บริษัท Ernst & Young LLP หรือ EY ได้จัดทําผลสํารวจพฤติกรรมการจับจ่ายชาวแคนาดาล่าสุด พบว่าคนส่วนใหญ่มีความกังวลวิกฤตสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงและภาวะโลกร้อนมากขึ้น เนื่องจากเป็นสาเหตุสําคัญที่ส่งผลให้ราคาสินค้าอาหารในประเทศแพงขึ้น โดย 1 ใน 3 ของชาวแคนาดาต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลือกซื้อสินค้า อาหารหรือรับประทานอาหารออกไปจากเดิม
โดยผลสํารวจดังกล่าว รายงานว่า ชาวแคนาดา 41% เลือกที่จะรับประทานอาหารในบ้าน และอีก 48% ตั้งใจที่จะลดจํานวนการสั่งอาหารนอกบ้านลง ขณะเดียวกัน ชาวแคนาดากว่า 2 ใน 3 เริ่มพิจารณาเลือกซื้อสินค้ารักษ์โลกเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (earth-friendly products)
นาย Elliot Morris จากบริษัท EY เห็นว่า สภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรง ราคาพลังงานที่สูงขึ้น และ ฤดูกาลเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรที่มีความไม่แน่นอนสูงขึ้น ได้กลายเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อผลผลิตทางการเกษตร และความมั่นคงของอาหารในแคนาดา จนทําให้ชาวแคนาดามีทัศนคติปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตประจําวันเพื่อให้มีส่วนต่อการรับผิดชอบสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งในแง่ผู้ประกอบการเพื่อสามารถเข้าถึงผู้บริโภคส่วนใหญ่นั้น สินค้าแบรนด์ต่างๆ อาจต้องคำนึงถึงการผลิตสินค้าและบริการที่ต้องใส่ใจสิ่งแวดล้อมมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกัน สินค้านั้นต้องอยู่ในราคาที่จับต้องได้เช่นกัน
นอกจากนั้น ผลการสํารวจยังพบว่าชาวแคนาดาอีกจํานวนมากมีความตั้งใจจับจ่ายซื้อสินค้าน้อยลง ได้แก่ เครื่องประดับ แฟชั่น (60%) ของเล่นและแกดเจ็ต (52%) รองเท้า เครื่องสําอางและสินค้าเพื่อความงาม (48%) โดยจํานวน 38% มีเหตุผลเพื่อมุ่งรักษาสิ่งแวดล้อม โดยหมวดสินค้าที่ชาวแคนาดาตั้งใจลดการซื้อลง
อย่างไรก็ดี การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมดูแลสิ่งแวดล้อมของชาวแคนาดารักษ์โลกในยุคนี้ พบว่า จํานวน 65% ของ กลุ่มเบบี้บูมเมอร์มีการใช้ถุงผ้าเมื่อไปจับจ่ายซื้อสินค้า อีกทั้ง ยังมีการรีไซเคิลบรรจุภัณฑ์มากกว่ากลุ่มมิลเลนเนียลด้วย
นอกจากเทรนด์รักษ์โลกจะมีผลต่อการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าและบริการของผู้บริโภคมากขึ้นแล้ว ผู้บริโภคยังยินดีจ่ายในราคาที่แพงขึ้นด้วย เพราะมองว่าสินค้าและบริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมน่าจะเป็นสินค้าที่มีคุณภาพ มีความปลอดภัยและควรสนับสนุน โดย EY พบว่า ผู้บริโภครุ่น GenZ 25% ยินดีที่จะจ่ายเงินเพิ่มขึ้น 25% ของ ราคาสินค้าเดิมที่คํานึงถึงความยั่งยืน และ 32% จะตรวจสอบนโยบายบริษัทผู้ผลิตสินค้าก่อนการตัดสินใจซื้อสินค้า
ทั้งนี้ เพื่อตอบรับความต้องการของกลุ่มผู้บริโภครักษ์โลก เมื่อการจับจ่ายอยู่ในยุคเศรษฐกิจชะลอตัวเช่นนี้ ผู้ประกอบการสินค้าควรควบคุมราคาสินค้าหรือบริการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมเพิ่มขึ้นไม่เกิน 20-25% เมื่อเทียบกับราคาสินค้าปกติทั่วไป เพื่อจะได้สามารถตอบรับความพร้อมของผู้บริโภคที่ยินดีจ่ายเงินสูงขึ้น และเพื่อเป็นส่วนร่วมในการช่วยลดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเช่นกัน
ที่มา :
- https://canadiangrocer.com/canadians-food-habits-change-amid-climate-concerns-survey
- สถานกงสุลใหญ่ ณ นครแวนคูเวอร์
- สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ นครแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา