เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2565 เป็นการสิ้นสุดลงของการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ สมัยที่ 5 ช่วงที่ 2 (UNEA 5.2) หัวข้อ “Strengthening Actions for Nature to Achieve the Sustainable Development Goals” เพื่อมุ่งเน้นการฟื้นฟูธรรมชาติและมุ่งสู่การบรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยที่ประชุมรับรองข้อมติด้านการจัดการมลพิษจากขยะพลาสติก สืบเนื่องจากการประชุมดังกล่าว ทางสหรัฐอเมริกาได้เผยแพร่ข้อมูลด้านแนวทางการแก้ปัญหามลพิษพลาสติกไว้ดังนี้
.
สำหรับแนวทางภายในประเทศ ในด้านการรีไซเคิลนั้น มีการกําหนดเป้าหมายเพิ่มการรีไซเคิลภายในประเทศให้ถึงรอยละ 50 ภายในปี 2573 และร่วมกับภาคเอกชนและองค์กรไม่แสวงหาผลกําไร ส่งเสริมการใช้และการนําวัสดุกลับมาใชใหม่โดยให้เกิดประโยชน์สูงสุด นอกจากนี้บูรณาการขอริเริ่มต่าง ๆ ของกระทรวงที่เกี่ยวของกับการรีไซเคิล upcycle และการออกแบบเพื่อการหมุนเวียน
.
ด้านการลดการใช้พลังงาน สหรัฐฯ มีเป้าหมายลดใช้พลังงานร้อยละ 50 ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากกว่ารอยละ 50 และนําก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ไปหมุนเวียนใช้รอยละ 75 ส่วนของการสร้างความตระหนักรู้คือการสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพแก่ผูบริโภคและมีการสนับสนุนให้บริษัทผู้ผลิตใช้พลาสติกรีไซเคิลในบรรจุภัณฑ์อาหารอย่างปลอดภัย
.
ด้านมหาสมุทร มีการศึกษาการใช้ดาวเทียมเพื่อตรวจจับไมโครพลาสติกในมหาสมุทร จัดทํา Marine Trash and Debris Prevention Standards สําหรับพนักงานบริษัทพลังงานนอกชายฝั่ง และโครงการ Marine Debris Program ที่มีมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2549 เพื่อจัดการผลกระทบของขยะทะเลต่อเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยในการเดินเรือ ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในชุมชนเพื่อลดขยะทะเล และ โครงการอาสาสมัครเพื่อลดขยะในทะเลอื่นๆ อีกด้วย
.
ในส่วนของแนวทางความร่วมมือระหว่างประเทศ สามารถแบ่งได้เป็น 2 หน่วยงาน หน่วยงานแรก กระทรวงการต่างประเทศ สหรัฐอเมริกา ได้จัดทําโครงการเพื่อแก้ปัญหาขยะทะเลร่วมกับประเทศต่าง ๆ โดยมุ่งเน้นใน 3 ด้าน ได้แก่ (1) data (2) local and innovative solutions และ (3) outreach เช่น US-Singapore Third Country Training Program 2021 ซึ่งรวมถึงการประชุมเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหามลพิษพลาสติกในอาเซียนและการส่งเสริมยุทธศาสตรการจัดการขยะมูลฝอย เพื่อการแก้ปญหาที่ยั่งยืน
.
นอกจากนี้ยังมีการ จัดตั้ง APEC Marine Debris Management and Innovation (MDMI) Sub-Fund เมื่อปี2561 เพื่อสนับสนุนงบประมาณแก้ปัญหามลพิษพลาสติกในทะเลในพื้นที่ของเขตเศรษฐกิจเอเปค รวมไปถึงโครงการ Social Mobilization for Marine Waste Management และ Accelerating Efforts to Reduce Ocean Plastic ในเวียดนาม
.
หน่วยงานที่สอง คือ องค์การเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐอเมริกา (USAID) มีการจัดทำโครงการต่าง ๆ เช่น Clean Cities, Blue Ocean (CCBO) เพื่อสนับสนุนการบังคับใช้กฎหมาย Save Our Seas 2.0 และลดขยะพลาสติกในทะเลให้ได้ 11 ล้านตัน และโครงการ Municipal Waste Recycling Program (ปี 2559-2564) เพื่อลดแหล่งขยะพลาสติกบนดินที่เป็นต้นเหตุของมลพิษพลาสติกในมหาสมุทรในอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ศรีลังกา และเวียดนาม ซึ่งดําเนินการเสร็จสิ้นแล้ว รวมไปถึงการสนับสนุนเงินกู้ยืมผ่าน U.S. International Development Finance Corporation (DFC)สําหรับโครงการเพื่อสร้างแรงจูงใจแก่ภาคเอกชนในการลงทุนด้าน recycling value chain ในภูมิภาคเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
.
สำหรับประเทศไทย ได้เป็นผู้ร่วมอุปถัมภ์ 4 ข้อมติจากการประชุม UNEA 5.2 ได้แก่ (1) การจัดการสารเคมีและของเสีย (2) Science-Policy Panel เพื่อจัดการสารเคมีและของเสียและป้องกันมลพิษ (3) มิติด้านสิ่งแวดล้อมในการฟื้นฟูหลังโควิด-19 อย่างยั่งยื่น ยืดหยุ่น และครอบคลุม และ (4) การสนับสนุนเศรษฐกิจหมุนเวียนเพื่อความยั่งยืนในการผลิตและบริโภค
.
นอกจากนี้ประเทศไทยยังมีการใช้รูปแบบโมเดล BCG Economy ในการจัดการปัญหาสิ่งแวดล้อมและขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศอย่างยั่งยืนโดยคำนึงถึงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกันกับทิศทางของการประชุม UNEA 5.2 และในส่วนของเป้าหมายที่ต้องการบรรลุความเป็นกลางทางคาร์บอนภายในปี 2593 การปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero) ภายในปี 2608 รวมทั้งการ Recycle พลาสติกให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ร้อยละ 100 ภายในปี 2570 จากเป้าหมายดังกล่าว ประเทศไทยจะต้องใช้ความร่วมมือจากทุกภาคส่วนเพื่อบรรลุเป้าหมายทั้งหมดตามกรอบเวลาที่กำหนดไว้
.
ข้อมูล: สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงวอชิงตัน
เรียบเรียง : ศูนย์ธุรกิจสัมพันธ์
.
ที่มาข้อมูลเพิ่มเติม
https://tna.mcot.net/environment-895455
https://122.155.92.3/th/news/detail/TCATG220303161557143