เศรษฐกิจสีเงิน (Silver Economy) เป็นระบบเศรษฐกิจที่ขับเคลื่อนโดยการบริโภคของประชากรสูงวัยเป็นหลัก ยิ่งจำนวนประชากรสูงวัย หรือ “Silver Generation” มีจำนวนมากขึ้น ยิ่งทำให้เกิดการขยายการบริโภคสินค้าและบริการสำหรับ Silver Gen และส่งผลกระตุ้นให้เกิดการคิดค้นนวัตกรรมเพื่อตอบสนองความต้องการ เพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
ข้อมูลจากกรมกิจการผู้สูงอายุ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ชี้ให้เห็นว่า ในปัจจุบันไทยมีจำนวนประชากรที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปสูงถึง 12.8 ล้านคน คิดเป็น 19.4% ของจำนวนประชากรทั้งประเทศ ซึ่งมากเป็นอันดับ 2 ในกลุ่มประเทศอาเซียนรองจากสิงคโปร์ และศูนย์วิจัยกสิกรไทยคาดการณ์ว่า ภายในปี 2572 ไทยอาจกลายเป็นสังคมสูงอายุแบบสุดยอด (Super-Aged Society) หรือสังคมที่มีสัดส่วนประชากรอายุมากกว่า 65 ปี ถึง 20% นอกจากนี้ มีการประเมินตลาดผู้บริโภคกลุ่มสูงวัยว่า มีการเติบโตเฉลี่ยปีละ 4.4% และในอีก 7 ปีข้างหน้ามีแนวโน้มจะมีมูลค่าสูงถึง 2.6 ล้านล้านบาท คิดเป็น 12% ของมูลค่าเศรษฐกิจไทย
ในระดับโลก ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีสัดส่วนผู้สูงอายุสูงเป็นอันดับ 1 ส่วนอันดับที่ 2-5 เป็นประเทศในยุโรปทั้งสิ้น ได้แก่ อิตาลี ฟินแลนด์ โปรตุเกส และกรีซ ตามลำดับ อีกทั้งยังมีจีน เกาหลีใต้ และฝรั่งเศส ที่กำลังเผชิญกับการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเช่นเดียวกันกับอีกหลายประเทศทั่วโลก ภายใต้สถานการณ์นี้ หลายธุรกิจจึงเริ่มวางแนวทางปรับตัวเพื่อให้ธุรกิจสามารถเติบโตได้ในสภาวะเศรษฐกิจสีเงิน
สามารถอ่านบทความฉบับเต็มได้ที่ https://rinap.me/inter-econ/#p=16 (หน้า 14-15)