานทั้งด้านการขนส่งและสาธารณูปโภคที่มีประสิทธิภาพ สามารถสนับสนุนการดําเนินงานในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ออสเตรเลียเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศที่สามารถผลิตสินค้าปลายน้ำจากแร่ธาตุสําคัญได้หลากหลายชนิด จึงช่วยลดต้นทุนการขนส่งวัตถุดิบ และเสริมสร้างความมั่นคงของห่วงโซ่อุปทาน
4) ด้านการพัฒนาบุคลากร ออสเตรเลียลงทุนอย่างต่อเนื่องในการพัฒนาทุนมนุษย์ ผ่านการศึกษา ระดับอุดมศึกษาและการฝึกอบรมสายอาชีพ ส่งผลให้ออสเตรเลียมีแรงงานด้านเหมืองแร่ที่มีทักษะและความสามารถสูง
5) การสนับสนุนจากภาครัฐ รัฐบาลกลาง และรัฐบาลระดับรัฐล้วนมีนโยบายสนับสนุนการทําธุรกิจในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ รวมทั้งเปิดกว้างสําหรับการลงทุนจากต่างประเทศ รัฐบาลออสเตรเลียได้สํารวจเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งแร่ที่สําคัญอย่างกว้างขวางทั่วประเทศ และเผยแพร่ข้อมูลดังกล่าวแก่สาธารณชนด้วย
(ผู้สนใจสามารถสืบค้นรายละเอียดเพิ่มเติมได้จากเว็บไซต์ Austrade www.austrade.gov.au)
[su_spacer]
อุตสาหกรรมเหมืองแร่ถือเป็นแหล่งรายได้สําคัญแหล่งหนึ่งของออสเตรเลีย โดยในปี 2561 อุตสาหกรรมเหมืองแร่ออสเตรเลียสร้างมูลค่าเพิ่ม (Gross Value Added) ให้แก่ประเทศ จํานวน 86.2 พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย และสร้างงานให้ชาวออสเตรเลีย จํานวน 503,000 คน ส่วนใหญ่อยู่รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลีย
[su_spacer]
ในปี 2561 สถาบัน Fraser ซึ่งเป็นสถาบันวิจัยด้านเศรษฐกิจในแคนาดา ได้จัดสํารวจความน่าสนใจของการลงทุนในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ใน 83 รัฐ ทั่วโลก โดยได้จัดอันดับให้รัฐเวสเทิร์นออสเตรเลียเป็นแหล่งที่เหมาะสมกับการลงทุนด้านเหมืองแร่มากที่สุด อันดับที่ 2 ของโลก รองลงมาจากรัฐ Nevada สหรัฐอเมริกา ส่วนรัฐควีนส์แลนด์ นอร์ทเทิร์นเทร์ริทอรี และรัฐเซาท์ออสเตรเลีย อยู่ในอันดับที่ 13, 23 และ 24 ตามลําดับ
[su_spacer]
ปัจจุบัน บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ได้ลงทุนทําธุรกิจเหมืองถ่านหินที่รัฐนิวเซาท์เวลส์ ผ่านการลงทุนในบริษัท Centennial โดยมีธุรกิจเหมืองถ่านหิน 10 แห่ง มีกําลังการผลิตรวม 15 ล้านตันต่อปี โดยร้อยละ 40 ของการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินในรัฐนิวเซาท์เวลส์ ใช้ถ่านหินที่ผลิตโดย Centennial จากกําลังการผลิตดังกล่าว คิดเป็นร้อยละ 65 ของการใช้ภายในออสเตรเลีย
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา มีข้อคิดเห็นว่า การลงทุนธุรกิจเหมืองแร่ในออสเตรเลียในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่ภาคเอกชนไทย เนื่องจากสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียอ่อนค่าต่ำสุดในรอบกว่าสิบปี ส่งผลทําให้ต้นทุนในการลงทุนในออสเตรเลียต่ำกว่าที่ผ่านมา นอกจากนี้ โดยที่เงินบาทเป็นสกุลเงินที่แข็งค่าที่สุดในเอเชีย จึงช่วยให้นักธุรกิจไทยสามารถเข้าไปลงทุนในออสเตรเลีย โดยมีต้นทุนที่ต่ำกว่านักลงทุนจากหลายประเทศ อย่างไรก็ดี ในปัจจุบัน ออสเตรเลียมีค่าแรงขั้นต่ำสูงที่สุดในโลก ที่ 14.14 ดอลลาร์สหรัฐต่อชม. ประกอบกับการมีสหภาพแรงงานที่เข้มแข็ง รวมทั้งมีระเบียบและกฎหมายแรงงานที่เอื้อประโยชน์ต่อแรงงาน จึงอาจทําให้ต้นทุนสูงกว่าการลงทุนในประเทศอื่น รวมทั้งความยากในการบริหารจัดการแรงงาน ซึ่งภาคเอกชนไทยที่ไปลงทุนในออสเตรเลียได้ประสบมาแล้ว จึงมีความจําเป็นที่เอกชนที่สนใจจะต้องศึกษาข้อมูลรายละเอียด กฎระเบียบ สิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ให้แน่ชัดก่อนที่จะพิจารณาไปลงทุนในออสเตรเลีย
[su_spacer]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงแคนเบอร์รา