Wednesday, May 21, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home ทันโลก

“อัพเดทเศรษฐกิจเมียนมา จากรายงาน Myanmar Economic Monitor December 2023 Challenges amid conflict”

25/01/2024
in ทันโลก, เศรษฐกิจ I การเงิน
0
“อัพเดทเศรษฐกิจเมียนมา จากรายงาน Myanmar Economic Monitor December 2023 Challenges amid conflict”
19
SHARES
3k
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

เมื่อวันที่ 12 ธันวาคม 2566 ธนาคารโลกได้จัดทำและเผยแพร่รายงาน Myanmar Economic Monitor December 2023 Challenges amid conflict โดยรวบรวมข้อมูลและพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่สำคัญของเมียนมาในช่วงที่ผ่านมา โดยช่วงครึ่งปีหลังของ พ.ศ. 2566 เศรษฐกิจเมียนมาเริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัว แต่ในภาพรวมยังคงมีความเปราะบางจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินจั๊ตต่อดอลล์ลาร์สหรัฐ ที่อ่อนค่าลง

โดยในช่วงเดือน กรกฎาคม – กันยายน 2566 สถานการณ์ความไม่สงบที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศ ส่งผลกระทบต่อการดำเนินกิจกรรมด้านเศรษฐกิจต่าง ๆ ทั้งเส้นทางขนส่งถูกปิดกั้นหรือทำลาย อัตราเงินเฟ้อในประเทศเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 28.6 (ในช่วงเดือน มิ.ย. 66) และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดช่วงครึ่งหลังของปี ถึงแม้ทางการเมียนมาจะออกมาตรการต่าง ๆ เพื่อควบคุมระดับราคาก็ตาม อีกทั้ง ปัญหาไฟฟ้าที่ไม่เพียงพอซึ่งส่งผลกระทบต่อภาคประชาชนและภาคธุรกิจตลอดทั้งปี 2566 เนื่องจากปริมาณก๊าซธรรมาติที่ผลิตได้น้อยลง รวมถึงสถานการณ์การสู้รบที่กระทบต่อโรงไฟฟ้าและสายส่งไฟฟ้าในบางพื้นที่ โดยจากผลสำรวจพบว่า ธุรกิจสิ่งทอมีต้นทุนทางธุรกิจที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาไฟฟ้าดับ นอกจากนั้น ธุรกิจต่าง ๆ ในเมียนมามีศักยภาพในการดำเนินธุรกิจที่ลดลงร้อยละ16 เมื่อเทียบกับช่วงเดือนมีนาคม 2566 โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรมการผลิต ส่งผลให้ยอดการส่งออกสินค้าของเมียนมา ลดลงร้อยละ 11 ในช่วงเดือน เมษายน – กันยายน 2566 ขณะเดียวกัน การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศในเมียนมาก็มีแนวโน้มอยู่ในระดับต่ำอีกด้วย อย่างไรก็ดี อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในกลุ่มการตัด การผลิตและการบรรจุ (Cut-Make-Pack) หรือ CMP และภาคแรงงานเมียนมาที่ทำงานในต่างประเทศกลับกลายเป็นแรงขับเคลื่อนที่สำคัญ ทั้งนี้ ดุลการชำระเงิน (Balance of Payment) ของเมียนมายังคงได้รับแรงกดดันจากการขาดดุลการค้าและดุลบัญชีเดินสะพัดเนื่องจากการส่งออกที่ลดลง ในขณะที่การลงทุนโดยตรงระหว่างประเทศยังอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งก่อให้เกิดความท้าทายต่อการบริหารทุนสำรองระหว่างประเทศ 

ในช่วงเดือน ตุลาคม 2566 สถานการณ์การสู้รบที่เพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่าง ๆ ส่งผลให้เกิดปัญหาผู้พลัดถิ่น การขาดแคลนแรงงานและต้นทุนค่าขนส่งเพิ่มสูงขึ้น โดยองค์กรสหประชาชาติคาดการณ์ว่า มีผู้หนีภัยจากการสู้รบในเมียนมาเพิ่มขึ้นมากกว่า 5 แสนคน จากสถานการณ์ความขัดแย้งรอบใหม่ ทั้งนี้ การสู้รบส่งผลกระทบต่อเส้นทางการขนส่งสินค้าที่สำคัญ โดยเฉพาะในพื้นที่รัฐฉานทางตอนเหนือที่เป็นจุดค้าชายแดนที่สำคัญระหว่างเมียนมากับจีน 

ในส่วนของอัตราแลกเปลี่ยนเงินจั๊ตต่อดอลล์ลาร์สหรัฐอ่อนค่าลง มีปัจจัยภายนอกที่มาจาก การออกมาตรการลงโทษทางเศรษฐกิจต่อธนาคารของรัฐ 2 แห่ง และ ปัจจัยภายในที่มาจาก การจัดพิมพ์ธนบัตรใหม่มูลค่า 20,000 จั๊ต ส่งผลให้สถานการณ์เงินเฟ้อภายในประเทศของเมียนมารุนแรงเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ จากข้อมูลของ World Food Program แสดงให้เห็นว่าราคาสินค้าบริโภคที่สำคัญ 6 รายการ ในเมียนมา ซึ่งได้แก่ ข้าว ถั่ว น้ำมันพืช หัวหอม ไข่ และ มะเขือเทศ เพิ่มขึ้นกว่าร้อยละ 16.6 ในช่วงที่ผ่านมา ขณะเดียวกัน การผ่อนปรนมาตรการควบคุมเกี่ยวกับเงินตราต่างประเทศของทางการเมียนมา ยังไม่สามารถแก้ไขปัญหาการขาดแคลนเงินตราต่างประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

“ธนาคารโลก (The World Bank) คาดการณ์ว่า อัตราเงินเฟ้อ ณ สิ้นปี งปม. 2565/2566 จะยังคงอยู่ในระดับสูงที่ร้อยละ 20 โดยที่การอ่อนค่าลงของอัตราแลกเปลี่ยนเงินจั๊ตร้อยละ 1 จะส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 และ จะขยายตัวเพียงร้อยละ 1 ในช่วงสิ้นปี งปม. 2566/2567 หรือ เดือนมีนาคม 2567”
“กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่าเศรษฐกิจของเมียนมาจะขยายตัวอยู่ที่ร้อยละ 2.538 ในปี 2566 และที่ร้อยละ 2.639 ณ สิ้นปี 2567 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 14.179 ในปี 2566 และลดลงเหลือร้อยละ 7.825 ในปี 2567 ” (สถานะ ณ เดือน ตุลาคม 2566)

“ธนาคารเพื่อการพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB) คาดการณ์ว่า เศรษฐกิจของเมียนมาจะเติบโตที่ร้อยละ 2.8 ในปี 2566 และที่ร้อยละ 3.2 ในปี 2567 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ร้อยละ 14 ในปี 2566 และลดลงเหลือ 8.2 ในปี 2567” 

ทั้งนี้ สาเหตุของการเกิดภาวะเงินเฟ้อที่รุนแรงในเมียนมา คือ (1) ราคาสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในหมวดอาหาร และ (2) ต้นทุนการขนส่งสินค้าที่เพิ่มสูงขึ้นจากปัญหาเส้นทางการขนส่งสินค้าที่ถูกตัดขาด รวมทั้งการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง

ถึงแม้ว่าสถานการณ์การสู้รบในพื้นที่ต่าง ๆ จะคงที่ แต่ทางด้านเศรษฐกิจของเมียนมาก็ยังคงสามารถเติบโตได้ในระดับต่ำตลอดทั้งปีจากการชะลอตัวในภาคอุตสาหกรรมการผลิต ผลผลิตทางการเกษตรที่ลดลง การขนส่งสินค้าและการค้าชายแดนที่ได้รับความไม่สงบด้วยปัจจัยต่าง ๆ ข้างต้นจึงทำให้ขนาดของเศรษฐกิจเมียนมาหดตัวกว่าเมื่อก่อนเกิดการแพร่ระบาดโควิด-19 อยู่ร้อยละ 10  

ภาพรวมทางด้านการค้าระหว่างประเทศของเมียนมา 

มีสัญญาณหดตัวลง หลังจากกลับมาฟื้นตัวได้ในระดับหนึ่งในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 โดยเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่ลดลงจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลก รวมทั้งข้อจำกัดในการขนส่ง ส่งผลให้ในภาพรวมเมียนมาขาดดุลการค้าระหว่างประเทศ (ในช่วงเดือน เมษายน – พฤศจิกายน 2566) โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญของเมียนมา ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรม สินค้าเกษตร สินค้าประมงและสัตว์น้ำ สินแร่ ผลิตภัณฑ์จากป่าไม้ ขณะที่สินค้านำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าประเภททุน (capital good) สินค้าวัตถุดิบ (intermediate goods) และสินค้าบริโภคอุปโภค (consumer goods) ทั้งนี้ ตลาดส่งออกที่สำคัญของเมียนมา ได้แก่ ไทย จีน ญี่ปุ่น อินเดีย สหรัฐ เยอรมนี โปแลนด์ สเปน เป็นต้น และ ตลาดนำเข้าที่สำคัญ ได้แก่ จีน สิงคโปร์ ไทย มาเลเซีย อินโดนีเซีย อินเดีย เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น เป็นต้น 


การค้าระหว่างเมียนมากับไทย 

ในช่วงเดือน มกราคม – พฤศจิกายน 2566 มูลค่าการค้ารวมอยู่ที่ 6,943.04 ล้านดอลล์ลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 8.77 YoY) โดยส่งออกสินค้าไปไทยมูลค่า 2,819.29 ล้านดอลล์ลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 12.50 YoY) และนำเข้าสินค้าจากไทยมูลค่า 4,123.75 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ลดลงร้อยละ 6.03 YoY) ทั้งนี้ เมียนมาขาดดุลการค้ากับไทยเป็นมูลค่า 1,304.46 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

โดยสินค้าส่งออกที่สำคัญจากเมียนมาไปยังไทย ได้แก่ ก๊าซธรรมชาติ พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช เนื้อสัตว์สำหรับการบริโภค ผัก ผลไม้ และของปรุงแต่งที่ทำจากผัก/ผลไม้ สินแร่โลหะ เศษโลหะและผลิตภัณฑ์ สัตว์น้ำ(สด) แช่เย็น แช่แข็ง แปรรูปและกึ่งสำเร็จรูป สัตว์และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ สัตว์มีชีวิตไม่ได้ทำพันธุ์ กาแฟ ชา เครื่องเทศ ฯลฯ และ สินค้าที่เมียนมานำเข้าจากไทยที่สำคัญ ได้แก่ น้ำมันสำเร็จรูป เครื่องดื่ม รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องสำอาง สบู่ และผลิตภัณฑ์รักษาผิว เคมีภัณฑ์ผลิตภัณฑ์ ข้าวสาลีและอาหารสำเร็จรูป อื่น ๆ เม็ดพลาสติก เหล็ก เหล็กกล้า ไขมันและน้ำมันจากพืชและสัตว์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ฯลฯ

 โดยด่านศุลกากรที่สำคัญ ได้แก่ (1) ด่านแม่สอด-เมียวดี (2) ด่านสังขละบุรี/พระเจดีย์สามองค์-พญาตองซู (3) ด่านสิงขร-มอต่อง (4) ด่านท่าเรือสะพานปลา (จ.ระนอง-เกาะสอง)


การลงทุน

ภาพรวมการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ ในช่วงเดือน เมษยน-พฤศจิกายน 2566 คณะกรรมการการลงทุนเมียนมา (Myanmar Investment Commission : MIC) ได้อนุมัติคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนไปแล้วคิดเป็นมูลค่า 587.242 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

มูลค่าการอนุมัติโครงการที่ขอรับการส่งเสริมการลงทุนสะสมตั้งแต่ปี งปม. 2531/2532 จนถึง เดือนพฤศจิกายน 2566 มีมูลค่าทั้งสิ้น 95,325.746 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยประเทศที่เข้ามาลงทุนในเมียนมาสูงสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ (1) สิงคโปร์ (2) จีน (3) ไทย (4) จีน(ฮ่องกง) และ (5) สหราอาณาจักร ตามลำดับ โดยไทยมีมูลค่าการลงทุนรวม 11,616.573 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีโครงการที่ได้รับอนุมัติแล้วจำนวน 154 โครงการ สำหรับมูลค่าการลงทุนจากต่างประเทศของโครงการที่ยังดำเนินการอยู่จนถึงปี งปม. 2565/2566 (ณ เดือน พฤศจิกายน 2566) มีมูลค่าทั้งสิ้น 75,713.617 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยมีโครงการที่ยังดำเนินการจำนวน 104 โครงการ มูลค่า 4,436.539 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 

โดยสาขาอุตสาหกรรมที่นักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในเมียนมา ระหว่างเดือน เมษายน – พฤศจิกายน 2566 ได้แก่ ภาคพลังงาน ภาคอุตสาหกรรมการผลิต และภาคการขนส่งและการสื่อสาร ขณะที่สาขาอุตสาหกรรมที่นักลงทุนจากต่างประเทศยังดำเนินการอยู่ (ยอดสะสมตั้งแต่ปี งปม. 2531/2532 จนถึงพฤศจิกายน 2566น )  ได้แก่ พลังงานไฟฟ้า น้ำมันและก๊าซะรรมาติ อุตสาหกรรมการผลิต การคมนาคมและการสื่อสาร อสังหาริมทรัพย์ โรงแรมและการท่องเที่ยว และเหมืองแร่ 


การเงิน

อัตราดอกเบี้ยนโยบายของเมียนมา ณ ปัจจุบัน อยู่ที่ร้อยละ 7.0 อัตราดอกเบี้ยขั้นต่ำสำหรับเงินฝาก อยู่ที่ร้อยละ 5.0 อัตราดอกเบี้ยขั้นสูงสุดสำหรับเงินกู้สินเชื้อปลอดภัย อยู่ที่ร้อยละ 10 และสำหรับเงินกู้สำหรับสินเชื้อไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกัน อยู่ที่ร้อยละ 14.5 

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2566 ธนาคารกลางเมียนมา (CBM) ได้ออกประกาศอนุญาตให้มีการซื้อขายเงินดอลลาร์สหรัฐระหว่างธนาคารหรือบริษัทเอกชนในปัจจุบันอยู่ที่ราว 3,400-3,500 จั๊ต/ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับประชาชน หรือหน่วยงานอื่น ๆ ยังคงต้องยึดอัตราแลกเปลี่ยนทางการ (2,100 จั๊ต/ 1 ดอลลาร์สหรัฐ) 


สามาถอ่านรายงานฉบับเต็มได้ที่ : https://documents1.worldbank.org/curated/en/099121123082084971/pdf/P5006630739fd70a00a66c0e15bf7b34917.pdf

ข้อมูล : สถานเอกอัครราทูต ณ กรุงย่างกุ้ง 

เรียบเรียงโดย : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์

Tags: #globthailand#ธนาคารโลก#ภาพรวมเศรษฐกิจ#สถานการณ์เมียนมา#เมียนมา#เศรษฐกิจต่างประเทศ2024slideshowรายงานเศรษฐกิจเมียนมา
Previous Post

ล้ำไปอีก! ‘OpenThaiGPT’ เวอร์ใหม่ 13 พันล้านเซลล์สมอง ประมวลผลเร็วขึ้น 10 เท่า!

Next Post

Info : ธุรกิจร้านสินค้าราคาประหยัดกำลังมาแรงในแคนาดา!

Globthailand

Globthailand

Next Post
Info : ธุรกิจร้านสินค้าราคาประหยัดกำลังมาแรงในแคนาดา!

Info : ธุรกิจร้านสินค้าราคาประหยัดกำลังมาแรงในแคนาดา!

Post Views: 8,269

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X