Monday, May 19, 2025
  • Login
  • Register
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
Glob Thailand
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา
No Result
View All Result
No Result
View All Result
Home รู้กฎก่อนรุก

อัพเดท! กฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนฉบับใหม่ของเยอรมัน บริษัทไทยได้รับผลกระทบหรือไม่?

02/06/2023
in รู้กฎก่อนรุก
0
อัพเดท! กฎหมายด้านสิทธิมนุษยชนฉบับใหม่ของเยอรมัน บริษัทไทยได้รับผลกระทบหรือไม่?
1
SHARES
857
VIEWS
Share on FacebookShare on TwitterShare on Line

เยอรมนีได้ออก The Supply Chain Due Diligence Act พรบ. ฉบับใหม่ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2566 เพื่อปกป้องสิทธิมนุษยชนและสิ่งแวดล้อม เช่น  แรงงานเด็ก สิทธิแรงงาน การปกป้องป่าไม้ การสร้างมลพิษ ในห่วงโซ่การผลิตของผู้ผลิตสินค้าให้แก่ตลาดเยอรมนี

พรบ. ดังกล่าวเป็นผลสืบเนื่องจากการออกแผนปฏิบัติการระดับชาติว่าด้วยธุรกิจกับสิทธิมนุษยชน (The National Action Plan for Business and Human Rights: NAP) ของรัฐบาลเยอรมนีเมื่อปี 2559  โดย NAP มีเป้าหมายปกป้องสิทธิมนุษยชนในแวดวงธุรกิจ โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่มีความเสี่ยงต่อการละเมิด ซึ่งเดิมกำหนดให้บริษัทเยอรมนีกำกับดูแลกิจการ ตรวจสอบห่วงโซ่อุปทาน (supply chain due diligence) ด้วยความสมัครใจ  ซึ่งการสำรวจในปี 2563 พบว่ามีบริษัทที่ดำเนินการตามเพียง 1 ใน 5 เท่านั้น  จึงเป็นเหตุผลของการเดินหน้าออก พรบ. ฉบับใหม่ เพื่อให้เกิดสภาพบังคับ  ทั้งนี้ พรบ. The Supply Chain Due Diligence Act มีผลบังคับใช้ล่วงหน้าถึง 1-2 ปี ก่อนที่ร่างกฎหมาย EU คือ EU Directive on Corporate Sustainability Due Diligence จะมีผลบังคับใช้

ปัจจุบัน บริษัทเยอรมนีมีหน้าที่หลัก 6 ข้อ ที่จะต้องดำเนินการตาม พรบ. ฉบับใหม่ ได้แก่ 

  1. ตั้งระบบบริหารความเสี่ยง 
  2. มีผู้รับผิดชอบการดำเนินงานภายในบริษัท 
  3. ประเมินความเสี่ยงอย่างสม่ำเสมอและมีนโยบายรองรับ
  4. มีการวางมาตรการป้องกันการละเมิด
  5. มีช่องทางการร้องเรียนและแนวทางปรับปรุงพัฒนา
  6. การจัดทำรายงานผล

พรบ. แบ่งการบังคับใช้เป็น 2 ระยะ ได้แก่ ระยะแรก ตั้งแต่ปี 2566 ให้บริษัทในเยอรมนีที่มีพนักงานมากกว่า 3,000 คน ต้องมีการบริหารความเสี่ยงและให้การบริหารพนักงานเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งรายงานผลอย่างเปิดเผยในเว็บไซต์บริษัท ระยะที่สอง ตั้งแต่ปี 2567 กำหนดให้บริษัทที่มีพนักงาน 1,000 คนขึ้นไป ต้องดำเนินการบริหารความเสี่ยงข้างต้นด้วย  ทั้งนี้ SMEs ไม่เข้าข่ายการบังคับใช้ใน พรบ. แต่หากเป็นส่วนหนึ่งของ supply chain ของบริษัทที่ถูก พรบ. นี้บังคับใช้  SMEs นั้น ๆ ก็เข้าข่ายการบังคับใช้ทางอ้อมผ่านมาตรการของบริษัทนั้น ๆ ด้วย

จากการประเมินพบว่า บริษัทเยอรมันที่เข้าข่ายบังคับใช้ พรบ. ปี 2566 มีประมาณ 700 แห่ง และอีก 2,900 แห่งที่เข้าข่ายบังคับใช้ในปี 2567 ซึ่ง The Federal Office for Economic Affairs and Export Control (BAFA) จะเป็นหน่วยงานหลักที่บังคับใช้ พรบ. โดยสามารถตรวจสอบรายงาน เรียกดูหลักฐานเพิ่มเติม บังคับให้บริษัทปฏิบัติตามกฎหมาย และมีอำนาจปรับบริษัทที่ละเมิด พรบ. ได้สูงถึง 800,000 ยูโร (สำหรับบริษัทที่มีรายได้มากกว่า
400 ล้านยูโร/ปี อาจถูกปรับได้ถึง 2% ของรายได้ ซึ่งสูงถึง 8 ล้านยูโร)

ผลกระทบต่อไทย

ภาคเอกชนเยอรมันอยู่ระหว่างปรับตัวตาม พรบ. ฉบับใหม่ ซึ่งพบอุปสรรคสำคัญเรื่องความพร้อมในการจัดทำแผนบริหารความเสี่ยง (risk management) และค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นในการจัดจ้างผู้เชี่ยวชาญด้าน IT เพื่อรองรับการวางระบบบริหารความเสี่ยงและการจัดทำรายงาน

ทั้งนี้ ไม่เพียง พรบ. ฉบับใหม่จะมีผลบังคับใช้ต่อบริษัทเยอรมันเท่านั้น หากยังมีผลกระทบต่อบริษัทต่างชาติรวมถึงเอกชนไทยที่อยู่ในห่วงโซ่อุปทานของบริษัทเยอรมันด้วย โดยเฉพาะบริษัทที่เป็น suppliers ให้แก่บริษัทเยอรมันที่อยู่ในข่าย  นอกจากนี้ พรบ. ยังมีผลบังคับใช้ต่อบริษัทของไทยที่ตั้งอยู่ในเยอรมนีและเข้าเกณฑ์การบังคับใช้ของ พรบ. ด้วยเช่นกัน ดังนั้น คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่า ประเด็นอ่อนไหวด้านสิทธิมนุษยชน อาทิ การบังคับแรงงาน เป็นสิ่งที่ภาคเอกชนไทยต้องพึงระวังและมีกลไกรองรับเพื่อให้สามารถดำเนินธุรกิจในห่วงโซ่อุปทานเดียวกันกับภาคเอกชนต่างประเทศ เช่น เยอรมนี ต่อไปในอนาคต

สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงเบอร์ลิน
เรียบเรียงโดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์


Tags: #globthailand#TheSupplyChainDueDiligenceAct#พระราชบัญญัติปกป้องสิทธิมนุษยชน#รู้กฎก่อนรุก#เยอรมันslideshow
Previous Post

โครงการความเป็นหุ้นส่วนด้านการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งใหม่ ภายใต้ข้อริเริ่มด้านการพัฒนาระดับโลก (GDI PartNIR)

Next Post

นโยบายการค้าต่างประเทศของอินเดีย (Foreign Trade Policy 2023)

Globthailand

Globthailand

Next Post
นโยบายการค้าต่างประเทศของอินเดีย (Foreign Trade Policy 2023)

นโยบายการค้าต่างประเทศของอินเดีย (Foreign Trade Policy 2023)

Post Views: 3,307

NEW EVENT

Current Month

RECENTNEWS

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

จีนเปิดทางนำเข้าสุกรพันธุ์จากเดนมาร์ก กว่างซีชูสนามบินกุ้ยหลินเป็นศูนย์กลางโลจิสติกส์ปศุสัตว์

19/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ตอนที่ 2 : ปัจจัยความสำเร็จของ YRD ในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมหุ่นยนต์ 

15/05/2025
ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

ทรัมป์เตรียมเก็บภาษีหนังต่างประเทศ 100% แคนาดาวิตกกระทบแรงงานและเศรษฐกิจ

15/05/2025
สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

สถานการณ์เศรษฐกิจอาเซอร์ไบจาน ปี 2567 และแนวโน้ม ปี 2568 

14/05/2025
Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

Update! เศรษฐกิจสำคัญของรัฐไบเอิร์น เยอรมนี

14/05/2025
ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

ครบรอบ 60 ปี! แห่งการก่อตั้งสิงคโปร์ 

14/05/2025

FOLLOW US

ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
กระทรวงการต่างประเทศ
443 ถนนศรีอยุธยา แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี
กรุงเทพมหานคร 10400

OFFICE HOURS

วันทำการ : จันทร์ – ศุกร์ เวลา 08.30 – 16.30 น.
(ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์)
TEL : 02-203-5000 ต่อ 14239 – 14245
EMAIL : IN**@**********ND.COM

FOLLOW US

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

No Result
View All Result
  • Home
  • เกี่ยวกับเรา
  • ทันโลก
    • เศรษฐกิจ I การเงิน
    • ธุรกิจ I การค้า I การลงทุน
    • การท่องเที่ยว I การบริการ
    • อาหาร I การเกษตร
    • คมนาคม I โลจิสติกส์
    • การแพทย์ I สุขภาพ
    • พลังงาน I สิ่งแวดล้อม I ความยั่งยืน
    • เทคโนโลยี I นวัตกรรม
    • E-commerce
    • กฎ I ระเบียบ I นโยบาย
    • อื่นๆ
    • INFOGRAPHICS
  • Glob Issue
  • ชี้ช่องจากทีมทูต
  • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • โอกาสใหม่ในต่างแดน
    • Thai Festival
  • รู้กฎก่อนรุก
    • ความตกลงว่าด้วยการลงทุนระหว่างประเทศ
  • Glob Insight
  • INTER ECON
  • เครือข่ายของเรา
    • GT Network
    • ลิงค์ที่น่าสนใจ
  • ติดต่อเรา

© 2016-2022 Globthailand.com Business Information Centers (BICs) Ministry of Foreign Affairs, Kingdom of Thailand. All rights reserved.

Welcome Back!

Sign In with Facebook
Sign In with Google
OR

Login to your account below

Forgotten Password? Sign Up

Create New Account!

Sign Up with Facebook
Sign Up with Google
OR

Fill the forms below to register

All fields are required. Log In

Retrieve your password

Please enter your username or email address to reset your password.

Log In
X
X