ภาพรวมเศรษฐกิจอาร์เจนตินาปี 2561
ในปี 2561 สถานการณ์เศรษฐกิจโดยรวมของอาร์ เจนตินาได้ปรับตัวในทิศทางที่ แย่ลงจากปีที่ผ่านมา โดยได้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่ างฉับพลันในช่วงกลางปี ซึ่งรวมถึงการที่ค่าสกุลเงิ นเปโซอาร์เจนตินาต่อดอลลาร์สหรั ฐได้ลดลงร้อยละ 50 จากช่วงต้นปี นอกจากนี้ยังมีปัญหาการปรับตั วสูงขึ้นของอัตราเงินเฟ้อ ระดับหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรั ฐที่อยู่ในระดับที่สูงมาก การขาดดุลงบประมาณภาครัฐ การเพิ่มขึ้นของอัตราว่างงาน ภัยแล้งที่ส่งผลกระทบอย่างหนั กต่อรายได้จากการส่งออกถั่วเหลื องและข้าวโพด ซึ่งปัจจัยต่าง ๆ เหล่านี้ ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจในภาพรวมเข้ าสู่สภาวะถดถอย ทำให้รัฐบาลจำเป็นต้องกู้เงิ นจาก IMF รวม 56,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ สถิติทางเศรษฐกิจที่สำคัญในปี 2561 ประกอบด้วย (1) อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ หดตัวร้อยละ 2 (ปี 2560 เติบโตร้อยละ 2.7) (2) ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) 456,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ปี 2560 637,100 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) (3) อัตราเงินเฟ้อ (เฉลี่ยต่อปี) ร้อยละ 34.3 (ปี 2560 อยู่ที่ร้อยละ 26.2) (4) อัตราแลกเปลี่ยน (เฉลี่ยต่อปี) 28.18 เปโซต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ (อัตราเฉลี่ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 38.80 เปโซต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ) และ (5) อัตราการว่างงาน (เฉลี่ยต่อปี) ร้อยละ 9.4 [su_spacer size=”20″]
ทั้งนี้ ปัจจัยต่าง ๆ ที่ก่อให้เกิดวิกฤตเศรษฐกิ จและสร้างอุปสรรคต่อการแก้ไขปั ญหาเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก ประกอบด้วย [su_spacer size=”20″]
ปัจจัยภายใน ได้แก่ (1) ปัญหาการขาดดุลบัญชีเดินสะพั ดและบัญชีภาคบริการจำนวนมหาศาล เนื่องจากนโยบายประชานิ ยมและการอุดหนุนสาธารณู ปโภคและนโยบายปิดประเทศที่รั ฐบาลของประธานาธิบดี Macri รับช่วงปัญหามาจากรัฐบาลเดิ มของนาง CFK (2) ปัญหาการทุจริตที่เรื้อรั งของอาร์เจนตินาและโดยเฉพาะคดี Notebook Scandal ที่ได้ปะทุขึ้นในเดือนสิงหาคม 2561 ทำให้นักลงทุนขาดความมั่ นใจและขายเงินเปโซเป็นจำนวนมาก จนส่งผลให้ค่าเงินเปโซลดลงอย่ างมีนัยยะ และ (3) ปัญหาภัยแล้งที่หนักที่สุดในรอบ 50 ปี ส่งผลกระทบให้ผลผลิตถั่วเหลื องและข้าวโพดลดลงร้อยละ 27 ทั้งนี้ ถั่วเหลืองเป็นรายได้หลักสำคั ญของการส่งออกของอาร์เจนตินา ซึ่งภัยแล้งในปี 2561 ทำให้ผลิตผลถั่วเหลือลดหายไป 36 ล้านตัน (ผลิตผลระหว่างปี 2556-2560 เฉลี่ยปีละ 55.6 ล้านตัน) ส่งผลให้อาร์เจนตินาสูญเสี ยรายได้ถึง 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ร้อยละ 1 ของ GDP) ทั้งนี้ ภัยแล้งเป็นปัจจัยเดียวที่ไม่ ได้เกิดจากปัญหาของปัจจัยพื้ นฐานทางเศรษฐกิจ [su_spacer size=”20″]
ปัจจัยภายนอก ได้แก่ นโยบายสงครามการค้าของสหรั ฐโดยรวม รวมทั้งสงครามการค้าระหว่างสหรั ฐกับจีน มาตรการทางการเงินของสหรัฐ นโยบายกีดกันการค้าที่เพิ่มขึ้ นทั่วโลก และสถานการณ์การเมืองและเศรษฐกิ จของบราซิลคาดว่าจะส่งผลกระทบต่ อสภาวะเศรษฐกิจอาร์เจนติ นาและทำให้แผนการที่รัฐบาลได้ วางไว้เพื่อการฟื้นฟู สภาวะเศรษฐกิจหยุดชะงักลงได้ ซึ่งปัจจัยภายนอกต่าง ๆ อาทิ การขึ้นอัตราดอกเบี้ยในสหรั ฐและการเกิด วิกฤตเศรษฐกิจในประเทศเศรษฐกิ จเกิดใหม่นั้นจะสร้างความวิ ตกให้นักลงทุนและทำให้เกิ ดการนำเงินทุนออกไปจากอาร์เจนติ นาได้ ซึ่งจะส่งผลให้ค่าเงิ นเปโซของอาร์เจนตินาอ่อนตัวลงอี ก [su_spacer size=”20″]
พยากรณ์ทางเศรษฐกิจอาร์เจนติ นาปี 2562
(1) การเติบโตทางเศรษฐกิจ (economic activity) คาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิ จถดถอยจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่ องตลอดปี 2562 โดย IMF ได้ประมาณการว่าเศรษฐกิจจะหดตั วร้อยละ 1.6 ส่วน OECD ได้ประมาณการว่าเศรษฐกิจอาร์ เจนตินาจะหดตัวร้อยละ 2 ซึ่งหากเกิดภัยธรรมชาติซึ่งส่ งผลต่อการผลิตพื ชผลทางการเกษตรของอาร์เจนตินาขึ้ นอีก รวมทั้งปัจจัยภายนอก เช่น ความผันผวนในประเทศเศรษฐกิจเกิ ดใหม่ การขึ้นอัตราดอกเบี้ ยของธนาคารกลางสหรัฐก็จะส่ งผลกระทบต่อเศรษฐกิจอาร์เจนติ นาอีกด้วย [su_spacer size=”20″]
(2) การค้ากับต่างประเทศ ได้มีการวิเคราะห์ว่าการค้ าระหว่างประเทศของอาร์เจนตินาน่ าจะปรับตัวดีขึ้นในปี 2562 เนื่องจากการผลิตพื ชผลทางการเกษตรโดยรวมน่าจะปรั บตัวดีขึ้น โดยคาดการณ์ว่าการผลิตถั่วเหลื อง ข้าวสาลี และข้าวโพดที่ดีขึ้นนั้นจะส่ งผลทำให้อาร์เจนตินาได้ดุลการค้ าประมาณ 1,860 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยถั่วเหลืองน่าจะเป็นปัจจั ยสำคัญส่วนหนึ่งในการช่วยฟื้นฟู เศรษฐกิจในปี 2562 แต่อาจจะยังไม่เพียงพอเพื่อ ผลักดันการขยายตัวของการค้ าในภาพรวม แม้ว่ารัฐบาลจะหวังว่าเงิ นเปโซที่อ่อนค่าจะส่งผลให้การส่ งออกด้านพืชผลเกษตรของอาร์เจนติ นาเพิ่มขึ้นอย่างมาก [su_spacer size=”20″]
(3) อัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงิ นเปโซอาร์เจนตินาต่อดอลลาร์สหรั ฐ อัตราแลกเปลี่ยนเมื่อปลายเดื อนธันวาคม 2561 ได้ปรับตัวมีเสถียรภาพขึ้ นโดยอยู่ที่ประมาณ 36-38 เปโซต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ แต่มีการคาดการณ์ว่า ในปี 2562 เงินดอลลาร์สหรัฐอาจจะปรับตั วแข็งขึ้นและการขึ้นอัตราดอกเบี้ ยของธนาคารกลางสหรัฐคาดว่าจะส่ งผลกระทบต่อค่าเงินเปโซอาร์ เจนตินาให้อ่อนค่าลงไปอีก โดยในปี 2562 ธนาคารกลางอาร์เจนตินาคาดการณ์ ว่าอัตราแลกเปลี่ยนของเงิ นเปโซจะลดไปถึง 48.5 เปโซต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐภายในสิ้นปี 2562 [su_spacer size=”20″]
(4) อัตราเงินเฟ้อ มีการคาดการณ์ว่าอัตราเงินเฟ้ อในปี 2562 จะอยู่ที่ร้อยละ 27.5 ซึ่งความสามารถของรัฐบาลที่ จะควบคุมอัตราเงินเฟ้อให้ปรับตั วลดลงจะเป็นปัจจัยที่ส่งผลต่ อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจอาร์ เจนตินาในปี 2562 [su_spacer size=”20″]
(5) อัตราดอกเบี้ย ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ยยังคงอยู่ ในระดับที่สูงที่ร้อยละ 60 โดยหากอัตราเงินเฟ้อสามารถปรั บลดลงได้ธนาคารกลางก็ จะสามารถปรับลดอัตราดอกเบี้ ยลงให้สอดคล้องกัน โดยภายในสิ้นปี 2562 อัตราดอกเบี้ยอาจจะลดลงเหลืออยู่ ที่ร้อยละ 38 ซึ่งการลดอัตราดอกเบี้ยจะส่ งผลให้ธุรกิจขนาดเล็กสามารถมี เงิน หมุนเวียนมากขึ้น ส่งเสริมการสร้างงานและเป็ นการช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ [su_spacer size=”20″]
(6) ความพยายามของอาร์เจนติ นาในการเข้าเป็นสมาชิก OECD ได้ส่งสัญญาณที่สำคัญให้กับนั กลงทุนต่างชาติ ซึ่งอาร์เจนตินาเป็นประเทศผู้ สมัครประเทศเดียวจาก 6 ประเทศที่ได้รับการสนับสนุนอย่ างเต็มที่จากสหรัฐ [su_spacer size=”20″]
(7) ปัจจัยที่สำคัญที่ต้องติดตามอย่ างใกล้ชิด ได้แก่ (1) ผลการเลือกตั้งทั่วไปในเดือนตุ ลาคม 2562 จะมีผลต่อการที่อาร์เจนติ นาจะสามารถได้รับเงินกู้จาก IMF ต่อตลอดจนสิ้นปี 2563 ตามความตกลงที่ได้ทำไว้หรือไม่ โดยคำนึงว่านักลงทุนทั้ งภายในและต่างประเทศมีความหวั่ นเกรงกับการกลับคืนสู่ อำนาจของนาง CFK ซึ่งคาดว่าจะใช้มาตรการที่ อาจไม่เป็นไปตามแนวทางของ IMF หรืออาจเกิดเหตุการณ์ที่อาร์ เจนตินาขอถอนตัวจากความตกลงที่ ได้ทำไว้ ซึ่งหากเป็นเช่นนั้นอาร์เจนติ นาจะไม่สามารถชำระหนี้ระหว่ างประเทศคืนได้และจะส่งผลให้เกิ ดวิบัติภัยทางเศรษฐกิจในอาร์ เจนตินาได้ (2) คดีทุจริต “Notebook Scandal” จะมีผลกระทบต่อการเลือกตั้ งและเศรษฐกิจของอาร์เจนตินา ซึ่งในขณะนี้อยู่ระหว่ างการดำเนินคดีกับอดีตประธานาธิ บดี CFK ในศาล รวมทั้งมีสมาชิกครอบครั วของประธานาธิบดี Macri อยู่ระหว่างการถูกสอบสวนด้วย และถึงแม้ว่าประธานาธิบดี Macri เองไม่ได้มีส่วนพัวพันในคดีดั งกล่าวแต่ก็อาจส่งผลลบต่อภาพลั กษณ์ได้ (3) การพิจารณาร่างกฎหมายว่าด้ วยการทำแท้งในรัฐสภาที่จะมีขึ้ นอีกครั้งจะส่งผลให้สั งคมและการเมืองอาร์เจนตินาเกิ ดความแตกแยกยิ่งขึ้น และอาจส่งผลให้เกิ ดความแตกแยกในพรรคร่วมรัฐบาล Cambiemos ซึ่งจะส่งผลต่อความมั่ นคงของการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจได้ และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างบราซิลกั บอาร์เจนตินาภายหลังการเข้ารั บตำแหน่งประธานาธิบดีใหม่ ของบราซิล โดยหากประธานาธิบดี Jair Bolsonaro ของบราซิลเปลี่ยนนโยบายการค้ าของประเทศเป็นการมุ่งเน้นการค้ าทวิภาคีกั บประเทศมหาอำนาจแทนการใช้ กรอบพหุภาคีเดิม เช่น MERCOSUR ก็จะส่งผลกระทบในทางลบต่อการส่ งออกของอาร์เจนตินาได้ [su_spacer size=”20″]
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบัวโนสไอเรส