นาง Ausrine Armonaite รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจของลิทัวเนีย ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางการค้าระหว่างลิทัวเนียกับจีนว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะตัดจีนออกจากห่วงโซ่คุณค่าทั้งหมดในโลก และเชื่อว่าในอนาคต ความสัมพันธ์ระหว่างลิทัวเนียกับจีนจะฟื้นตัว ซึ่งในขณะนี้ลิทัวเนียและ EU กําลังวางแผนดําเนินการดังกล่าว
ตามข้อมูลสถิติแห่งชาติลิทัวเนีย ในช่วงเดือนมกราคม – กันยายน 2565 การส่งออกของลิทัวเนียไปจีนลดลง ร้อยละ 67 คงเหลือมูลค่าการส่งออกประมาณ 60.7 ล้านยูโร (ประมาณ 2.25 พันล้านบาท) ในขณะที่ยอดการส่งออก สินค้าจากแหล่งกําเนิดจากลิทัวเนีย (goods of Lithuanian origin) ลดลงร้อยละ 81.5 เหลือที่ประมาณ 25.7 ล้านยูโร (ประมาณ 950.9 ล้านบาท) แม้ว่าการส่งออกสินค้าลิทัวเนียไปยังจีนจะลดลงอย่างมากในช่วง 9 เดือนแรก แต่การส่งออกจากลิทัวเนียไปยังเอเชียตะวันออกเฉียงใต้โดยรวมเติบโตขึ้นอย่างแข็งแกร่งและสามารถชดเชยการสูญเสียการส่งออกไปยังจีนได้ ทั้งนี้ ตามข้อมูลที่ปรากฏบนเว็บไซต์กระทรวงเศรษฐกิจของลิทัวเนียล่าสุดระบุว่า ในเดือนตุลาคม 2565 ยอดการส่งออกทั้งหมดของสินค้าที่มีแหล่งกําเนิดจากลิทัวเนียไปยังสิงคโปร์ ออสเตรเลีย เกาหลีใต้ และอินโดนีเซียนั้นเพิ่มขึ้นจาก 115 ล้าน ยูโร (ประมาณ 4.25 พันล้านบาท) เป็น 362.7 ล้านยูโร (ประมาณ 13419.9 ล้านบาท) หรือเพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 47 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันในปีที่แล้ว โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ.ของลิทัวเนียได้กล่าวว่า ลิทัวเนียได้ขยายตลาดที่มีความสําคัญด้านการส่งออกและความร่วมมือด้านนวัตกรรม ซึ่งรวมถึงออสเตรเลีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย และเวียดนาม ในขณะที่คาดหวังว่าจะมีการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่มาจากญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ อนึ่ง ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจกับเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และออสเตรเลียนั้นเติบโตขึ้นมากอย่างแท้จริง ภาคธุรกิจลิทัวเนียจึงสามารถแสวงหาประโยชน์ได้จากตลาดใหม่และโอกาสที่เปิดกว้างดังกล่าว
ทั้งนี้ ในเดือนมกราคม – กันยายน 2565 การส่งออกสินค้าลิทัวเนียเพิ่มขึ้นร้อยละ 32.1 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564 โดยลิทัวเนียมีการส่งออกมากที่สุดไปยังเยอรมนี (ร้อยละ4.6) โปแลนด์ (ร้อยละ 9.1) ลัตเวีย (ร้อยละ 4.6) สหรัฐฯ (ร้อยละ 7.4 และเนเธอแลนด์ (ร้อยละ 7.3) สินค้าส่งออกส่วนใหญ่ ได้แก่ ผลิตภัณฑ์แร่ (ร้อยละ 19.2) สินค้าเบ็ดเตล็ด (ร้อยละ 11.6) ผลิตภัณฑ์เคมี (ร้อยละ 11.3) และอาหารสําเร็จรูป เครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์และมีแอลกอฮอล์ ยาสูบและผลิตภัณฑ์ทดแทนยาสูบ (ร้อยละ 4)
โอกาสของผู้ประกอบการไทย
ประเทศลิทัวเนีย เป็นประเทศหนึ่งที่มีศักยภาพในด้านวิทยาศาสตร์ อุตสาหกรรม และเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีชีวภาพและเลเซอร์ ด้านผู้ประกอบการไทยมีศักยภาพอาจพิจารณาลงทุนในลิทัวเนียในธุรกิจประเภทอุตสาหกรรมการผลิต เทคโนโลยีสารสนเทศ วิทยาศาสตร์การแพทย์การขนส่ง รวมถึงการเปิดร้านอาหารไทย สปา และนวดแผนไทย เป็นต้น
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงโคเปนเฮเกน
เรียบเรียงโดย ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
อ้างอิง