มณฑลยูนนาน
GDP ขยายตัวร้อยละ 3.3 ต่ํากว่าเป้าหมายทั้งปีที่จีนและมณฑลยูนนานต่างตั้งไว้ที่ร้อยละ 5 ทั้งนี้ ยูนนานมีมูลค่า GDP 3,153,410 ล้านหยวน แบ่งเป็นภาคการเกษตร 419,292 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5 ภาคอุตสาหกรรม 1,033,003 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 และภาคบริการ 1,701,115 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.9 มีสัดส่วนภาคเกษตร:อุตสาหกรรม:บริการ อยู่ที่ 13:33:54 ส่วน GDP ต่อหัว อยู่ที่ 67,612 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8
ภาคการเกษตรยังคงมีเสถียรภาพ โดยในปี 2567 ยูนนานมุ่งเน้นการส่งเสริมผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น การพัฒนาสิ่งอํานวยความสะดวกทางการเกษตร และความมั่นคงทางอาหาร เช่น การผลิตธัญพืช และน้ํามันจากพืช รวมถึงการพัฒนาอุตสาหกรรมการเกษตรที่สําคัญของมณฑล 14 ประเภทให้มีความแข็งแกร่งยิ่งขึ้น (ได้แก่ ธัญพืช ใบชา ดอกไม้ ผักและเห็ด ผลไม้ ถั่วเปลือกแข็ง (วอลนัท และแมคคาดิเมีย) กาแฟ สมุนไพรจีน วัว (รวมแพะหรือแกะและผลิตภัณฑ์นม) สุกรมีชีวิต การท่องเที่ยวชนบท ยาสูบ อ้อย และยางพารา) ในด้านสถิติ การเกษตรหลัก 5 ประเภทของมณฑล ได้แก่ การเพาะปลูก ป่าไม้ ปศุสัตว์ ประมง และอื่น ๆ (เช่น เมล็ดพันธุ์และการเพาะต้นกล้า เครื่องจักรทางการเกษตร การทดน้ํา การป้องกันโรคและศัตรูพืช) ล้วนมีอัตราการขยายตัวเป็นบวก ยกเว้นด้านปศุสัตว์ที่อัตราการเติบโตติดลบ
ภาคอุตสาหกรรมเติบโตด้วยดี โดยอุตสาหกรรมโดดเด่นของมณฑลส่วนใหญ่ขยายตัวเป็นบวก ยกเว้นอุตสาหกรรมเหมืองแร่ที่หดตัว เช่น อุตสาหกรรมการผลิตขยายตัวร้อยละ 3.0 ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 7.1 และยาสูบขยายตัวร้อยละ 1.9 ขณะเดียวกัน อุตสาหกรรมพลังงาน “3 สิ่งใหม่” ได้แก่ อุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทําจากซิลิคอน อะลูมิเนียมคาร์บอนต่ํา (Green Aluminium) และแบตเตอรี่พลังงานใหม่ล้วนขยายตัวเป็นบวก และกําลังได้รับการพัฒนาจนก่อตัวขึ้นอย่างแข็งแกร่ง โดยอุตสาหกรรมเซลล์แสงอาทิตย์ที่ทําจากซิลิคอนขยายตัวร้อยละ 0.7 อะลูมิเนียมคาร์บอนต่ําขยายตัวร้อยละ 11.7 และแบตเตอรี่พลังงานใหม่ขยายตัวร้อยละ 23.6
ภาคบริการมีการพัฒนาที่ดี โดยเฉพาะธุรกิจบริการสมัยใหม่เติบโตอย่างมาก เช่น ธุรกิจอินเทอร์เน็ตและบริการที่เกี่ยวข้องเติบโตร้อยละ 60.3 และธุรกิจซอฟต์แวร์และเทคโนโลยีสารสนเทศเติบโตร้อยละ 41.4
การค้าระหว่างประเทศลดลงร้อยละ 4.9 โดยมีมูลค่ารวม 34,965 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการนําเข้า 21,967 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 7.0 และการส่งออก 12,998 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 1.1 คู่ค้าสําคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ เมียนมา เวียดนาม ซาอุดีอาระเบีย ลาว รัสเซีย ไทย สหรัฐฯ บราซิล คูเวต กาตาร์ ขณะที่การค้ากับประเทศไทยลดลงร้อยละ 4.2 โดยมีมูลค่ารวม 1,846 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าการนําเข้าจากไทยของมณฑลยูนนาน 1,232 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 6.3 และมูลค่าการส่งออกมาไทยของมณฑลยูนนาน 614 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.3 สินค้านําเข้าสําคัญจากไทยของยูนนาน 5 อันดับแรก ได้แก่ ผลไม้ (ทุเรียน มังคุด ลําไย ส้มโอ ขนุน) เคมีภัณฑ์เบ็ดเตล็ด ชิ้นส่วนไก่แช่แข็ง สินค้าเบ็ดเตล็ด และผลิตภัณฑ์ทางเภสัชกรรมอื่น ๆ สินค้าส่งออกสําคัญจากยูนนานไปไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ ผัก (กะหล่ําปม และเคล พริก บล็อกโคลี ผักกาดหอม กะหล่ําปลี กะหล่ําดอก) ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต ผลไม้ (องุ่น ส้ม) เคมีภัณฑ์ เบ็ดเตล็ด ล้อและอุปกรณ์ของรถยนต์ขนส่งบุคคล 10 คนขึ้นไป
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรหดตัวร้อยละ 7.7 แบ่งเป็นการลงทุนในภาคการเกษตรขยายตัวร้อยละ 2.7 ในขณะที่ภาคอุตสาหกรรมลดลงร้อยละ 1.9 และภาคบริการลดลงร้อยละ 11.4
ยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 2.9 โดยมีมูลค่า 1,249,084 ล้านหยวน ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวที่ดี ได้แก่ อุปกรณ์สื่อสาร เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน และเครื่องใช้สํานักงานด้านวัฒนธรรม ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวลดลง เช่น เครื่องสําอาง เครื่องประดับ และวัสดุก่อสร้าง
ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 และดัชนีราคาผู้ผลิตอุตสาหกรรม (PPI) ลดลงร้อยละ 0.1 ทั้งนี้ ในบรรดาสินค้า 8 ประเภทหลัก ได้แก่ อาหาร เหล้าบุหรี่ เสื้อผ้า ที่พักอาศัย ของใช้ในชีวิตประจําวัน การสื่อสารและคมนาคม การศึกษาวัฒนธรรมและสันทนาการ การดูแลสุขภาพ และของใช้อื่น ๆ) ส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวเป็นบวก ยกเว้นสินค้าประเภทอาหารเหล้าบุหรี่ การสื่อสารและคมนาคม มีอัตราการขยายตัวติดลบ
มณฑลกุ้ยโจว
GDP ขยายตัวร้อยละ 5.3 สูงกว่าเป้าหมายทั้งปีของจีนที่ตั้งไว้ร้อยละ 5 แต่ต่ํากว่าเป้าหมายทั้งปีของมณฑลกุ้ยโจวซึ่งตั้งไว้ที่ร้อยละ 5.5 ทั้งนี้ กุ้ยโจวมีมูลค่า GDP 2,266,712 ล้านหยวน แบ่งเป็นภาคการเกษตร 297,166 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.8 ภาคอุตสาหกรรม 709,758 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.7 และภาคบริการ 1,259,788 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 มีสัดส่วนภาคเกษตร:อุตสาหกรรม:บริการ อยู่ที่ 13:31:56 ส่วน GDP ต่อหัว อยู่ที่ 58,685 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.2
ภาคการเกษตรยังคงมีเสถียรภาพ และสินค้าเกษตรโดดเด่นของมณฑลเติบโตด้วยดี โดยธัญพืชขยายตัวร้อยละ 2.4 สมุนไพรจีนขยายตัวร้อยละ 10.7 ผลไม้ขยายตัวร้อยละ 5.9 ใบชาขยายตัวร้อยละ 7.0 และพืชผักขยายตัวร้อยละ 4.2
ภาคอุตสาหกรรมเติบโตด้วยดี โดยอุตสาหกรรมที่เติบโตอย่างรวดเร็ว เช่น การผลิตรถยนต์ขยายตัวร้อยละ 66.2 การหลอมและแปรรูปโลหะที่ไม่ใช่เหล็กขยายตัวร้อยละ 37.6 การผลิตเครื่องจักรและอุปกรณ์ ไฟฟ้าขยายตัวร้อยละ 34.5 แผงวงจรรวมขยายตัวร้อยละ 174.4 วัสดุอะลูมิเนียมขยายตัวร้อยละ 29.9 และสินค้าเกี่ยวกับพริกขยายตัวร้อยละ 15.7
ภาคบริการดําเนินงานอย่างราบรื่น โดยธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศขยายตัวร้อยละ 11.5 การขนส่งเติบโตร้อยละ 9.5 บริการให้เช่าเติบโตร้อยละ 9.0 ร้านอาหารและโรงแรมเติบโตร้อยละ 8.5 การเงินเติบโต ร้อยละ 2.1 และอสังหาริมทรัพย์เติบโตร้อยละ 0.3 ในส่วนของการท่องเที่ยว ปี 2567 มณฑลกุ้ยโจวมีจํานวน นักท่องเที่ยว 702 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.4 ในจํานวนนี้เป็นชาวต่างชาติ 290,600 คน รวมถึงมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 838,812 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3
การค้าระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.2 โดยมีมูลค่ารวม 12,103 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการนําเข้า 3,977 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2 และการส่งออก 8,126 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.9 คู่ค้าสําคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง ไต้หวัน สหรัฐฯ มาเลเซีย อินโดนีเซีย เกาหลีใต้ ไทย ออสเตรเลีย บราซิล ญี่ปุ่น ขณะที่การค้ากับประเทศไทยเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.3 โดยมีมูลค่ารวม 501 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าการนําเข้าจากไทยของมณฑลกุ้ยโจว 145 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 25.0 และมูลค่าการส่งออกมาไทยของมณฑลกุ้ยโจว 356 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.1 สินค้านําเข้าสําคัญจากไทยของกุ้ยโจว 5 อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา ผลไม้ (ทุเรียน ลําไย มังคุด) วงจรรวม ผ้าขนชนิดขนยาว (Long Pile Fabric) และอุปกรณ์โซลาร์เซลล์ สินค้าส่งออกสําคัญจากมณฑลกุ้ยโจวมาไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ กรดฟอสฟอริก (ฟู้ดเกรด) ปุ๋ยไดแอมโมเนียมฟอสเฟต สุราขาว แคลเซียมฟอสเฟต และปุ๋ยโมโนแอมโมเนียมฟอสเฟต
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวร้อยละ 0.6 โดยการลงทุนในภาคเกษตรลดลงร้อยละ 13.3 และภาคบริการลดลงร้อยละ 3.8 ขณะที่การลงทุนในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 หากพิจารณาตามประเภทธุรกิจ การลงทุนที่มีอัตราการขยายตัวเป็นบวก ได้แก่ ธุรกิจร้านอาหารและโรงแรม เทคโนโลยีสารสนเทศ ไฟฟ้า ชลประทานและสิ่งอํานวยความสะดวกสําหรับพื้นที่สาธารณะ สําหรับการลงทุนด้านอสังหาริมทรัพย์ แบ่งเป็นการลงทุนในที่อยู่อาศัยลดลงร้อยละ 1.6 ในขณะที่การลงทุนในอาคารสํานักงานเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และอาคารเพื่อการพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4
ยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 3.7 โดยมีมูลค่า 934,238 ล้านหยวน ส่วนสินค้าที่มีอัตราการขยายตัวเป็นบวก เช่น บุหรี่และสุรา สิ่งพิมพ์ เครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้าน อุปกรณ์สื่อสาร และรถยนต์พลังงานใหม่ สินค้าที่มี อัตราการขยายตัวติดลบ เช่น อาหาร เครื่องสําอาง ของใช้ในชีวิตประจําวัน และด้านสันทนาการ
CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 และ PPI ลดลงร้อยละ 0.9 ทั้งนี้ ในบรรดาสินค้า 8 ประเภทหลัก ส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวเป็นบวก ยกเว้นสินค้าประเภทอาหาร เหล้าบุหรี่ การสื่อสารและคมนาคม มีอัตราการขยายตัวติดลบ
มณฑลหูหนาน
GDP ขยายตัวร้อยละ 4.8 ต่ํากว่าเป้าหมายทั้งปีของจีนที่ตั้งไว้ร้อยละ 5 และต่ํากว่าเป้าหมายทั้งปีของมณฑลหูหนานซึ่งตั้งไว้ที่ร้อยละ 6 ทั้งนี้ หูหนานมีมูลค่า GDP 5,323,099 ล้านหยวน แบ่งเป็นภาคการเกษตร 489,969 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.0 ภาคอุตสาหกรรม 1,953,464 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.7 และภาคบริการ 2,879,666 ล้านหยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.5 มีสัดส่วนภาคเกษตร:อุตสาหกรรม:บริการ อยู่ที่ 9:37:54 ส่วน GDP ต่อหัว อยู่ที่ 81,225 หยวน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3
ภาคการเกษตรโดยรวมยังคงรักษาเสถียรภาพได้ดี แม้มณฑลหูหนานจะประสบกับสภาพภูมิอากาศที่รุนแรง เช่น หิมะ และน้ําท่วม แต่ได้พยายามอย่างเต็มที่เพื่อรักษาเสถียรภาพผลผลิตทางการเกษตร โดยยังคงให้ผลผลิตธัญพืชรวมมากกว่า 30,000 ล้านกิโลกรัม/ปี ติดต่อกันเป็นปีที่ 5 (ปี 2563-2567) ส่วนผลผลิต สินค้าเกษตรที่ขยายตัวเป็นบวก เช่น น้ํามันจากพืช ขยายตัวร้อยละ 3.1 และใบชาขยายตัวร้อยละ 4.0 ส่วนสินค้าเกษตรที่หดตัว เช่น ยาสูบลดลงร้อยละ 4.8 และปศุสัตว์ลดลงร้อยละ 1.1
ภาคอุตสาหกรรมเติบโตด้วยดี โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้เทคโนโลยี เช่น อุตสาหกรรมการผลิตที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงขยายตัวร้อยละ 13.7 และอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ขยายตัวร้อยละ 8.4 หากแยกตามชนิดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมที่มีปริมาณการผลิตขยายตัวเป็นบวกและเติบโตอย่างมาก เช่น รถยนต์ หม้อแปลง ไฟฟ้า และกระจกแผ่น ส่วนอุตสาหกรรมที่ปริมาณการผลิตลดลง เช่น ปุ๋ย ซีเมนต์ และรถเครน
ภาคบริการเติบโตค่อนข้างดี โดยภาคบริการ เช่น การขนส่ง ค้าส่งและค้าปลีก ร้านอาหารและ โรงแรม การเงิน เทคโนโลยีสารสนเทศ และบริการให้เช่า ล้วนขยายตัวเป็นบวก ยกเว้นธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ขยายตัวลดลง ร้อยละ 2.1 ส่วนการท่องเที่ยวเติบโตดีต่อเนื่อง โดยในปี 2567 มณฑลหูหนานมีจํานวนนักท่องเที่ยวรวม 741.77 ล้านคน ในจํานวนนี้เป็นชาวต่างชาติ 3.22 ล้านคน เพิ่มขึ้นร้อยละ 187.7 และมีรายได้จากการท่องเที่ยวรวม 1,065,380 ล้านหยวน ในจํานวนนี้เป็นรายได้จากการท่องเที่ยวของชาวต่างชาติ 1,616.72 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 456.5 จํานวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ 5 อันดับแรก ได้แก่ เกาหลีใต้ มาเลเซีย ไทย สิงคโปร์ และเวียดนาม
การค้าระหว่างประเทศลดลงร้อยละ 9.9 โดยมีมูลค่ารวม 79,234 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นการนําเข้า 32,224 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.7 และการส่งออก 47,010 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 17.8 คู่ค้าสําคัญ 10 อันดับแรก ได้แก่ ฮ่องกง สหรัฐฯ มาเลเซีย บราซิล เกาหลีใต้ รัสเซีย ไต้หวัน ออสเตรเลีย เวียดนาม อินโดนีเซีย ขณะที่การค้ากับประเทศไทยลดลงร้อยละ 18.8 โดยมีมูลค่ารวม 2,046 ล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นมูลค่าการนําเข้าจากไทยของมณฑลหูหนาน 1,033 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 11.7 และมูลค่าการส่งออกมาไทยของมณฑลหูหนาน 1,013 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ลดลงร้อยละ 25.0 สินค้านําเข้าสําคัญจากไทยของหูหนาน 5 อันดับแรก ได้แก่ ยางพารา ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ วงจรรวม ผลไม้ (ทุเรียน ลําไย มังคุด) สินแร่และหัวแร่พลวง สินค้าส่งออกสําคัญจากหูหนานมาไทย 5 อันดับแรก ได้แก่ วงจรรวม ชิ้นส่วนการประมวลผลสําหรับคอมพิวเตอร์ ท่อผนังบ่อ (Casing) เครื่องประมวลผลข้อมูลแบบพกพา และรถบรรทุกขับเคลื่อนด้วยไฟฟ้า
การลงทุนในสินทรัพย์ถาวรขยายตัวร้อยละ 2.8 โดยการลงทุนในภาคการเกษตรลดลงร้อยละ 10.5 การลงทุนภาคบริการลดลงร้อยละ 1.8 ขณะที่การลงทุนภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.4
ยอดค้าปลีกขยายตัวร้อยละ 5.4 โดยมีมูลค่า 2,046,390 ล้านหยวน โดยสินค้าในภาพรวม เช่น อาหาร บุหรี่และสุรา อุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน เวชภัณฑ์ อุปกรณ์สื่อสาร และรถยนต์ ล้วนขยายตัวเป็นบวก ส่วนสินค้าที่มีความเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสินค้าอัจฉริยะเติบโตอย่างมาก เช่น อุปกรณ์สวมใส่อัจฉริยะ (Wearable smart devices) ขยายตัวร้อยละ 20.9 สมาร์ทโฟนขยายตัวร้อยละ 52.6 และรถยนต์พลังงานใหม่ ขยายตัวร้อยละ 58
CPI เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และ PPI ลดลงร้อยละ 0.7 ทั้งนี้ ในบรรดาสินค้า 8 ประเภทหลัก ส่วนใหญ่มีอัตราการขยายตัวเป็นบวก ยกเว้นสินค้าประเภทการสื่อสารและคมนาคม และที่อยู่อาศัย มีอัตราการขยายตัวติดลบ



ข้อมูล: สถานกงสุลใหญ่ ณ นครคุนหมิง
เรียบเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์