เมื่อวันที่ 23 มีนาคม 2565 คณะกรรมาธิการยุโรปได้ออก communication on safeguarding food security and reinforcing the resilience of food systems เพื่อสื่อสารเรื่องการป้องกัน-รักษาความมั่นคงทางอาหาร และเพิ่มความยืดหยุ่นของระบบอาหารเพื่อรองรับผลกระทบจากสถานการณ์ความขัดแย้งในยูเครน โดยเน้นย้ำว่า EU ยังมีความมั่นคงทางอาหารและเป็น net food exporter ที่มีความท้าทายเรื่องความจำเป็นต้องนำเข้าสินค้าเกษตรกรรมบางรายการในราคาสูง อาทิ ปุ๋ย โปรตีนอาหารสัตว์ และย้ำความจำเป็นในการช่วยเหลือภาคการเกษตรของยูเครนโดยเฉพาะการขนส่งและการจัดเก็บ
.
ขณะเดียวกัน EU ได้ออกนโยบายเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนเฉพาะหน้าให้แก่ยูเครน และประสานความร่วมมือกับองค์การระหว่างประเทศ เช่น FAO WTO และกลุ่ม G7 และ G20 เกี่ยวกับความมั่นคงทางอาหาร โดยมองว่า ค.ศ. 2021-2027 จะเพิ่มความร่วมมือกับประเทศหุ้นส่วนต่าง ๆ ในเรื่องความยั่งยืนของระบบอาหารและสารอาหาร (nutrition) รวมถึงสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกลดภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อบรรเทาราคาอาหารช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ และอัดฉีดเงิน 500 ล้านยูโร เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตอาหารที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากสงคราม เป็นต้น
.
นอกจากนี้ ยังส่งเสริมการแลกเปลี่ยนข้อมูลอาหารและอาหารสัตว์และการใช้นวัตกรรมเพื่อเพิ่มผลผลิต เช่น precision farming เทคนิคพันธุกรรม เป็นต้น ซึ่งสอดรับกับแผนระยะยาวที่จะเพิ่มความหลากหลายของตลาดและใช้เครื่องมือบริหารความเสี่ยงต่าง ๆ ตามแผน Common Agricultural Policy (CAP) Strategic Plan 2023 – 2027 ทั้งนี้ ประเทศสมาชิกได้ร้องขอให้กําหนดแผนยุทธศาสตร์ เรื่องโปรตีนจากพืช (plant protein strategy) ในระดับ EU เพื่อลดการนําเข้าโปรตีนโดยเฉพาะโปรตีนอาหารสัตว์ด้วย
.
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงบรัสเซลส์