เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2566 สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน ได้รับเชิญเข้าร่วมการเสวนาในหัวข้อ Germany, the sick man of Europe? จัดโดยธนาคาร Commerzbank ที่สํานักงานกรุงเบอร์ลิน โดยมี Chief Economist, Commerzbank และ Dr. Jorg Kramer เป็นผู้บรรยาย
ด้านภาพรวม ประสิทธิภาพการดําเนินการด้านต่าง ๆ (under performance) ของเยอรมนีลดต่ําลง ในนิยามของ Sickman of Europe เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ใน EU ตั้งแต่ช่วง ค.ศ. 2017 เป็นต้นมา ปัจจุบัน GDP ของเยอรมนีมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 แม้ว่าจะมีช่วงขาขึ้นในช่วงปี พ.ศ. 2562 – 2563 (ก่อนโควิด-19) โดย GDP ปี พ.ศ. 2566 ลดลงจากปีก่อนหน้า (โดยมีการกระเตื้องขึ้นอย่างสั้น ๆ ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี พ.ศ. 2565) และเมื่อเดือนตุลาคม พ.ศ. 2566 อุตสาหกรรมการผลิตถึงจุดต่ํากว่ามาตรฐานและมีแนวโน้มที่จะลดต่ําลงอย่างต่อเนื่องในปี พ.ศ. 2567 นับตั้งแต่สงครามในยูเครน การผลิตในภาคส่วนที่ใช้พลังงานสูง (energy intensive sector) โดยเฉพาะเคมีภัณฑ์ ลดการผลิตลงถึงร้อยละ 20 ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของการบริหารจัดการพลังงานของประเทศ ทั้งนี้ สาเหตุของเศรษฐกิจถดถอยมาจากอุตสาหกรรมที่มีประสิทธิภาพต่ํา (under performance) ได้แก่
(1) Price Competitiveness ของตลาดเยอรมนี ซึ่งมาจากค่าแรงในเขต EU Zone ที่ขึ้นสูงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี พ.ศ. 2552 ซึ่งมากกว่าประเทศอื่นที่มีศักยภาพในระดับเดียวกัน (นัยยะหมายถึงสหรัฐฯ) กว่าร้อยละ 4
(2) การลดอุปสงค์จากจีน ซึ่งถือเป็นตลาดส่งออกใหญ่ของเยอรมนี ลดลงนับตั้งแต่ช่วงโควิด-19 (ปี พ.ศ. 2563)
(3) Business Location ของเยอรมนี มีความน่าสนใจลดลงจากปัจจัยต่าง ๆ โดยเฉพาะกฎหมาย ระเบียบราชการภาษี พลังงาน แรงงาน (ขาดแคลนแรงงานทักษะและค่าแรงที่สูง) อย่างไรก็ตาม ความมั่นคงทางการเงินและโครงสร้างพื้นฐานของเยอรมนียังถือเป็นข้อได้เปรียบที่อยู่ในอันดับสูงของโลก จึงทําให้บริษัทยังมี สำนักงานใหญ่ในเยอรมนีอยู่ แม้ว่าจะมีการย้ายฐานการผลิตออกไปจากเยอรมนีก็ตาม
แล้วเยอรมนีควรปรับตัวอย่างไร?
จากการบรรยายได้มีการให้คำแนะนำในด้านต่าง ๆ ดังนี้
- รัฐบาลเยอรมนีควรเร่งกระบวนการ/ระบบราชการ และกระบวนการนิติบัญญัติที่เกี่ยวกับการพิจารณาแผนงานต่าง ๆ ให้รวดเร็วขึ้น เช่น แผนการก่อสร้าง LNG Terminal เพื่อรองรับก๊าซ LNG และสร้างความมั่นคงทางพลังงาน รวมถึงเร่งยกระดับและสนับสนุนการซ่อมแซมโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ถนน สะพาน และทางรถไฟของเยอรมนี
- ยกเลิก micro-management ในนโยบายด้านสภาพภูมิอากาศ เช่น การกำหนด CO2 price ในการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม และควรศึกษาความเป็นไปได้ทางเศรษฐศาสตร์ (economic feasibility) และการบริการการจัดการขยะอย่าง market friendly ในภาคอุตสาหกรรมให้มากขึ้น
- เพิ่มการผลิตพลังงาน เพื่อลดราคาพลังงานและเพิ่มความมั่นคงทางพลังงาน
- พัฒนามาตรฐานของการศึกษา เพื่อพัฒนาศักยภาพคน/แรงงาน และการลดภาษีนิติบุคคล
ด้านความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างไทย – เยอรมนี เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา กระทรวงพาณิชย์ของไทยได้พบกับนาง Serap Güler สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากรัฐสภา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี เนื่องในโอกาสการเดินทางเยือนประเทศไทย เพื่อกระชับความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุน ผลักดันสาขาที่จะเป็นประโยชน์ร่วมกัน เช่น การค้ายั่งยืน เศรษฐกิจดิจิทัล อุตสาหกรรมสีเขียว และเศรษฐกิจสร้างสรรค์ ผ่าน Soft Power ทั้งนี้ เยอรมนีถือเป็นคู่ค้าอันดับ 1 ของไทยในสหภาพยุโรป โดยปี พ.ศ. 2565 การค้าระหว่างไทยกับเยอรมนี มีมูลค่ากว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
เรียบเรียงโดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์