Wednesday, May 14, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home Glob Insight

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025
in Glob Insight
0
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 
0
SHARES
7
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

เมื่อวันที่ 16 เมษายน 2568 นายลอเรนซ์ หว่อง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้กล่าวปาฐกถาใน S Rajaratnam Lecture ณ Singapore University of Technology and Design (SUTD) ซึ่งเป็นหนึ่งในกิจกรรมในโอกาสครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งประเทศในปี 2568 

พัฒนาการของสิงคโปร์

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์กล่าวถึงพัฒนาการของสิงคโปร์ตั้งแต่การก่อตั้งประเทศ เมื่อปี 2508 (ค.ศ. 1965) จากประเทศเล็ก ๆ ที่ไม่มีทรัพยากรได้กลายเป็นรัฐชาติที่มีความเจริญก้าวหน้า ทันสมัย และได้รับการยอมรับในระดับโลก โดยความสําเร็จนี้เป็นผลจากระเบียบโลกเสรีนิยมในยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสหรัฐอเมริกามีบทบาทนําในการส่งเสริมสภาพแวดล้อมของโลกที่มีเสถียรภาพ มีระบบการค้าที่เสรี และมีการจัดตั้งสถาบันพหุภาคีที่สําคัญ เช่น UN, IME, World Bank และ WTO ซึ่งระบบโลกในช่วงดังกล่าวเอื้อต่อความร่วมมือระหว่างประเทศ และเปิดโอกาสให้ประเทศขนาดเล็ก อาทิ สิงคโปร์ สามารถมีพื้นที่ในเวทีโลกและเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกได้อย่างเท่าเทียม 

โลกที่เปลี่ยนผันและกติกาที่ไม่เหมือนเดิม 

นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์แสดงความกังวลต่อระเบียบโลกที่เคยสร้างเสถียรภาพ และความมั่นคงกําลังถูกท้าทาย โดยสหรัฐอเมริกามุ่งลดบทบาทภายนอกของตนและหันกลับมาเน้นการจัดการปัญหาภายในประเทศมากขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงนี้อาจไม่ใช่เพียงชั่วคราวเท่านั้นและจะสะท้อนถึง “the new normal” ในสหรัฐอเมริกาไปอีกระยะหนึ่ง ขณะที่จีนได้พัฒนาขึ้นมาเป็นมหาอํานาจของโลกตะวันออกและต้องการรักษา “China’s rightful place in the world” ทําให้ทั้งสองประเทศเผชิญกับการแข่งขันที่เข้มข้นเพื่อช่วงชิงความเป็นมหาอํานาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของโลก ทั้งนี้ ความเป็นปฏิปักษ์ระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนกําลัง reshape โลกของเราและจะยังคงเป็นตัวกําหนดฉากทัศน์ทางภูมิรัฐศาสตร์ของโลกในอีกหลายปีข้างหน้า ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้ก่อให้เกิดสภาวะของการแข่งขัน ความหวาดระแวง กระแสชาตินิยมและการปกป้องทางเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นทั่วโลก รวมถึงความอ่อนแอของสถาบันระหว่างประเทศและกติกาของระบบพหุภาคี 

นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้กล่าวถึงการปรับเปลี่ยนมุมมองและนโยบายของประเทศทั้งในยุโรปและเอเชีย อันเป็นผลจากบทบาทของสหรัฐอเมริกาที่ลดลงและคลุมเครือ โดยเฉพาะในประเด็นเรื่องการให้หลักประกันด้านความมั่นคงแก่ยูเครนและ NATO รวมถึงการปฏิบัติต่อประเทศพันธมิตรและหุ้นส่วนอย่างไม่สมดุล ซึ่งทําให้ประเทศในยุโรปและเอเชียต้องพึ่งพาตนเองและลงทุนด้านการป้องกันประเทศมากขึ้น ซึ่งสิ่งนี้ทําให้ประเทศในเอเชียตั้งคําถามเกี่ยวกับความยั่งยืนของการมีส่วนร่วมของสหรัฐอเมริกาในภูมิภาคและเริ่มแสวงหาแนวทางอื่น ๆ เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการป้องกันประเทศ และ reshape ความสมดุลเชิงยุทธศาสตร์ของภูมิภาคอย่างมีนัยสําคัญด้วยเช่นกัน 

ผลกระทบและแนวทางการรับมือของสิงคโปร์ 

การเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกไม่ได้ส่งผลกระทบต่อความมั่นคงระหว่างประเทศเท่านั้น แต่ยังก่อให้เกิดความระส่ําระสายของระบบเศรษฐกิจโลกด้วย ความเปลี่ยนแปลงของระเบียบโลกที่กําลังเข้าสู่ยุคหลายขั้วอํานาจ ขาดความสอดประสานและมีการแข่งขันสูง ย่อมส่งผลกระทบต่อประเทศขนาดเล็กอย่างสิงคโปร์ สิงคโปร์จึงจําเป็นต้องปรับตัวและมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกับประเทศที่มีแนวคิดคล้ายคลึงกัน (like-minded countries) เพื่อรักษาไว้ซึ่งระบบพหุภาคีที่สนับสนุนการทํางานร่วมกันเพื่อสร้างระเบียบโลกใหม่ที่มีเสถียรภาพผ่านการดําเนินการ 3 แนวทาง ได้แก่ 

(1) การมีบทบาทเชิงรุกในการดูแลผลประโยชน์ร่วมของโลก (global commons) โดยให้ความสําคัญกับการส่งเสริมความร่วมมือพหุภาคีเพื่อรับมือกับความท้าทายระดับโลก เช่น การกํากับดูแลปัญญาประดิษฐ์ (AI) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และโรคระบาดในอนาคต โดยสิงคโปร์เชื่อว่าผลประโยชน์ของรัฐขนาดเล็กจะได้รับการคุ้มครองอย่างดีที่สุดเมื่อมีกติกาสากลที่เป็นธรรมและใช้ได้กับทุกฝ่ายอย่างเท่าเทียม ทั้งนี้ สิงคโปร์ได้แสดงบทบาทที่สร้างสรรค์ในเวทีระหว่างประเทศ เช่น การมีบทบาทนําในการเจรจาความตกลง BBNJ การเสนอชื่อ Ambassador Rena Lee เป็นผู้สมัครเข้ารับการเลือกตั้งเป็นผู้พิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (International Court of Justice: ICJ) การร่วมก่อตั้ง Friends of Covid-19 Vaccines Global Access (COVAX) Facility เพื่อส่งเสริมความเป็นธรรมในการเข้าถึงวัคซีนในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด -19 และการจัดตั้งโครงการ Financing Asia’s Transition Partnership (FAST-P) เพื่อสนับสนุนการลดคาร์บอนในเอเชีย นอกจากนี้ สิงคโปร์ยังได้แบ่งปันประสบการณ์ด้านการพัฒนาผ่านโครงการ Singapore Cooperation Programme ซึ่งให้ประโยชน์แก่เจ้าหน้าที่กว่า 155,000 คน จากกว่า 180 ประเทศ/ดินแดนทั่วโลก และล่าสุด กระทรวงการต่างประเทศสิงคโปร์ได้จัดตั้ง Development Partnership Unit ขึ้นเพื่อทําหน้าที่ประสานความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐในสิงคโปร์อย่างเป็นระบบเพื่อกระชับความร่วมมือในสาขาที่สิงคโปร์เชี่ยวชาญและสามารถสร้าง meaningful impact 

(2) การส่งเสริมการบูรณาการในภูมิภาคที่เข้มแข็ง เน้นย้ําว่า อาเซียนยังคงเป็นแกนกลางของ นโยบายต่างประเทศสิงคโปร์ โดยเฉพาะในโลกที่เต็มไปด้วยความขัดแย้งและการแบ่งขั้ว การรักษาความเป็นเอกภาพของอาเซียนจะช่วยให้สมาชิกอาเซียนสามารถรับมือกับความตึงเครียดทางภูมิรัฐศาสตร์และรักษาบทบาทของภูมิภาคในเวทีโลกได้อย่างมีพลัง โดยสิงคโปร์จะผลักดันให้อาเซียนเร่งรัดการบูรณาการทางเศรษฐกิจ เช่น การยกเลิกภาษีศุลกากรทั่วทั้งภูมิภาค การลดอุปสรรคทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษี และการเพิ่มการค้าภายในภูมิภาค การผลักดันให้มีการลงนามความตกลง ASEAN Digital Economy Framework Agreement (DEFA) และการปรับปรุง FTA กับประเทศหุ้นส่วนสําคัญ เช่น จีน อินเดีย และเกาหลีใต้ นอกจากนี้ สิงคโปร์สนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ ASEAN Power Grid เพื่อส่งเสริมการซื้อขายไฟฟ้าข้ามพรมแดนซึ่งจะช่วยเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานสะอาด ดึงดูดการลงทุน สร้างงาน และส่งเสริมความมั่นคงทางพลังงานของภูมิภาคร่วมกัน ขณะเดียวกัน สิงคโปร์ให้ความสําคัญกับสถาปัตยกรรมในภูมิภาคที่เปิดกว้างและครอบคลุมผ่านกลไกของอาเซียน โดยเมื่อสิงคโปร์รับตําแหน่งประธานอาเซียนในปี 2570 (ค.ศ. 2027) ซึ่งตรงกับวาระครบรอบ 60 ปีของการก่อตั้งอาเซียน สิงคโปร์จะใช้โอกาสดังกล่าวในการผลักดันการรวมกลุ่มของภูมิภาคในเชิงลึกให้มากขึ้น และเสริมสร้างอาเซียนให้เป็นเสาหลักแห่งสันติภาพและความมั่งคั่งในเอเชีย 

(3) การเสริมสร้างพันธมิตรและเครือข่ายความร่วมมือระดับโลกให้กว้างขวางและลึกซึ้งยิ่งขึ้น เพื่อ เพิ่มความยืดหยุ่นและความสามารถในการรับมือกับความไม่แน่นอนในปัจจุบัน แม้สิงคโปร์จะเป็นรัฐภาคีของ CPTPP และ RCEP และมีข้อตกลงการค้าเสรีกับหลายประเทศ ซึ่งช่วยเปิดตลาดและลดผลกระทบจากกระแสกีดกันทางการค้าได้ในระดับหนึ่ง อย่างไรก็ดี สิงคโปร์ยังคงต้องดําเนินการเพื่อเสริมสร้างระบบการค้าพหุภาคีให้มีเสถียรภาพต่อไป โดยมีแนวคิดที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง CPTPP กับ EU ให้มากขึ้น ซึ่งปัจจุบันทั้งสองกลุ่มมี GDP รวมกันประมาณร้อยละ 30 ของ GDP โลก ความร่วมมือดังกล่าวจะช่วยส่งเสริมการค้า การลงทุน และช่วยรักษา rules-based trading system ไว้ได้ ทั้งนี้ สิงคโปร์ยังสนับสนุนให้มีการกระชับความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์ระหว่างอาเซียนกับ EU โดย EU เป็น Dialogue Partner ของอาเซียนตั้งแต่ปี 2520 มีการจัดทํา FTA กับสิงคโปร์ และเวียดนามแล้ว และอยู่ระหว่างการจัดทําข้อตกลงทางการค้ากับประเทศสมาชิกอาเซียนอื่น ๆ ด้วย ซึ่งการมีความร่วมมือที่เพิ่มขึ้นระหว่างสองภูมิภาคจะช่วยปูทางไปสู่การจัดทํา ASEAN-EU FTA ต่อไป 

นอกจากนี้ สิงคโปร์มุ่งขยายความร่วมมือกับ like-minded countries เช่น ออสเตรเลีย อินเดีย ฝรั่งเศส เยอรมนี เกาหลีใต้ ซาอุดีอาระเบีย และเวียดนาม และจะเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนกับภูมิภาคใหม่ ๆ ที่มีศักยภาพ เช่น ตะวันออกกลาง แอฟริกา และลาตินอเมริกา โดยรัฐบาลสิงคโปร์มีแผนที่จะเปิดสถานเอกอัครราชทูตเพิ่มเติมในภูมิภาคแอฟริกาและลาตินอเมริกาในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าด้วย (ปัจจุบัน สิงคโปร์มีสถานเอกอัครราชทูตเพียง 2 แห่งในภูมิภาคแอฟริกาที่กรุงไคโรและกรุงพริทอเรีย และมีสถานเอกอัครราชทูตเพียงแห่งเดียวในภูมิภาคลาตินอเมริกาที่กรุงบราซิเลีย) ทั้งนี้ สามารถสืบค้นปาฐกถาดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ได้จากเว็บไซต์ https://www.pmo.gov.sg/Newsroom/PM-Lawrence-Wong-at-the-S-Rajaratnam-Lecture-2025

ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ สิงคโปร์

เรียบเรียงโดย: ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

Tags: #globthailandslideshow
Previous Post

เกาหลีใต้รับมือภาษีตอบโต้สหรัฐฯ มาตรการเร่งด่วนและยุทธศาสตร์พยุงเศรษฐกิจ

Next Post

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Globthailand

Globthailand

Next Post
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Post Views: 82

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025
เกาหลีใต้รับมือภาษีตอบโต้สหรัฐฯ มาตรการเร่งด่วนและยุทธศาสตร์พยุงเศรษฐกิจ

เกาหลีใต้รับมือภาษีตอบโต้สหรัฐฯ มาตรการเร่งด่วนและยุทธศาสตร์พยุงเศรษฐกิจ

10/05/2025
ตอนที่ 1 : การพัฒนาอุตสาหกรรม Humannoid robot ในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (YRD) 

ตอนที่ 1 : การพัฒนาอุตสาหกรรม Humannoid robot ในเขตเศรษฐกิจสามเหลี่ยมปากแม่น้ำแยงซี (YRD) 

10/05/2025
รัฐไบเอิร์นขยายความร่วมมืออินเดีย ดันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ-การค้า

รัฐไบเอิร์นขยายความร่วมมืออินเดีย ดันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ-การค้า

07/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X