‘เทคโนโลยี Gen-AI ทำให้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายรวมถึงในวงการศิลปะสร้างความกังวลให้แก่ผู้ผลิตงานจนเกิดเป็นคำาถามว่า การใช้ Gen-AI อาจแทนที่ผู้ผลิตงานศิลปะในอนาคตหรือไม่?’ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เทคโนโลยี AI สามารถทำงานที่ซับซ้อนมากขึ้นได้ ประมวลผลในเวลาอันสั้น และแสดงผลในรูปแบบที่หลากหลาย เช่น Text-to-Image และ Text-to-Video ซึ่งเทคโนโลยีที่อัปเกรดขึ้นมานี้ เรียกอีกชื่อว่า Generative AI (Gen-AI) ตัวอย่างเช่น Midjourney DALL-E3 และ Bing Image Creator
การใช้งานโดยเทคโนโลยี Gen-AI นั้นไม่ยุ่งยากเพียงแค่ผู้ใช้งานป้อนข้อมูลที่ต้องการ ระบบจะทำการประมวลผลและแสดงผลลัพธ์ออกมาในเวลาอันสั้น ซึ่งช่วยลดระยะเวลาในการทำงาน และได้ผลลัพธ์ที่แปลกใหม่รวมถึงสร้างสรรค์อีกด้วย ส่งผลให้เทคโนโลยี Gen-AI ถูกนำมาใช้ในการทำงานในวงการศิลปะมากขึ้น จนเกิดเป็นความกังวลว่าการใช้ Gen-AI อาจเป็นการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญา (Intellectual Property) ของศิลปินรายอื่น หรือร้ายแรงกว่านั้นอาจแทนที่ผู้ผลิตงานศิลปะในอนาคตได้ จึงควรมีกฎหมายควบคุมเพื่อป้องกันผลงานและผู้ผลิตไม่ให้ได้รับผลกระทบดังกล่าว
อย่างไรก็ดี เทคโนโลยี Gen-AI อาจไม่ได้รับบทเป็น ‘ตัวร้ายเสมอไป’ หากเป็น ‘ตัวช่วยได้’
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://globthailand.com/InterEcon/InterEcon21/#p=16 (หน้า 14 – 15)